การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
กรมสุขภาพจิตเร่งพัฒนาระบบติดตามเด็กพัฒนาการล่าช้า หลังพบกว่าร้อยละ 50 ยังขาดโอกาสกระตุ้นให้กลับมาสมวัย


ผลการคัดกรองเด็ก 4 ช่วงอายุ 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน และ 42 เดือน ในปี 2561 วันที่ 15 พฤษภาคม     พบเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า 8,006 คน ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 30.48 ที่สามารถติดตามให้เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการ ที่เหลือร้อยละ 19.19 อยู่ระหว่างการติดตาม และร้อยละ 50.85 ไม่สามารถติดตามได้ ทำให้ขาดโอกาส      การกระตุ้นให้กลับมามีพัฒนาการและฉลาดสมวัย  

 

 

 นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการดำเนินการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ในด้านการการตรวจคัดกรองเด็ก 4กลุ่มวัย คืออายุ 9 เดือน ,18 เดือน ,30 เดือน และ 42 เดือน เพื่อค้นหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า เข้าสู่กระบวนการกระตุ้นพัฒนาการต่อเนื่อง จนกลับมามีพัฒนาการสมวัย ภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2561 วันที่ 15 พฤษภาคม พบเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า 8,006 คน ในจำนวนนี้มีเพียง 2,440 คน หรือ ร้อยละ 30.48 ที่สามารถติดตามให้เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการ ที่เหลือร้อยละ 19.19 อยู่ระหว่างการติดตาม และร้อยละ 50.85 ไม่สามารถติดตามได้ และในจำนวนที่เข้ารับการกระตุ้นทั้งหมดก็ยังมีในส่วนที่เข้ารับการกระตุ้นไม่ครบเกณฑ์ ถึง 1,160 คน จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าจึงยังคงมีเด็กพัฒนาการล่าช้าจำนวนมาก ที่ขาดโอกาสการกระตุ้นให้กลับมามีพัฒนาการและฉลาดสมวัย 

ทั้งนี้พบหลายปัจจัยเกี่ยวข้องที่ทำให้เด็กไม่ได้มารับการกระตุ้นพัฒนาการ เช่นปัจจัยด้านบุคลากร ขาดทักษะการสื่อสารที่ชัดเจนกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง , ด้านพ่อแม่ผู้ปกครอง มีปัญหาทางเศรษฐกิจ มีทัศนคติต่อการเลี้ยงดูลูก ที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเด็กเข้ารับการพัฒนา, และด้านระบบที่ต้องเป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ กรมสุขภาพจิต จึงได้เร่ง ปรับปรุง พัฒนา แนวทางการติดตามเด็กพัฒนาการล่าช้า เพิ่มเติมจากแนวทางที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ การเพิ่มศักยภาพบุคลากร ในการสื่อสาร กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก  การเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ช่วยติดตามเด็ก รวมทั้งสร้างและพัฒนาเครือข่ายกระตุ้นพัฒนาเด็กใกล้บ้าน เน้นให้มี บุคลการกรเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กปฏิบัติงานประจำในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีความพร้อม  ทั้งนี้เพื่อการบบรรลุเป้าหมาย ปี 2561 ของกระทรวงสาธารณสุข เด็กปฐมวัยไทย (อายุต่ำกว่า 5 ปี) ร้อยละ 85   มีพัฒนาการสมวัย

 

 

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กว่า  โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น  4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ , ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา , ด้านการเข้าใจภาษา, ด้านการช่วยเหลือและสังคม ซึ่งแต่ละด้าน แต่ละช่วงวัย จะมีการกระตุ้นพัฒนาการที่แตกต่างกัน การกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก    แต่ละช่วงวัยต้องทำไปทีละระดับขั้นตอน หากเด็กมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าแล้วปล่อยไว้ไม่มีการกระตุ้น หากจะกลับมากระตุ้นภายหลังจะเป็นเรื่องยาก เพราะสมองเดินไปข้างหน้าแล้ว ทั้งนี้เด็กมีความสามารถในเรื่องการพัฒนาสมอง หากพบว่าผิดปกติและทำการกระตุ้นแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยให้เด็กกลับมาเป็นปกติได้

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 มิ.ย. 2561 เวลา : 12:06:59
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 7:21 pm