ไลฟ์สไตล์
จังหวะเพลงกระตุ้นสมอง ปลดปล่อยวิญญาณนักกีฬาในตัวเรา


หมดวันก็หมดแรง คุณปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่ทำงานเครียดมาทั้งวันจนมีสภาพไม่ต่างจากซอมบี้ รองเท้ากีฬาห้อยอยู่กับกระเป๋า – จากเมื่อเช้าที่การไปฟิตเนสดูเป็นความคิดที่ดี – แต่ตกเย็นกลับเป็นภาระเพิ่มเติมจากการแบกร่าง แถมยังทำให้รู้สึกผิดที่ไม่ได้ไป คุณเดินจิตตกไปที่จุดรอรถแท็กซี่ พลางเสียบหูฟังเปิดเพลงโปรดจังหวะสนุกสนาน อารมณ์หม่น กลับเปลี่ยนไปทันใดจังหวะเพลงจุดประกายไฟเล็ก ในตัวคุณ ทำให้ลืมความเครียดจากเอกสารและรายงานสิ้น เสียงนักกีฬาในตัวคุณมันค่อยๆ ดังขึ้นมาจนเหมือนเสียงร้องตะโกน ไม่ทันไร คุณก็หยิบรองเท้ามาใส่และพร้อมจะเสียเหงื่อเพื่อจบวัน

 

 

 

ฟังเพลงปลุกใจ แล้วไปให้สุด เพราะไม่ฟังก็เหี่ยวเฉา เศร้ากลับบ้าน

เพลงมีคุณสมบัติในการปลุกใจ นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้เสมอในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ กระทั่งระดับแม่ทัพในยุคนักรบสปาร์ตัน ก็ใช้เพลงในการปลุกใจทหารในกองทัพเพื่อเพิ่มความฮึกเหิมเวลาออกรบ สำหรับยุคใหม่ นักกีฬาหลายๆ คนฟังใช้เพลงในการทำให้ตนเองโฟกัสกับการออกกำลังกายมากขึ้น บางคนถึงกับใช้เพลงในช่วยทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้นในระหว่างการเทรนก่อนแข่งขัน ซึ่งกิจวัตรประจำวันของนักกีฬา ไม่ใช่เพียงแค่ฝึกซ้อมร่างกาย แต่ยังรวมไปถึงการใส่ใจอาหารและโภชนาการ อีกทั้งการบำบัดด้วยเสียง ที่ใช้เพลงในการทำให้นักกีฬาโฟกัสและกระตุ้นให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น ยิ่งสำหรับการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีในเมืองใหญ่ในปัจจุบัน เพลงก็ยังทำหน้าที่เป็นอาวุธลับในการสร้างพลังใจให้เราสู้กับความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี 

 

ผลการวิจัยในประเทศไทยในปีพ..  2556 ชี้ว่า เพลงมีผลต่อระยะเวลาในการออกกำลังกาย ดูได้จากการที่ผู้เข้าร่วมทดสอบที่ปั่นจักรยานพร้อมกับฟังเพลลิสต์ที่เลือกมาเพื่อแต่ละคนสำหรับการออกกำลังโดยเฉพาะ สามารถปั่นได้ระยะเวลานานกว่าผู้ที่ไม่มีเพลงฟังi นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยในปี 2561  โดย American College of Cardiology ที่ขยายผลของอิทธิพลจากเพลงออกมาเป็นตัวเลข โดยพบว่าผู้เข้าร่วมทดสอบ สามารถออกกำลังกายบนลู่วิ่งเพิ่มขึ้นได้นานถึง 11% หรือนานกว่าผู้ที่ไม่ได้ฟังเพลงเกือบหนึ่งนาที ผลการวิจัยเหล่านี้ เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วโดยสัญชาตญาณ คือ การฟังเพลงระหว่างออกกำลังกาย ช่วยให้เรามีความพยายามและมีแรงฮึดเป็นเวลานานขึ้นii

 

 

 

 

ผู้ให้บริการมิวสิคสตรีมมิ่งอย่าง Spotify เข้าใจประเด็นนี้เป็นอย่างดี ผู้ให้บริการที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเรา จึงทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างมีแบบแผน เพื่อสร้างสรรค์สุดยอดเพลย์ลิสต์สำหรับออกกำลังกายให้แก่ผู้ฟัง ตัวอย่างเช่นเมื่อ Spotify ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Brunel ในปี 2557 เพื่อวิเคราะห์รายชื่อรวมเพลงกว่า 6.7 ล้านรายชื่อ ทั่วประเทศอังกฤษ เพื่อมาปรับจูนการเลือกจังหวะเพลงประเภท Workout ให้เป็นแนวเพลงที่กระตุ้นอารมณ์คนฟังได้ดีที่สุด ซึ่งเพลย์ลิสต์เพลงที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฟิตเนสสะท้อนถึงเอกลักษณ์ผู้ฟังแต่ละคนได้ดี รวมถึงบอกสไตล์เพลงที่ทุกคนฟังเพื่อปลดปล่อยความฮึกเหิมในตัว

ผู้ให้บริการที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Spotify ทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์การกีฬา

อย่างมีแบบแผน เพื่อสร้างสรรค์สุดยอดเพลย์ลิสต์สำหรับออกกำลังกายให้แก่ผู้ฟัง

คุณสมบัติของเพลงในการ “ปลดปล่อยความเร่าร้อน” เกี่ยวโยงกับเรื่องบนเตียง 

เพราะอะไรเพลงถึงปลุกอารมณ์ งานวิจัยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่า เพลงมีอิทธิพลต่อร่างกาย ทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปตามจังหวะที่ได้ยิน จึงช่วยให้เรามุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมน้อยลง หรือรู้สึกตัวน้อยลง เพื่อให้เรายึดเวลาแห่งความสุขออกไปได้นานขึ้น มีพลังที่จะลุยต่อได้นานกว่าเดิม 

อย่างไรก็ดี คิมเบอร์ลี ฮิส ผู้เขียนบทความ “ชีวิตที่สวยงามของสมองของเรา” (The Beautiful Life of Your Brain)  ชี้ว่านักวิจัยยังคงหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดว่ากลไกใดของเพลงที่มีผลในการปลุกอารมณ์ของเรา จากการศึกษาของฮิส สมมุติฐานที่เป็นไปได้ที่มากที่สุดคือ ความสามารถของเพลงในการสื่อสารระหว่างโครงสร้างของสมองส่วนที่ควบคุมการคาดเดาและความคาดหวัง ระบบรางวัลที่ทำให้เกิดความสุข หรือพูดง่ายๆ คือ เพลงที่ร่างกายรอจะได้ฟัง เกี่ยวข้องกับการหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน หรือที่รู้จักกันดี “ฮอร์โมนสร้างความสุข” ซึ่งกระตุ้นโดยกิจกรรมทางร่างกาย กระบวนการที่ขับเคลื่อนด้วยเสียงเพลงนี้ เป็นตัวกระตุ้นระบบรางวัลของสมอง – วงจรอันทรงพลังที่มีมาแต่โบราณ – ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่สร้างความสุขมาก เช่น การกิน และการมีเพศสัมพันธ์iii 

นักกีฬามืออาชีพเพิ่มศักยภาพด้วยเสียงดนตรี

ดร. คอสตาส คาราจีโอกิส ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการกีฬา จากมหาวิทยาลัยบรูเนล ได้กล่าวว่า “เสียงดนตรีนั้นช่วยลดความรู้สึกว่าต้องพยายาม โดยดนตรีนั้นช่วยให้เรารู้สึกเหนื่อยน้อยลงในขณะที่กำลังออกกำลังกาย และยังช่วยเพิ่มความคิดในแง่บวกอีกด้วย เปรียบเสมือนเป็นยาระงับความรู้สึกหรือยากระตุ้น เพลงจังหวะเร็วๆ สามารถช่วยให้คุณพร้อมก่อนลงแข่งขัน และเพลงช้าๆ ก็สามารถช่วยให้คุณรู้สึกสงบขึ้นและโฟกัสได้ดีขึ้นอีกด้วย เสียงดนตรีจึงนับว่าเป็นยากระตุ้นที่ไม่มีผลข้างเคียงและยังถูกกฏหมายอีกด้วย

 

 

 

จากการทดลองพบว่าเสียงดนตรีสามารถบล็อกอาการอ่อนล้าได้ เช่น ลดการขาดออกซิเจนลดอาการหัวใจเต้นเร็ว และการเกิดกรดแลคติกในกล้ามเนื้อ เสียงเพลงยังสามารถลดความรู้สึกเหนื่อยลงได้ถึง 10%  ตัวอย่าเช่น การปั่นจักรยาน 66 นาที จะมีความเหนื่อยเทียบเท่ากับการปั่น 60 นาที เพียงเท่านั้นแม้ว่าเสียงเพลงจะไม่ได้ทำให้เหนื่อยน้อยลงระหว่างที่คุณออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพลงก็ทำให้คุณมีความรู้สึกที่ดีมากขึ้นระหว่างออกกำลังกาย แม้ว่าคุณใกล้จะหมดแรงแล้วก็ตาม” คุณหมอคาราจีออกิสอธิบาย

นายพอล ซัลลิแวน ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตทีมไอซ์ฮ็อกกี้น้ำแข็ง Cardiff Devils เน้นย้ำว่า “ในการกีฬา ถ้าคุณเปิดเพลงที่เข้ากับกีฬานั้นๆ คุณสามารถทำให้ฝูงชนมีส่วนร่วมมากขึ้นกับการชมกีฬาและผู้เล่นยังได้รับพลังจากเพลงและการมีส่วนร่วมของผู้ชมอีกด้วย" เมื่อเริ่มแมทช์ เขาโชว์ภาพของผู้เล่นทุกคนให้ผู้ชมดู เพื่อให้ทุกคนเริ่มอินไปกับเกมและรู้สึกพร้อมสำหรับการแข่งขัน หลังจากนั้นเขาจะต่อด้วยการเปิดดนตรีฮึกเหิมเพื่อให้ฝูงชนส่งเสียงเชียร์ โห่ร้องและปรบมือเมื่อผู้เล่นเข้าสนาม บอกเลยว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่เวิร์คมาก เพราะเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่ทีม Cardiff Devils ประสบความสำเร็จในการเข้ารอบชิงชนะเลิศChallenge Cup โดยชนะทีม Coventry Blaze ไปในเดือนตุลาคม .. 2552 และก้าวเข้าสู่รอบเพลย์ออฟ ในรอบรอบชิงชนะเลิศปีต่อมา

เพลงที่เลือกสรรมาอย่างดี สามารถเปลี่ยนมุมมองได้

การออกกำลังกายและเพลงเป็นสิ่งที่เข้าได้เป็นอย่างดี และบางทีก็ขาดกันไม่ได้ ฟิตเนสเข้าใจอิทธิพลของเพลงต่อจิตใจเป็นอย่างดี และฟิตเนสที่ประสบความสำเร็จแทบทุกที่จะสตรีมเพลงสร้างบรรยากาศอยู่เสมอ แต่หมดสมัยจังหวะเดิม ที่ดีเจในฟิตเนสเลือกให้แล้ว เพราะแนวการออกกำลังเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เพลงก็เช่นกัน นวัตกรรมอุปกรณ์การฟังเพลง ประกอบกับอิสระในการเลือกสตรีมเพลงที่ต้องการ ทำให้เราสามารถออกแบบเพลย์ลิสต์เพลงสร้างพลังใจเพื่อเตรียมออกกำลังให้สุด 

ตัวอย่างการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ร่วมกับเพลงประเภท Running ของ Spotify คือ เพลย์ลิสต์ที่คัดเพลงให้ผู้ฟังตามจังหวะการเต้นของหัวใจ (BPM – Beats per minute) เพื่อให้ความเร็วของเพลงพอดีกับการวิ่ง จากเพลย์ลิสต์ Pop Warmup 130 BPM to Energetic Run 160-165 BPM,  แต่ละเพลงที่คัดมา สามารถสร้างพลังใจได้กระทั่งนักวิ่งมือใหม่ ให้ค้นพบความเป็นพี่ตูน บอดี้สแลมที่ซ่อนอยู่ข้างใน 

นายพอลยังเสริมอีกว่า “การมอบประสบการณ์ทางดนตรีให้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก คือความมุ่งมั่นของ Spotify เสมอมา เราเข้าใจดีว่าเนื้อหาเพลย์ลิสต์และเพลงที่เข้ากับความสนใจและรสนิยมของผู้ฟัง จะสามารถยกระดับและปรับเปลี่ยนความรู้สึกของผู้ฟังได้เลยทีเดียว

 

 

Spotify นำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในเลือกประเภทเพลงที่เหมาะสมกับผู้ฟัง

ให้ได้เป็นเพลย์ลิสต์ที่คัดเพลงตามจังหวะการเต้นของหัวใจ (BPM) ให้ความเร็วของเพลงพอดีกับการวิ่ง

และวันใดที่ฟิตเนสไม่ว่าง เพลงยังมีคุณสมบัติในการปรับมุมมองให้เราเห็นสิ่งแวดล้อมต่างจากเดิม เพลย์ลิสต์ที่ผ่านการเลือกมาเป็นอย่างดีสามารถเปลี่ยนเส้นทางวิ่งธรรมดาในสวนให้เป็นลู่วิ่งโอลิมปิกได้ และเปลี่ยนเครื่องยืดกล้ามเนื้อให้เป็นบาร์ยิมนาสติกได้ ไลฟ์สไตล์และแฟชั่นไอคอน เค เลิศสิทธิชัย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘Kayavine’ แสดงให้เราเห็นประสิทธิภาพของเพลงในการเนรมิตสวนลุมพินี ให้กลายเป็นสนามออกกำลังกายได้อย่างสนุกสนานและชวนขำ ในวีดีโอเรียกเสียงหัวเราะที่เขาโพสลงในหน้า Facebook เมื่อไม่นานมานี้

รู้แบบนี้แล้ว คราวหน้าถ้ารู้สึกขี้เกียจ หมดแรงจะไปฟิตเนสหรือไปเดินออกกำลัง ลองเปิดเพลย์ลิสต์เพลงโปรดสนุกๆ เสียบหูฟัง สร้างพลังใจ แล้วปลดปล่อยวิญญาณนักกีฬาในตัวคุณดูสิ

(บทความโดย Eve Tan หัวหน้าฝ่าย Shows & Editorial ของ Spotify ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน)


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 ต.ค. 2561 เวลา : 00:27:22
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 10:13 pm