คุณภาพชีวิต
ลมเปลี่ยนทิศ ความท้าทายครั้งใหม่ของ HR กับ 8 แนวทางพาองค์กรปรับตัวเข้าสู่โลกใบใหม่ยุค NEW ECONOM


รูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมในยุคหลังโควิด-19 การปรับตัวของคนเพื่อเข้าสู่สังคมครั้งใหม่จะส่งผลอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วทั้งโลก องค์กรและบริษัทส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน วัน-เวลาเข้างานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามการกลับมาทำงานครั้งนี้ เราไม่สามารถทำงานแบบปกติเหมือนก่อนได้ องค์กรต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานอีกครั้งดังนั้นบทบาทของ HR จึงเปรียบเสมือน “ฮีโร่คนสำคัญ” ในการผลักดันพนักงานและองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างปกติและเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่มีผลกระทบ

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “SEAC เชื่อมาเสมอว่า “คน” คือทรัพยากรสำคัญอันทรงคุณค่า ในการสร้างสรรค์แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในโลกใบใหม่ที่ไม่อะไรเหมือนเดิมแล้ว HR จะไม่สามารถยึดการทำงานในรูปแบบเดิมอีกต่อไป ในทางกลับกันต้องเน้นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ผ่าน Reskill และ Upskill มุ่งเน้นการพัฒนาและเข้าถึงพนักงานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยได้ศึกษาการปรับเปลี่ยนขององค์กรทั่วโลก เพื่อดูว่า HR ของแต่ละพื้นที่ทั่วโลกได้มีการวางแผนในการปรับองค์กรและพนักงานเพื่อต้อนรับโลกยุค New Economy อย่างไร อาทิ
 

* AIRA ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัลและ Inbound Marketing จากประเทศอังกฤษ เชื่อว่า การสื่อสารคือหัวใจสำคัญ ผ่านการช่วยเหลือของ HR ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้นำองค์กรและพนักงานทุกระดับในบริษัท สร้างโอกาสในการพูดคุยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ลดความเครียดและความกดดันของพนักงานพร้อมสร้างการปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมออนไลน์แม้ไม่ได้เจอหน้ากันเหมือนเช่นเคย
 
* GOCO ผู้พัฒนาและคิดค้น HR Platform สำหรับ StartUp ปรับแผนก HR ให้ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง เน้นการ Reskill และ Upskill กระตุ้นให้พนักงานเปลี่ยนวิธีคิด พัฒนาทักษะเสริม พร้อมเน้นการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนร่วมกัน 
 
* และ McDonald’s ที่ฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่ คิดค้นโปรแกรมพัฒนาพนักงานรุ่นใหม่กว่า 10,000 คน ให้มาช่วยต่อยอดสร้างไอเดียสำหรับอนาคตเมื่อสถานการณ์สงบลง ผ่านการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากสายงานปฎิบัติเดิมที่ทำเป็นประจำ
 
โดย SEAC ได้ถอดรหัสเป็นบทสรุปที่เรียกว่า WORK WELL DONE และนำเสนอ 8 แนวทางพาองค์กรปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตและการทำงานรูปแบบใหม่ ในลักษณะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เรียนรู้ที่จะปรับตัวและ ก้าวไปข้างหน้า พร้อมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ความต่อเนื่องและพลังงานบวกให้กับพนักงานเมื่อสถานการณ์กลับไปเป็นปกติ

WORK WELL DONE กับ 8 แนวคิดที่เปรียบเสมือน Checklist ให้ HR เดินหน้าต่อ ดังนี้

1. 10x Communication –การสื่อสารระหว่างกัน แบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่สำคัญต้องถี่ สม่ำเสมอ และหลากหลายรูปแบบมากขึ้น
 
2. Focus on Well-Being – เริ่มต้นใส่ใจสุขภาพของพนักงานให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นผลลัพธ์ในการทำงาน และถึงแม้ COVID-19 จะหมดไป สิ่งที่เคยทำให้ก็ยังต้องคงไว้อยู่
 
3. Plan Growth and Development for Your People – ปรับรูปแบบการพัฒนาคน เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
 
4. Build A Stronger Communication Regime – สร้างการสื่อสารของผู้นำมากขึ้น และให้พนักงานรับฟังและมีส่วนร่วมมากขึ้น
 
5. Recognize and Reward – สังคมจับถูก จัดกิจกรรมให้รางวัล สร้างความหมาย และจุดยืนให้พนักงาน มากกว่าที่เคยเป็น
 
6. Be More FLEXIBLE – ให้เวลาพนักงานได้มีเวลาส่วนตัวเมื่อต้องทำงานแบบ Social Distancing เข้าอกเข้าใจว่าพนักงานทุกคนมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
 
7. Take Team Building Online – จัดกิจกรรมสร้างทีมผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น และ HR จะต้องเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของบริษัท
 
8. Develop Virtual Community for All Employees – สร้างสังคมออนไลน์ในบรรยากาศที่รีแล็กซ์ให้พนักงานเกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วม
 
“แนวคิดทั้ง 8 ข้อนี้เปรียบเสมือนเป็น ทางออกของการทำงานของ HR ในยุคปัจจุบันที่กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน การที่จะสร้างพลังบวกให้กับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ ทั้งในแง่ของการสื่อสารและในแง่ของประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ตัวองค์กรเองนั้นก็ต้องหมั่นบริหาร Mindset (วิธีคิด) และ Skillset (ทักษะ) อย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันได้ทันท่วงที นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้และสำคัญไม่น้อยกว่าการเร่งสร้างคนในองค์กร นั่นคือ HR เอง ต้องรีบปรับตัว เสริม Essential Skill ที่จะช่วยให้ทำงานได้ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 1. Agility หรือการปรับตัวในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 2. Critical Thinking ความคิดเชิงวิพากษ์ รวมถึง 3. Social and Emotional Intelligence หรือความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ เพราะงานของ HR ขณะนี้อยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีใครเคยพบเจอมาก่อน ความรู้เชิงเทคนิคในด้าน HR แบบเดิมๆ อาจจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอ HR ยุค New Economy หรือ Next Normal นี้จึงต้องเก่งด้วย Technical Skill และพร้อมด้วย Essential Skill เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลไปได้ถึงระดับองค์กร” นางอริญญา เถลิงศรี  กล่าวสรุป

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 01 ต.ค. 2563 เวลา : 12:31:49
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 3:59 am