เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ก.เกษตร โชว์โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด ดันไทยสู่ผู้นำผลิตไบโอดีเซล


 

 

กระทรวงเกษตรฯและสวก. วิจัยร่วมกันแบบบูรณาการเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นแต่มีต้นทุนการผลิตต่ำลง สามารถปลูกได้ผลผลิตดีในทุกภาค ภายใต้โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทนการใช้เมล็ด

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงานที่มีความต้องการเป็นอันดับ 2ของโลก โดยที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มมากเป็นอันดับ 3รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ปัจจุบันมีเกษตรกรไทยปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 1.28แสนครัวเรือน และมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 4.28ล้านไร่ แต่ที่ผ่านมาประเทศเรายังคงประสบปัญหาในเรื่องของพันธุ์ปาล์มน้ำมันอยู่มาก

 

 

ทั้งปัญหาพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตต่ำและปัญหาพื้นที่ในการปลูก เนื่องจากธรรมชาติของปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำค่อนข้างสูง การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานจึงมักจะประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผลผลิตต่ำ ส่วนภาคกลางก็สามารถปลูกได้ในพื้นที่บางส่วน และปัญหาอื่นๆ อาทิ ราคาผลปาล์มดิบตกต่ำ พันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ เป็นต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สวก. จึงได้ทำการวิจัยร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นแต่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง และสามารถปลูกได้ผลผลิตดีในทุกภาคของประเทศไทย ภายใต้โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทนการใช้เมล็ด

ทั้งนี้โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด ไม่เพียงแต่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรไทย และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเท่านั้น หากแต่ยังเป็นประตูบานใหม่ที่จะให้ประเทศไทยของเรา สามารถก้าวไปยืนอยู่แถวหน้าในวงการการผลิตอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลด้วยการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ต.ค. 2556 เวลา : 09:27:48
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 1:00 pm