การตลาด
สกู๊ป "หนังไทย" ฟื้นรอบ 5 ปี "เอ็มพิคเจอร์" เล็งผลิตหนังใหม่ปีหน้า 12 เรื่องรวด


จากสัญญาณที่ดีดังกล่าว ทำให้มีการคาดการณ์ว่าหนังเรื่องนาคี น่าจะทำเงินได้ถึง 500 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่เข้าฉาย และถ้าหากกระแสยังดีต่อเนื่อง อาจทำรายได้สูงเท่ากับพี่มากพระโขงที่ทำรายได้สูงถึง 1,000 ล้านบาท ซึ่งจากแนวโน้มที่ดีดังกล่าว จึงออกมาคาดการณ์กันว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยปี 2561 นี้ น่าจะปิดรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท สูงกว่าปี 2560 ที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมีมูลค่าเพียง 900 ล้านบาทเท่านั้น


นายพรชัย  ว่องศรีอุดมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ บริษัท เอ็มพิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด(มหาชน) บริษัทในเครือเมเจอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า  ภาพรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในปีนี้ มีแนวโน้มการขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากอัตราการเติบโตที่สูงถึง 100%  เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับกลยุทธ์ในการผลิต ด้วยการผลิตหนังไทยให้มีความหลากหลาย และเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเซ็กเม้นท์เทชั่นมากขึ้น เช่น เจาะกลุ่มผู้ชมในตลาดต่างจังหวัด และเจาะวัยรุ่น เป็นต้น

สำหรับภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีด้วยกัน 4 เรื่อง ได้แก่ น้องพี่ที่รัก ของจีดีเฮช, ไบค์แมน ศักรินทร์ ตูดหมึก ของเอ็ม  39, ขุนพันธ์ 2 ของสหมงคลฟิล์ม และ ๙ ศาสตรา ของ เอ็ม พิคเจอร์ส ซึ่งถือว่ามีจำนวนเรื่องมากกว่าปี 2560 ที่มีภาพยนตร์ไทยทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท เพียง 3 เรื่อง คือ ส่ม ภัค เสี้ยน ของเอ็ม พิคเจอร์ส, Bad Genius ฉลาดเกมส์โกง ของจีดีเอช และ มิสเตอร์เฮิร์ท มือวางอันดับเจ็บ ของ ทรานฟอร์เมชั่น
 
 
 

 
 
ส่วนภาพรวมไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะมีภาพยนตร์ไทยเข้าฉายจำนวน  11 เรื่อง และคาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง “นาคี 2” ซึ่งเข้าฉายไปเมื่อ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา และสามารถสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ด้วยการทำรายได้เปิดตัววันแรกที่เข้าฉายทั่วประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 50 ล้านบาท แม้จะเข้าฉายในวันธรรมดาก็ตาม ทำให้เป็นแรงหนุนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเริ่มส่งสัญญาณกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ในส่วนของภาพยนตร์ไทยที่คาดว่าจะทำเงินและฉายต่อจากนาคี 2 คือ เรื่อง “Homestay โฮมสเตย์” ของจีดีเฮช เข้าฉายในวันที่ 25 ต.ค. ตามด้วยเรื่อง “โนราห์” ของ เอ็ม พิคเจอร์ส เข้าฉายวันที่ 1 พ.ย., “ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2” เข้าฉายวันที่ 22 พ.ย. , “ Gravity of love” และ ” สิงสู่ ” เข้าฉายวันที่ 29 พ.ย. “หอแต๋วแตก แหกต่อไม่รอแล้วนะ” ของกูรู ฟิล์ม เข้าฉายวันที่ 5 ธ.ค. และ “ขุนบันลือ” ของ เอ็ม พิคเจอร์ส เข้าฉายวันที่ 27 ธ.ค.

จากจำนวนภาพยนตร์ไทยที่ทยอยเข้าฉายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพรวมทั้งปี 2561 จะมีภาพยนตร์ไทยเข้าฉายรวมทั้งหมด 43 เรื่อง แม้ว่าจะน้อยกว่าปี 2560 ที่มีภาพยนตร์ไทยเข้าฉายรวมมากถึง 48 เรื่อง แต่หากมองในด้านของรายได้ ถือว่าปีนี้ทำรายได้รวมมากกว่า เนื่องจากปีนี้คาดการณ์กันว่าอุตสาหกรรมภาพยนตรืไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีรายได้เพียง 900 ล้านบาท ซึ่งจากเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมีการขยับเพิ่มขึ้นเป็น 22% จากมูลค่าตลาดรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในระเทศไทยที่มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งอัตราส่วนที่จะเพิ่มขึ้นดังกล่าว ถือว่าเพิ่มขึ้นค่อนข้างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 11% เท่านั้น
 

 
 
 
นายพรชัย กล่าวต่อว่า ในปี 2561 นอกจากบริษัทจะดำเนินการผลิตภาพยนตร์ไทยด้วยตัวเองแล้ว ยังได้ร่วมกับพันธมิตรที่มีความชำนาญในธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อย่าง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมทุนกันผลิตภาพยนตร์เรื่อง ไบค์แมน ศักรินทร์ตูดหมึก ซึ่งทำรายได้รวมทั่วประเทศกว่า 142 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ทางบริษัท เอ็มพิวเจอร์ฯ ผลิตเองอีก 2 เรื่อง ที่จะเข้าฉายในไตรมาส 4 อีก 2 เรื่อง คือ ภาพยนตร์เรื่อง “โนราห์” กำกับโดย เอกชัย ศรีวิชัย และ “ขุนบันลือ” กำกับโดย หม่ำ เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา ซึ่ง 2 เรื่องนี้คาดว่าจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดได้อย่างดี เนื่องจากช่วงเวลาที่เข้าฉายเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าเริ่มหยุดพักผ่อนและมีเวลาว่างมาชมภาพยนตร์กันจำนวนมาก

ส่วนแผนการผลิตภาพยนตร์ไทยในปี 2562 ของบริษัท เอ็มพิคเจอร์ฯ นั้น มีแผนที่จะผลิตภาพยนตร์ประมาณ 12 เรื่อง หลากหลายรสชาติทั้ง โรแมนติก, คอมเมอร์ดี้ ดราม่า และสยองขวัญ เจาะกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ดังนี้ 1. รักไม่เป็นภาษา (Romantic Comedy) 2.- สิ้นสามต่อน (Romantic Comedy) 3.บุษบา (Horror) 4.คืนยุติธรรม (Action Thriller) 5.สตอจิ้มแจ่ว (Romatic Comedy)

6.ฟ้าฟื้น (Comedy Fantasy)  7.Music High School (Music Comedy) 8.แสงกระสือ (Horror) 9.โปรเมย์ (Drama) 10. Our Love Forever (Romantic Comedy) 11.ขจร-ดาหลา Romantic (Romantic Drama) 12. Protrait of Beauty (Horror) ซึ่งภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องที่จะทำการผลิตดังกล่าว บริษัท เอ็มพิคเจอร์ฯ คาดการณ์ว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 300-400 ล้านบาท

นายพรชัย กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเติบโต คือ จำนวนโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการที่โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป มีการขยายสาขาไปในตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คนต่างจังหวัดได้มีโอกาสดูภาพยนตร์ไทยได้มากขึ้น เช่นเดียวกับการขยายโรงภาพยนตร์ไปในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งบริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป กำลังทำยู่ในขณะนี้ 

สำหรับแผนการขยายสาขาโรงภาพยนตร์ของบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป ในปี 2561 นี้ มีแผนที่จะเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ถึงสิ้นเดือนต.ค.รวม 21 สาขา 45 โรง โดยเฉพาะการขยายสาขาในต่างจังหวัดที่ลงไปถึงระดับอำเภอ ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่ชอบการชมภาพยนตร์ไทย ซึ่งจากจำนวนภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป มีโรงภาพยนตร์ในเครือรวมทั้งหมดกว่า 90 สาขา รวมกว่า 600 โรง กว่า1.4 แสนที่นั่ง ซึ่งนอกจากจะหันไปเน้นขยายธุรกิจโรงภาพยนตร์ในตลาดต่างจังหวัดและต่างประเทศแล้ว ในปลายปีนี้ในกรุงเทพฯ จะมีโรงภาพยนตร์สาขาใหม่เปิดให้บริการ 2 แห่ง คือ โครงการไอคอนสยาม และเกตเวย์ บางซื่อ

 

LastUpdate 28/10/2561 18:07:46 โดย : Admin
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 4:37 am