เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
สถานภาพแรงงานไทยน่าห่วงหนี้พุ่งสูงสุดรอบ 8 ปี


 


แม้รัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจและผู้ใช้แรงงานไทย  โดยเฉพาะการลดภาระ  การก่อหนี้นอกระบบซึ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยค่อนข้างสูง  จากการให้ธนาคารของรัฐ  ทั้งธนาคารกรุงไทย   ธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์  ออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำให้ได้มากที่สุด
 
 
แต่จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  นายธนวรรธน์   พลวิชัย  ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  บอกว่า  ผลสำรวจความคิดเห็น  สถานภาพแรงงานไทย ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน สำรวจ1,212 ตัวอย่าง วันที่ 18-24 เมษายน 2559 พบว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยปี 2559 แย่สุดในรอบ 8 ปี นับจากปี 2552   โดยแรงงาน 95.9%  มีภาระหนี้ และมีหนี้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 119,061 บาท   เพิ่มจากปี 2552 ที่มีสัดส่วน 48.51%
 
 
  
แบ่งเป็น หนี้นอกระบบ 60.62%    หนี้ในระบบ 39.38% สะท้อนแรงงานมีปัญหารายได้ ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ   ทำให้สถานภาพแรงงาน ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีปัญหา แม้จะหารายได้เสริมจากงานหลักแล้วก็ตาม ยังไม่พอใช้จ่าย   มีการนำเงินไปหมุนหนี้นอกระบบมากขึ้น    ดังนั้นการที่ธนาคารจะทำนาโนไฟแนนซ์ ดึงเจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบมากขึ้น น่าจะเปิดทางให้กลุ่มแรงงานเข้าถึงการขอเงินกู้ได้มากขึ้น และช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้ดีขึ้นอกจากนี้ ยังต้องการให้รัฐบาล ช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพให้สอดคล้องกับรายได้ด้วย โดยมูลค่าการใช้จ่าย ในวันแรงงานปีนี้ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.73 หรือ คิดเป็นมูลค่า 2,054 ล้านบาทนได้
         
ผลสำรวจยังพบว่า   ในวันแรงงานแห่งชาติ   ผู้ใช้แรงงานเห็นว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 356.76 บาท  จากปัจจุบัน 300 บาท  เป็นอัตราที่เหมาะสม กับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน    ส่วนมูลค่าการใช้จ่าย ในวันแรงงานปีนี้  คาดว่า จะมีมูลค่า 2,054 ล้านบาท หรือ ขยายตัวอยู่ที่  2.73% 
 
 
สำหรับมุมมองของผู้ประกอบการ จากการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจเนื่องในวันแรงงาน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 ตัวอย่าง ในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการค้าและภาคเกษตร พบว่า ส่วนใหญ่ 71.4%   ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากสภาพธุรกิจ ยังไม่ฟื้นตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2   จะถึงจุดต่ำสุด ซึ่งจะมีผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจสูงขึ้น    แต่หากมีการปรับขึ้นค่าแรงจริง ผู้ประกอบการก็จำเป็นจะต้องเพิ่มราคาสินค้าขึ้น     ลดจำนวนแรงงานลง   หันไปจ้างแรงงานต่างด้าวมากขึ้น   รวมไปถึงการหันมาใช้เครื่องจักรเพิ่มขึ้น
 
 
         
ขณะเดียวกันการปรับค่าจ้าง   ควรจะแยกปรับตามความเหมาะสม แต่ละพื้นที่ และในภาวะปัจจุบัน  โดยควรจะปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน 310 บาท/วัน   และรัฐบาลจะต้องมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการลดภาษีนิติบุคคล    จัดฝึกอบรมแรงงาน เพื่อเพิ่มทักษะให้ผู้ใช้แรงงาน  และให้เงินชดเชยแรงงานขั้นต่ำ








 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 29 เม.ย. 2559 เวลา : 07:58:52
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 10:19 pm