การตลาด
สกู๊ป เศรษฐกิจส่งสัญญาณ 'ฟื้น' ดันโฆษณาปี 61 พลิกบวก 10%


ขยายตัวติดลบมาตลอดทั้งปีสำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาของไทย เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงเดือน ..ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย  ส่งผลให้สินค้าต่างๆ มียอดขายไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้  ซึ่งจากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว  ทำให้ผู้ประกอบการสินค้าตัดสินใจที่จะลดงบในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ  เพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนสูงมากเกินไป

 

 

อย่างไรก็ดี หลังจากประเทศไทยผ่านความโศกเศร้าเข้าสู่เดือน ..ภาพรวมเศรษฐกิจก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น  ผู้บริโภคเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอย  ประกอบกับภาครัฐมีการออกมาตรการช้อปช่วยชาติออกมากระตุ้นกำลังซื้อ  และปลายปีเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง  จึงทำให้อารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเริ่มกลับมา  

 

จากแนวโน้มที่ดีขึ้นดังกล่าว ประกอบกับช่วงปลายปีถือเป็นช่วงหน้าขายสินค้า  จึงทำให้ผู้ประกอบการสินค้าต่างๆ พากันออกมาใช้งบการตลาด  เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงโค้งสุดท้ายของปี  ซึ่งเม็ดเงินก้อนดังกล่าวได้สะพัดมาถึงอุตสาหกรรมโฆษณา  ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาในช่วงเดือน ..ที่ผ่านมาพลิกกลับมาเติบโตเป็นบวกครั้งแรกในรอบปี 2560  

ทั้งนี้  จากข้อมูลของบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด  ออกมาระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงเดือน ..ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 43.65%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ  8,806 ล้านบาท สูงกว่าเดือน ..ที่มีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ประมาณ 11.94% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 4,969 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ..2560

 

 

สื่อที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด คือ สื่อในอาคาร เติบโตที่ 191.18% ตามด้วยสื่อทีวีดิจิทัล เติบโตที่ 92.88% สื่อโรงหนังเติบโตที่ 86.05%  สื่อทีวีอะนาล็อคเติบโตที่ 54.24% สื่อวิทยุเติบโตที่ 28.74% สื่อนอกอาคารเติบโตที่ 27.23% สื่อเคลื่อนที่เติบโตที่ 14.42% และสื่อเคเบิลทีวี/แซทเทลไลท์ทีวีเติบโตที่ 11.41% ส่วนสื่อที่ยังขยายตัวติดลบอยู่ คือ สื่อนิตยสารติดลบที่ 33.18% ตามด้วยสื่อหนังสือพิมพ์ติดลบที่ 7.95% และสื่ออินเตอร์เน็ตติดลบที่ 6.45%

แนวโน้มที่ดีขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีการขยายตัวติดลบลดลงเหลืออยู่ที่ 5.74% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 92,673 ล้านบาท  ติดลบลดลงจากช่วง 10 เดือน  ซึ่งขยายตัวติดลบสูงถึง  9.04% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 83,854 ล้านบาท 

การฟื้นตัวที่ดีดังกล่าว ทำให้บริษัท บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด ผู้ให้บริการซื้อขายสื่อโฆษณา และวางแผนกลยุทธ์การตลาด ออกมาคาดการณ์ว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2561 น่าจะกลับมาฟื้นตัว ด้วยการมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 10%  เนื่องจากขณะนี้สินค้าต่างๆ เริ่มออกมาใช้งบผ่านสื่อโฆษณามากขึ้น

 

 

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิ-สายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด กล่าวว่า สื่อที่คาดว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในปี 2561 เติบโต คือ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อนอกบ้าน เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มอยู่นอกบ้านมากขึ้น และหันมาให้ความสนใจใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งสื่อที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากที่สุดจนทำให้มีเม็ดเงินโฆษณาไหลเข้ามากที่สุด คือ  เฟซบุ๊ค คิดเป็นสัดส่วน 28% ตามด้วยยูทูบ 14% ดิสเพลย์ 11% เสิร์ช 11% และอินเฟรนเซอร์ 9%

จากเม็ดเงินที่ไหลเข้าสื่ออินเตอร์เน็ต หรือสื่อดิจิทัลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปี 2560 นี้  เม็ดเงินโฆษณาที่ไหลผ่านเข้าสื่ออินเตอร์เบียดเข้ามาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของอุตสาหกรรมโฆษณาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีแนวโน้มการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

  

นายอิษณาติ วุฒิธนากุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล(ไทยแลนด์) จำกัด หรือ เคดับบลิวพี/ KWP กล่าวว่า  นับตั้งแต่ปี 2542 ตลาดสื่อโฆษณาถูกขับเคลื่อนโดยสื่อโทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ที่มีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่งและสองควบคู่กันมาโดยตลอด  แต่ในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกที่สื่ออินเตอร์เน็ต  สามารถแย่งตำแหน่งสื่ออันดับ 2 แทนที่หนังสือพิมพ์ ด้วยมูลค่าโดยประมาณ 11,780 ล้านบาทและมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแรงต่อเนื่อง   

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คาดการณ์ว่าปี 2560 สื่ออินเตอร์เน็ตจะมีส่วนแบ่งตลาดเป็น 12.9% จากมูลค่าสื่อโฆษณาทั้งหมดซึ่งโตจากปีที่แล้วขึ้นมาอีก 3 % โดยตัวหลักที่ขับเคลื่อนมาจาก โซเชียลมีเดีย  ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 44% ของสื่ออินเตอร์เน็ต  เนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง   

นอกจากนี้  ยังพบว่า  ปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยกว่า 75%  สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้  ซึ่งหากนำมาเปรียบเทียบกับเมื่อ 2 ปีก่อน  ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เพียง  49%  เท่านั้น  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น คือ การเข้าถึงสมาร์ทโฟน (Smartphone Ownership rate) ของผู้บริโภคไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกัน  โดยเฉพาะในปี 2560 ผู้บริโภคชาวไทยกว่า 83% มีสมาร์โฟนในครอบครอง 

 

 

จากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตจากสมาร์ทโฟนที่ง่ายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยมีการใช้อินเตอร์เน็ตนานขึ้นจาก 2 ชั่วโมงต่อวันในปี 2558 เพิ่มเป็น  2 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวันในปี 2560  ซึ่งสวนทางกับโทรทัศน์และวิทยุที่ผู้บริโภคใช้เวลาในสื่อนั้นๆเท่าเดิมหรือลดลง 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกๆสื่อ ทุกๆแอพพลิเคชั่นในอินเตอร์เนทที่สามารถดึงเวลาใช้งานของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากสื่อ หรือ แอพพลิเคชั่นมีความหลากหลายและซับซ้อนเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคเองก็มีตัวเลือกและช่องทางต่างๆเพิ่มขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างหนึ่งคือ เฟซบุคที่ระยะเวลาในการใช้ กลับลดลงจาก 30 นาทีต่อครั้งในปี 2559 เหลือ 22 นาทีในปี 2560 ดังนั้นเจ้าของสินค้าจึงควรวางแผนการใช้สื่อให้ดี เพื่อความสำเร็จในการทำธุรกิจ

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 ธ.ค. 2560 เวลา : 02:43:43
24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 7:38 am