เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ราคาน้ำมันดิบลดงลงต่อเนื่องหลังความหวังเรื่องการลดกำลังการผลิตระหว่างโอเปก


 

ราคาน้ำมันดิบตกลงอย่างต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ ภายหลังการพูดคุยกันระหว่างรัสเซียและเวเนซุเอลาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาไม่มีข้อตกลงใดๆ และคาดว่าจะไม่สามารถหาข้อตกลงเพื่อปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกได้  นอกจากนี้ ทาง Glodman Sachs ให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่ทางกลุ่มโอเปกและรัสเซียจะลดกำลังการผลิตลง และคาดว่าราคาดิบนั้นอาจตกลงไปแตะระดับ 20เหรียญสหรัฐฯ ได้ ถ้าสถานการณ์ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) ได้ประกาศถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 3.8 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 500.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 4.8 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น  141,000 บาร์เรล เช่นเดียวกับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่ปรับเพิ่มขึ้น 6.6ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.7 ล้านบาร์เรล 

นอกจากนี้ ตลาดยังกังวลเกี่ยวกับความต้องการน้ำมันให้ความร้อนของสหรัฐฯที่ลดลงจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างอุ่นกว่าทุกปี ตั้งแต่เดือน พ.ย. ของปีที่แล้วจนถึง มี.ค. ในปีนี้ ทำให้ราคาน้ำมันให้ความร้อนล่วงหน้าลดลงราว 2% ในขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินล่วงหน้าลดลงราว 17% 

ราคาน้ำมันที่ลดลงมากยังส่งผลกดดันต่อผลประกอบการของบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นทาง Exxonโดยได้ออกมาประกาศผลประกอบการที่ค่อนข้างเบาบาง และจะลดการลงทุนในปีนี้เหลือเพียง 23.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วราว 25% ขณะที่ทาง BPก็ออกมาประกาศผลประกอบการของปีที่แล้วที่ลดลงและมีการปลดพนักงานออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย

อัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศยูโรโซนปรับลดลง 0.1% มาอยู่ที่ 10.4% ในเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงแสดงถึงเสภาพศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงซบเซา-ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินที่ค่อนข้างสูงในภูมิภาคเอเชีย และไม่มีท่าทีจะลดลงในเร็ววัน อย่างไรก็ดี อุปสงค์ที่เข้ามาจากเคนยายังช่วยสนับสนุนความต้องการในตลาด

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงน้อยกว่ากับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์เพิ่มขึ้นจากซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็ดี อุปทานยังคงล้นตลาดจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของอินเดียหลังการกลับมาดำเนินการของโรงกลั่นในอินเดีย จากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา 


 

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

 

 

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 28-35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 28-35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล


ปัจจัยที่น่าจับตามอง

จับตาการประชุมระหว่างรัสเซียและผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกที่อาจจะจัดขึ้นในเดือนหน้าว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบหรือไม่ หลังล่าสุดรัสเซียออกมากล่าวว่าจะมีการหารือกับซาอุดิอาระเบียและประเทศอื่นๆ ในกลุ่มโอเปกเพื่อหาข้อตกลงในการลดกำลังการผลิต 

สภาพอากาศที่หนาวเย็นลงทั่วโลกโดยเฉพาะในแถบเอเชียเหนืออุณหภูมิปรับลดลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อทำความร้อนปรับตัวเพิ่มขึ้น

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดรายงานโดย EIA พบว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ม.ค. 59 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 494.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในประวัติการณ์ 


ราคาน้ำมันดิบ ณ วันที่ 2 ก.พ.58

เวสต์เท็กซัส 29.88 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง -1.74

เบรนท์ 32.72 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง -1.52

ดูไบ 29.21 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง -1.60


ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์ ณ วันที่ 2/2/59

เบนซินออกเทน 95  ราคา 47.20 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง-2.60

ก๊าซและอากาศยาน ราคา 39.80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง -0.71

ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S)ราคา 36.50-0.92 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง -0.92

น้ำมันเตา (3.5% S)ราคา 24.32 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง -2.42


ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)

UG95    30.06

GSH95  23.10

GSH91  22.68

E20       20.74

E85       17.89

Diesel   19.69

ปตท.และบางจาก ปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 40 สต./ลิตร มีผลวันที่ 30 ม.ค. 59

 

ราคาน้ำมันตลาดจร ณ วันที่ 2/2/59

โอมาน 30.24 เปลี่ยนแปลง-1.13

ทาปิส 34.70 เปลี่ยนแปลง-1.49

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

วันศุกร์ จีดีพี (Q4/15) สหรัฐฯ ก่อนหน้า 2.0% 0.7%

วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตจีน (Markit/Caixin PMI)-ม.ค. ก่อนหน้า 48.20 / ประกาศ48.40

        ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI)-ม.ค. ก่อนหน้า 52.30 / ประกาศ 52.30

        รายจ่ายในการบริโภคของบุคคลสหรัฐฯ - ธ.ค. ก่อนหน้า 0.3% / ประกาศ 0.30%

        ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM) - ม.ค. ก่อนหน้า 48.20 / ประกาศ 48.20

วันอังคาร อัตราการว่างงานยูโรโซน - ธ.ค. ก่อนหน้า 10.5% / ประกาศ 10.4%

วันพุธ ยอดค้าปลีกยูโรโซน - ธ.ค. ก่อนหน้า -0.3%

วันพฤหัสบดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ - 29 ม.ค. ก่อนหน้า 287K

วันศุกร์ การจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ - ม.ค. ก่อนหน้า 292K

        อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ม.ค. ก่อนหน้า 5.0%


วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน โดย หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์

3/2/59


LastUpdate 03/02/2559 12:52:14 โดย : Admin
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 2:14 pm