เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ปรับค่าจ้างขั้นต่ำกระทบภาคเกษตรน้อย


การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่จะมีผลในวันที่  1 เม.. เป็นวันละ 308-330  บาท  ได้สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี   

 

 

ซึ่งนายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ยอมรับว่า  ผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย เดือนก..61  อยู่ที่ระดับ 89.9  เป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน  ปัจจัยหลักมาจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ลดลงจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตทั้งจากราคาวัตถุดิบ  ค่าจ้างขั้นต่ำที่เตรียมปรับขึ้นวันที่ 1 เม..นี้

 


 

ขณะที่นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุว่า  การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 5-22 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 เม..นี้เป็นต้นไป ย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเพื่อใช้สำหรับผลิตสินค้าและบริหารของแต่ละสาขาในระบบเศรษฐกิจ ในส่วนภาคการเกษตร มีอัตราส่วนต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อต้นทุนการผลิต 17.4%  โดยเฉลี่ยใช้แรงงานเป็นหลักในกิจกรรมการผลิต ขณะที่ภาคบริการ มีอัตราส่วนต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อต้นทุนการผลิต 20.2% โดยภาคบริการเฉลี่ยใช้แรงงานคนมาก เพราะต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในการให้บริการ และภาคอุตสาหกรรม มีอัตราส่วนต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อต้นทุนการผลิต 9.0% โดยต้นทุนแรงงานไม่มาก เนื่องจากอุตสาหกรรมมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยผลิตสินค้า     

นางอัญชนา  ตราโช รองเลขาธิการ สศก.กล่าวว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอาจไม่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรมากนัก  แต่อาจจะกระทบต่อค่าจ้างแรงงานในช่วงที่เป็นฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวที่ต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรโดยรวมสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ระดับรายได้ของภาคครัวเรือนเกษตรที่มีอาชีพแรงงานก็จะเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้นไปด้วย ส่งผลให้มีการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น        

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ของ สศก. ถึงผลกระทบจากการเพิ่มค่าจ้างแรงงานต่อระบบเศรษฐกิจการเกษตรไทย โดยพิจารณาจากสัดส่วนต้นทุนค่าจ้างแรงงานถึงผลกระทบต่อภาคเกษตรของแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืช ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมากสุด  โดยมีสัดส่วนต้นทุนแรงงานเฉลี่ย 17.8% ได้แก่ การทำไร่อ้อยโรงงาน สวนยางพารา การทำไร่ข้าวโพด การทำไร่มันสำปะหลัง การทำสวนผัก และการทำสวนผลไม้ โดยการผลิต จำเป็นต้องใช้แรงงานตั้งแต่การเริ่มการเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต          

รองลงมา คือ สาขาบริการทางการเกษตร มีสัดส่วนต้นทุนแรงงานเฉลี่ย 12.1% ซึ่งมีการใช้แรงงานที่ไม่มากนัก เนื่องจากได้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานบางกิจกรรมการผลิต เช่น เครื่องเกี่ยวข้าว เครื่องตัดอ้อย เป็นต้น, สาขาประมง มีสัดส่วนต้นทุนแรงงานเฉลี่ย 8.4%   ซึ่งการทำประมงทะเลจะได้รับผลกระทบการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่าการทำประมงน้ำจืด และสาขาปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำน้อยที่สุด โดยมีสัดส่วนต้นทุนแรงงานเฉลี่ย 8.0% จากกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงาน ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ปีก และสุกร 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 มี.ค. 2561 เวลา : 14:21:46
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 6:55 am