การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
สมเด็จพระเทพฯทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน มีพระราชดำริจัดตั้ง "สุขศาลาพระราชทาน" 3 แห่งใหม่ ที่จ.น่าน


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริจัดตั้งสุขศาลาพระราชทานแห่งใหม่ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลในอ.บ่อเกลือและอ.เฉลิมพระเกียรติ .น่าน 3 แห่ง กรมสุขภาพจิตเร่งน้อมนำพระราชดำริดำเนินการพัฒนาวางระบบบริการสาธารณสุขของสุขศาลาให้มีมาตรฐานทั้งยามปกติและฉุกเฉิน พร้อมทั้งส่งเสริมสุขภาพกายและจิต  โดยเฉพาะเด็กเล็กเพื่อให้มีพัฒนาการสมวัยมีไอคิวและอีคิวดี โดยสุขศาลาฯบ้านป่าก่ำ .ดงพญา .บ่อเกลือจะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2561

 

 

 

ที่โรงแรมน่านตรึงใจ .เมือง .น่าน  นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์  อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข  อาสาสมัครสาธารณสุข ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.)ในจังหวัดน่าน ในการร่วมจัดบริการสาธารณสุขของสุขศาลาพระราชทานให้มีมาตรฐาน ว่า ในปี 2560 นี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงห่วงใยปัญหาสุขภาพประชาชน   มีพระราชดำริให้จัดตั้งสุขศาลาพระราชทานขึ้นใหม่ในพื้นที่ห่างไกลในจังหวัดน่าน ซึ่งมีสภาพเป็นภูเขา จำนวน 3 แห่ง คือที่อ.บ่อเกลือ 2 แห่ง ได้แก่ที่บ้านป่าก่ำ .ดงพญา และที่โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  21 ตุลาคม ..2543 .บ่อเกลือเหนือ และที่อ.เฉลิมพระเกียรติ 1 แห่งคือที่บ้านห้วยปูด .ขุนน่าน ทั้ง 2 อำเภออยู่ติดชายแดนไทย-ลาว ห่างไกลจากอำเภอเมือง 85-130 กิโลเมตร นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ  เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐานตามแนวทางพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน  โดยสุขศาลาพระราชทานบ้านป่าก่ำ .ดงพญา จะเริ่มเปิดให้บริการเป็นของขวัญปีใหม่ประชาชนในเดือนมกราคม ..2561  ส่วนอีก 2 แห่ง จะเร่งดำเนินการเปิดบริการโดยเร็ว

 

 

 อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสุขภาพจิตได้น้อมนำพระราชดำริโดยร่วมมือกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ดำเนินการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของสุขศาลาพระราชทานที่จัดตั้งใหม่ทั้ง 3 แห่งให้มีมาตรฐาน ทั้งด้านสถานที่  เครื่องมือแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น การเตรียมความพร้อมบุคลากรในการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยทั้งโรคทั่วไป โรคตามฤดูกาลเช่นโรคมาลาเรีย  ไข้เลือดออก การปฐมพยาบาล การเย็บแผล  การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน การบริการการแพทย์ทางไกล การส่งต่อผู้ป่วยหนักไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค  ซึ่งในปีนี้ได้เพิ่มเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตเข้าไปด้วย  เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งกายและใจ  โดยเฉพาะ 3 เรื่องสำคัญในการสร้างคุณภาพเด็กไทย คือ การดูแลพัฒนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีให้สมวัย มีการตรวจวัดไอคิวและอีคิวเด็กนักเรียนเพื่อให้เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงและมีสมองที่มีคุณภาพซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในอนาคต     

 ทั้งนี้ผลจากการดำเนินการตรวจพัฒนาเด็ก และไอคิว อีคิวนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในสุขศาลาพระราชทานที่จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ซึ่งเป็นชนเผ่าปกากะญอ ม้ง ลาหู่ ในปี 2560 พบว่าอยู่ระดับที่ต้องเร่งพัฒนา โดยพบเด็กสงสัยมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเกณฑ์มาตรฐานมากกว่าพื้นทั่วไปถึง 5 เท่าตัว ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีไอคิวค่อนข้างมาทางต่ำ   โดยเน้นการเร่งให้ความรู้พ่อแม่ ผู้ปกครองทั้งด้านการเลี้ยงดู กระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการป้องกันการขาดสารอาหาร   สารไอโอดีน และธาตุเหล็ก 

 

 

  สำหรับสุขศาลาพระราชทาน เป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พัฒนามาจากห้องพยาบาลของโรงเรียนตชด. ให้บริการด้านสุขภาพและการสาธารณสุขแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร  พื้นที่เสี่ยงภัย  พื้นที่พิเศษด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมตลอด 24 ชั่วโมง  เริ่มดำเนินการตั้งแต่พ..2549เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 17 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 40 หมู่บ้าน 14 อำเภอ ใน 9 จังหวัดได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน  ตาก ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี  เพชรบุรี ยะลา นราธิวาส  ให้บริการทั้งชาวไทยพุทธ มุสลิม ชาวเขา บุคคลไร้รัฐ รวมถึงชาวลาว ชาวเมียนมาร์  เฉลี่ย 15,571 คนต่อปี


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 พ.ย. 2560 เวลา : 10:58:32
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 6:27 am