การตลาด
สกู๊ป 'กันตาร์' เผยกำลังซื้อผู้บริโภคซึมยาวถึงปี 2562 ค้าปลีกส่อเค้ากระทบหนัก


แม้ว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจภายในประเทศไทยจะมีแนวโน้มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น  เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการส่งออกที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น  และภาคการท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น  แต่หากมองไปที่พฤติกรรมของผู้บริโภคภายในประเทศถือว่ายังน่าเป็นห่วง  เพราะสินค้ารายตัวยังมียอดขายไม่เพิ่มขึ้น  แม้ว่าจะมีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างหนัก เพื่อกระตุ้นยอดขาย

 

 

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว สะท้อนภาพให้เห็นชัดขึ้นจากผลการการวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคเชิงลึก เกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีอัตราการหมุนเวียนสูง หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ของบริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์)  จำกัด  ในช่วงปี 2560 ที่ผ่าน มีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ประมาณ  4%  หรือมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 4.42 แสนล้านล้านบาท  การขยายตัวที่ลดลงดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา   เนื่องจากปี 2559  ตลาด FMCG ยังสามารถขยายตัวเติบโตได้ที่ 1.7% แม้ว่าจะมีปัจจัยลบเกิดขึ้น  เช่นเดียวกับปี 2558  ที่ยังเติบโตได้ที่  2.2%  และปี 2557 มีอัตราการเติบโตได้ที่ 2.6% 

สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด  คือ กลุ่มของใช้ในครัวเรือน (Home Care) มีอัตราการเติบโตที่ประมาณ 4.1% กลุ่มสินค้าส่วนบุคคลเติบโตที่  2.6%  ส่วนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมีการขยายตัวติดลบ  -2.4%  เนื่องจากผู้บริโภคหันมาประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น  จึงทำให้กลุ่มสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเด่นชัดที่สุด   

 

นายอิษณาติ  วุฒิธนากุล  ผู้อํานวยการด้านพัฒนาธุรกิจ  บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ในปี 2561 และ 2562 นี้ จะเป็นปีที่ยากลําบากของผู้ประกอบการธุรกิจ  โดยเฉพาะกับธุรกิจ 2 กลุ่มหลัก คือ ผู้ผลิตสินค้า FMCG และ ผู้ประกอบการค้าปลีก   เนื่องจากปี 2561 นี้ จะเป็นปีที่มีอัตราเติบโตตํ่าอีก 1 ปี เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ บริโภค  ซึ่งมี 3 ปัจจัยให้ต้องจับตามอง  คือ 1. การลดจํานวนทริปในการออกไปจับจ่ายถึงแม้ผู้ค้าปลีกจําเป็ ชนต้องออกโปรโมชั่นมากขึ้น  แต่ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นให้เพิ่มความถี่ในการออกมาจับจ่ายได้ เพราะกลุ่มนักช้อปมีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนแหล่งช้อปปิ้งไปเรื่อยๆ  เพื่อแสวงหาสินค้าและโปรโมชั่นที่ดีที่สุด  คุ้มค่า  และประหยัดเงิน

 

 

ปัจจัยที่ 2  คือ  การขยายสาขาของผู้ประกอบการค้าปลีก  ทําให้ผู้ซื้อมีทางเลือกมากขึ้น  ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดการแข่งขันอย่างหนักในการนําเสนอโปรโมชั่น  เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจเลือกจุดจับจ่าย  และปัจจัยที่ 3  คือ  การตัดกลุ่มสินค้าที่ไม่จําเป็นออก  เพราะจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง  ทำให้เหล่านักช้อปยุคปัจจุบันมีการวางแผนการซื้อสินค้ามากขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภท Package Grocery  ซึ่งจะเลือกซื้อกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีความต่าง และหลากหลายเท่านั้น  จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อยอดขายของแบรนด์สินค้า โดยตรง

จากการระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยดังกล่าว  ทำให้ กันตาร์  ออกมาคาดการณ์ด้านแนวโน้มการเติบโตการจับจ่ายซื้อสินค้า  FMCG  ในปี 2561-2562 ว่า ยังไม่สดใส  เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ยังอยู่ในอัตราที่ลดลง  ดังนั้น การฟื้นตัวจะต้องใช้เวลา ทําให้การเติบโตเป็นไปได้อย่างช้าๆ คาดว่าในปี 2561 ตลาด FMCG  จะมีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ประมาณ  1% และในปี 2562  คาดว่าจะกลับมาพลิกฟื้นด้วยการเติบโตเป็นบวกได้ที่ประมาณ 2% 

ส่วนตลาดตัวเมืองและตลาดชนบท นั้น จากผลสํารวจพบว่า เหล่านักช้อป โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในตัวเมืองนิยมทําการจับจ่ายไปทั่ว เพื่อให้ประหยัดที่สุด ผู้ประกอบการค้าปลีก รวมถึง รูปแบบการค้าปลีกขนาดใหญ่ยังคงใช้กลยุทธ์การอัดโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดเหล่านักช้อป  และเน้นการขยายสาขา เพื่อบริการที่ครบวงจรครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า  

 

นายอิษนาติ  กล่าวว่า  สิ่งที่น่าสังเกต  คือ กลุ่มนักช้อปในตัวเมืองนั้น  นอกจากจะลดความถี่ในการออกไปจับจ่ายแล้วยังไม่ยึดติดกับการซื้อในจุดเดิมๆ  แต่กลับเลือกจุดจับจ่ายไปทั่ว  ด้วยเหตุนี้   จึงทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเกิดการแข่งขันในการขยายจุดขาย  ส่วนช่องทางการขายผ่านร้านสะดวกซื้อ ปีนี้ถือว่ามาแรง   ขณะที่ไฮเปอร์มาร์เก็ต  ยังคงเน้นไปที่การรักษาฐานลูกค้าเดิม  สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ  คาดว่าน่าจับตาปี  2563  เนื่องจากปีนี้ยังคงเป็นปีที่หลายธุรกิจอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม  เพื่อทำธุรกิจดังกล่าว 

อย่างไรก็ดี  จากการขยายตัวในทิศทางที่ดีของธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อ  ทำให้ช่องทางขายดังกล่าวมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นปี ละ 0.5%   ซึ่งหากยังคงรักษาอัตราการขยายตัวได้ในระดับนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2562  คาดว่าธุรกิจร้านสะดวกซื้อจะกลายเป็ นช่องทางอันดับ 1 ของธุรกิจ Modern trade สําหรับตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนอย่างแน่นอน ส่วนช่องทางไฮเปอร์ มาร์ เก็ต ยังคงสามารถรักษาส่วนแบ่งช่องทางการตลาดอย่างคงที่   เนื่องจากผู้ประกอบการในธุรกิจยังคงเน้นการแข่งขันทำสงครามโปรโมชั่นกันอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเทสโก้ โลตัส หรือ บิ๊กซีซูเปอร์มาร์เก็ต  

 

 

 

นายอิษนาติ  กล่าวปิดท้ายว่า  อีก 10 ปีนับจากนี้  ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ  น่าจะเป็นช่องทางที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งหากสามารถขยายส่วนแบ่งช่องทางการตลาดแบบเท่าตัวในแต่ละปี  ช่องทางนี้จะมีแนวโน้มที่สามารถแซงหน้าช่องทางซุปเปอร์มาร์เก็ต (Chain Supermarket) ได้ในปี 2563 (2020)

แต่อย่างไรก็ดี  การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเกิดขึ้นเ  กลุ่มนักช้อปในประเทศไทยเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดทิศทางว่าธุรกิจไหนจะสามารถเดินต่อไปได้  และธุรกิจไหนอาจต้องหยุดชะงัก  แต่ไม่ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างไร  หากธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เท่าทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค  ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นสินค้านั้น  และธุรกิจนั้นๆ ก็จะยังสามารถเดินก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 09 มี.ค. 2561 เวลา : 13:01:48
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 3:56 am