วิทยาศาสตร์
ครบรอบ 23 ปี อพวช.จัดเสวนาส่งเสริมด้านอนุกรมวิธาน


องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จัดเสวนา เรื่องสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจและประชาชนทั่วไป  รวมถึงส่งเสริมและกระตุ้นศาสตร์ด้านการศึกษาธรรมชาติให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น พร้อมฉลองครบรอบสถาปนา 23 ปี ของ อพวช. เปิดเผยข้อมูลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่กว่า 73 ชนิด จากนักธรรมชาติวิทยา 

 

 


 

ผศ.ดร.รวิน  ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่าอพวช. นอกจากมีภารกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ของ อพวช.  ที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมให้แก่ประชาชนเพื่อได้เกิดความตระหนักด้านธรรมชาติ  ทั้งยังได้ดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในด้านต่างๆ  ทั้งการศึกษาวิจัย การสำรวจ และเก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิง รวมถึงองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา

 

 

โดยดำเนินการมาไม่น้อยกว่า 16 ปี เริ่มจากการได้รับบริจาคตัวอย่างจากครอบครัว คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล และหลังจากนั้นก็ได้รับบริจาคจากบุคคลและหน่วยงานต่าง ด้วยดีมาโดยตลอด อีกทั้งตัวอย่างส่วนหนึ่งได้จากนักธรรมชาติวิทยาของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตไว้ ไม่น้อยกว่า 100,000 ชิ้น และนั่นก็คือสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยทุกคน และในโอกาสครบรอบ 23 ปี อพวช. ในวันที่ 30 มกราคม นี้ อพวช. จึงกำหนดจัดการเสวนา เรื่องสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ระหว่างนักวิชาการ และนักเรียน  นักศึกษา ผู้สนใจ และประชาชนโดยทั่วไป เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอนุกรมวิธาน และสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่มีความสำคัญต่อมนุษย์บนโลกปัจจุบัน

 


 

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่นักธรรมชาติวิทยา ของ อพวช. ได้ทำงานสำรวจทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และศึกษาอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และยังได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในอาณาเขตประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 73 ชนิด ยกตัวอย่างในปี ..2556 ได้ค้นพบมดชนิดใหม่ของโลกจำนวน 22 ชนิด จากภูมิภาคอาเซียนในจำนวนนี้ 9 ชนิดตั้งชื่อจากประเทศไทย และมีหนึ่งชนิดที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯพระราชทานนามมด ชื่อว่ามดต้นไม้สิรินธร” (Cladomyrma sirindhornae) และในปีล่าสุด .. 2560 ได้ค้นพบ ไผ่หนึ่งชนิด คือไผ่ข้อหนาม” (Chimonocalamus elegans) และ ปลาหนึ่งชนิด ชื่อปลากะรังจิ๋วแถบแดง” (Sacura sanguniea) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบกว่า 73 ชนิด ในระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ภายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอีกด้วย 

 


 

 


สำหรับผู้สนใจสามารถเข้ามาสัมผัสเรื่องราวความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ ได้ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา    อพวช. .คลองห้า .คลองหลวง .ปทุมธานี โดยเปิดให้บริการทุกวันอังคารศุกร์ เวลา 09.30 -16.00 . วันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30 -17.00 . (หยุดทุกวันจันทร์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-2577-9960 หรือ Facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum


LastUpdate 26/01/2561 16:17:30 โดย : Admin
17-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 17, 2024, 4:45 am