คุณภาพชีวิต
NIDA Poll การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 3


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 3” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 23 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,527 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 54.13 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 2 ร้อยละ 18.64 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนจริงจังกับการทำงาน ทำงานตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์ บ้านเมืองสงบไม่วุ่นวาย ช่วยเหลือประชาชนได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากให้ดำรงตำแหน่งต่อไป อันดับ 3 ร้อยละ 10.57 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีประสบการณ์การทำงาน บริหารงานที่ผ่านมาได้ดี พูดจริง ทำจริง และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว อันดับ 4 ร้อยละ 5.70 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ อยากได้คนรุ่นใหม่มาบริหารประเทศ เป็นคนที่มีความคิดที่ทันสมัย  มองการณ์ไกล และชื่นชอบนโยบายพรรค อันดับ 5 ร้อยละ 3.92 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์  เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริง ทำจริง มีความซื่อสัตย์ และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว อันดับ 6 ร้อยละ 1.54 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) เพราะ มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถทางด้านเศษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีความเข้าใจการเมืองทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ อันดับ 7 ร้อยละ 1.07 ระบุว่าเป็น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชอบผลงาน  ของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบนโยบายด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ร้อยละ 4.00 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่), นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์), นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย),  นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ), นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา), นายชวน หลีกภัย, นายอานันท์ ปันยารชุน, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และน.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) และร้อยละ 0.43 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 
 
และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2563 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส, นายกรณ์ จาติกวณิช และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์, นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
 
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 41.59 ระบุว่าเป็น ไม่สนับสนุน  พรรคการเมืองใดเลย อันดับ 2 ร้อยละ 19.39 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 12.70 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 12.39 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 7.44 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย    อันดับ 7 ร้อยละ 1.58 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 0.79 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า อันดับ 9 ร้อยละ 0.59 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ อันดับ 10 ร้อยละ 0.55 ระบุว่าเป็น ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 11 ร้อยละ 0.36 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 12 ร้อยละ 0.28 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนา และพรรคประชาชาติ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 13 ร้อยละ 0.24 ระบุว่าเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย และอันดับ 14   ร้อยละ 0.12 ระบุว่าเป็น พรรคเศรษฐกิจใหม่ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ คะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน 2563 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า  พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวไกล, พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคกล้า, พรรคเพื่อชาติ, พรรคเศรษฐกิจใหม่ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย, พรรคชาติพัฒนา, พรรคประชาชาติ, พรรครวมพลังประชาชาติไทย และไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และผู้ที่ระบุว่า พรรคชาติไทยพัฒนา มีสัดส่วนเท่าเดิม
 
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.26 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.56 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.20 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.38 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.19 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.81 เป็นเพศหญิง 

ตัวอย่างร้อยละ 5.74 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.99 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.29 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.31 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.67 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.36 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.19 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.50 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.83 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.59 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.64 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.94 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส 
 
ตัวอย่างร้อยละ 29.13 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.60 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.84 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.43 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.98 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.02 ไม่ระบุการศึกษา 
 
ตัวอย่างร้อยละ 9.97 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.42 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.96 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.21 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.72 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.86 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.18 ไม่ระบุอาชีพ 
 
ตัวอย่างร้อยละ 17.45 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.31 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.01 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 5.98 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.02 ไม่ระบุรายได้

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 ก.ย. 2563 เวลา : 09:58:12
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 3:07 pm