เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท.ประกาศยุทธศาสตร์ 3 ปี เน้นรักษาเสถียรภาพการเงิน-พัฒนาระบบเศรษฐกิจการเงิน สร้างองค์กรเข้มแข็ง


บอร์ด ธปท. อนุมัติยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี เป็นแนวทางดำเนินงานของ ธปท. เน้น การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน การพัฒนาระบบการเงิน และการสร้างความเข้มแข็งขององค์การ ด้านผู้ว่า ธปท. มองเศรษฐกิจกิจการเงินโลกยังมีความผันผวนสูง จากปัญหาโครงสร้างและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป เร่งปรับโครงสร้างเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า  สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจการเงินโลกในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มผันผวนสูง เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  ทำให้คาดการณ์ยากมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อต่ำยาวนานทั่วโลก และสภาพคล่องในระบบการเงินสูง รวมถึงการปรับรูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่าง Brexit และ TPP ที่อาจเกิดขึ้นแต่ไม่น่าเห็นผลในเชิงปฏิบัติ ขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีเงินออมที่เพียงพอ และความก้าวหน้าของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสและลดต้นทุนให้แก่ภาคธุรกิจและผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีรับความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้น้อย

ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี  ตั้งแต่ปี 2560-2562 เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของธปท. โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านแรก คือ การรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงิน (Stability) ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของธปท. ที่จะมุ่งรักษาเสถียรภาพการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยจะพัฒนาศักยภาพการติดตามและประเมินความเสี่ยง สำหรับการรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินจะปรับปรุงการกำกับดูแลให้พร้อมรับความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ๆ ในมิติของเสถียรภาพระบบการชำระเงินจะให้ความสำคัญกับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชำระเงินหลักให้มั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้านที่สอง คือ การพัฒนาระบบการเงิน โดยจะส่งเสริมให้ผู้ให้บริการทางการเงินรวมทั้ง FinTech มีการแข่งขันรวมทั้งสนับสนุนบทบาทของผู้บริหารเฉพาะทางเพื่อลดช่องว่างของการเข้าถึงการบริการ นอกจากนี้ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงของระบบการเงินกับต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ซึ่งมีศักยภาพเติบโตสูง ตลอดจนยกระดับการกำกับดูแบสถาบันการเงินเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับความเป็นธรรม

ด้านที่สาม คือ การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ให้สำเร็จ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาใน 5 ด้าน คือ ระบบข้อมูลอละการวิเคราห์ ความเป็นเลิศด้านวิจัย ศักยภาพบุคลากร ศักยภาพองค์กร และ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

 


LastUpdate 23/12/2559 12:43:16 โดย : Admin
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 1:46 pm