การค้า-อุตสาหกรรม
DITP พร้อมลุยและสานต่อเนื่องโครงการ SMEs Pro-active


บรรจงจิตต์รับลูก รมว.พาณิชย์ สั่งลุยโครงการ SMEs Pro-active เปิดรับสมัคร SMEs และ Tech Startup ยื่นขอรับการสนับสนุน เพื่อสร้างโอกาสในการโกอินเตอร์ ยันพร้อมช่วยเหลือให้คำแนะนาเต็มที่ ระบุโครงการระยะที่ 3 ได้ปรับเงื่อนไขให้ง่ายขึ้น และครอบคลุมรายย่อยและผู้ประกอบการในต่างจังหวัด มากขึ้น มั่นใจสร้างโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้นแน่ หลัง 2 โครงการที่ผ่านมา ช่วยเพิ่มยอดส่งออกให้ SMEs แล้ว กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท

..บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)  เปิดเผยว่า กรมฯ มีแผน ที่จะเร่งรัดการจัดทำโครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs Pro-active) ระยะที่ 3 (ปี 2562-64) ตามนโยบายนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่มีนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs  ผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจ Tech  Startup  และ ให้ลงลึกไปถึงผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค ได้มีโอกาสในการส่งออกและออกไปทำธุรกิจในตลาดต่างประเทศ

 


 

ตอนนี้โครงการ SMEs Pro-active เริ่มแล้ว ผู้ประกอบการรายใดที่สนใจสามารถสมัครเข้ามาร่วม โครงการได้ โดยกรมฯ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ยังไม่เคยออกไปทำตลาด ต่างประเทศได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ฐานราก และขยายโอกาสให้ ผู้ประกอบการในทุกระดับ ในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและกิจกรรมเจรจาการค้าในต่างประเทศ (Business Matching และ Pitching/Startup) โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการอะไร  แต่ถ้าเห็นว่ามีโอกาส กรมฯ ก็พร้อมสนับสนุน..บรรจงจิตต์กล่าว

..บรรจงจิตต์กล่าวว่า โครงการ SMEs Pro-active ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การสนับสนุนและ เพิ่มเติมลักษณะกิจกรรมที่สนับสนุนของโครงการ เพื่อตอบสนองตามข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการในระยะที่ ผ่านมา และยังได้ปรับปรุงให้โครงการมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้กับ SMEs ตั้งแต่ระดับฐานราก โดยได้ทำงานร่วมกับ 4 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในการดำเนินการ

สำหรับหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนง่ายขึ้น เช่น การเริ่มต้นนับสิทธิ์การเข้าร่วมตั้งต้นใหม่ (Set Zero) เพื่อเปิดโอกาสแก่ผู้ใช้สิทธิ์รายเก่าที่ใช้สิทธิ์ครบจำนวน จากระยะก่อนหน้า รวมถึงแก้ไขคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนิติบุคคลที่มีมูลค่าส่งออกเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อขยายฐานการสนับสนุนให้ครอบคลุมผู้ประกอบการมากขึ้นในทุกระดับ และยังได้ เพิ่มโอกาสให้ ผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ซึ่งส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและบริการใน ต่างประเทศจำนวน 6 ครั้ง โดยได้รับวงเงินสนับสนุนสูงสุดรายละ 200,000 บาท และกิจกรรมสร้างโอกาสทาง การค้าและเครือข่ายทางธุรกิจในต่างประเทศ ประกอบด้วยกิจกรรมเจรจาการค้า (Business Matching) และ กิจกรรมนำเสนอผลงาน (Business Pitching) เพื่อขายหรือระดมเงินทุน อาทิ การประกวดภาพยนตร์และ สารคดีในต่างประเทศ จำนวน 6 ครั้ง และได้รับวงเงินสนับสนุนสูงสุดรายละ 200,000 บาท เป็นต้น

..บรรจงจิตต์กล่าวเสริมว่า เป้าหมายการจัดทำโครงการระยะที่ 3 ได้ตั้งเป้าสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น มากกว่าค่าเฉลี่ยที่ทำได้จากโครงการระยะที่ 1 และ 2 โดยโครงการระยะที่ 1 (ปี  2556-58) ได้สนับสนุน ผู้ประกอบการกว่า 2,600 ราย เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการส่งออกรวมกว่า 269 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ

  8,600 ล้านบาท และโครงการระยะที่ 2 สนับสนุนผู้ประกอบการกว่า 1,747 ราย มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการ

ส่งออกรวมประมาณ 211 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,963 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โครงการมีความรวดเร็ว ตรวจสอบได้อย่างทันท่วงที กรมฯ ได้นำระบบการ บริหารจัดการโครงการออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในกระบวนการรับสมัคร ประเมินผล และ ติดตามผลมาปรับใช้ในการบริหารโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 04 ต.ค. 2561 เวลา : 23:33:33
24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 11:21 pm