คุณภาพชีวิต
สวนดุสิตโพล : ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณี แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย


แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย เป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ประชาชนเกิดความกังวล และจับตามองว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,167 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 22-25 มีนาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้


1. ประชาชนคิดอย่างไรกับ “สถานการณ์แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย”
 
อันดับ 1 อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ มากขึ้น 67.67%
อันดับ 2 เกิดการแย่งอาชีพของคนงานในประเทศ                62.01%
อันดับ 3 แรงงานข้ามชาติต้องการแสวงหาการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า 59.09%
อันดับ 4 เป็นการดิ้นรนทางเศรษฐกิจ 58.15%
อันดับ 5 ก่อให้เกิดอาชญากรรมและความไม่ปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน 53.69%

2. ประชาชนคิดว่า “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” เป็นเพราะสาเหตุใด
 
อันดับ 1 ได้ค่าแรงมากกว่า 69.01%
อันดับ 2 ทำมาหากินได้ง่ายกว่า              67.12%
อันดับ 3 ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ฝืดเคือง          63.78%
อันดับ 4 แสวงหาชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่าเดิม          54.42%
อันดับ 5 แรงงานของไทยขาดแคลน 53.48%

3. จากกรณี “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” ประชาชนคิดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในเรื่องใดบ้าง
 
อันดับ 1 การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น โควิด-19      81.41%
อันดับ 2 ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น          74.38%
อันดับ 3 เจ้าหน้าที่กระทำผิดกฎหมาย เปิดให้มีการลักลอบเข้าเมือง 68.81%
อันดับ 4 งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการดูแลแรงงานข้ามชาติ 64.27%
อันดับ 5 ความปลอดภัย โดยเฉพาะสถานการณ์ตามแนวชายแดนของไทย                      59.55%
 
4. รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อกรณี “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย”
 
อันดับ 1 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด ไม่ทุจริต 75.16%
อันดับ 2 ควรมีมาตรการป้องกัน/เตรียมรับมือในระยะยาว                    72.13%
อันดับ 3 เฝ้าระวังตามแนวชายแดนอย่างเคร่งครัด 65.01%
อันดับ 4 คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาอย่างรอบด้าน 64.75%
อันดับ 5 มีจุดคัดกรองโรคติดต่อ                                    57.38%
  
5. เมื่อเปรียบเทียบกรณี “สถานการณ์แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” ประชาชนคิดว่ามีผลดีและผลเสียมากน้อยเพียงใด
 
มีผลเสียมากกว่า 64.44%          มีผลดีและผลเสียพอ ๆ กัน 29.56%            มีผลดีมากกว่า 6.00%         

 *หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)
                                      
สรุปผลการสำรวจ : แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย
 
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” กลุ่มตัวอย่าง 1,167 คน สำรวจวันที่ 22 – 25 มีนาคม 2564 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าการที่แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ มากขึ้น ร้อยละ 67.67 สาเหตุที่แรงงานอพยพเข้าไทย เพราะได้ค่าแรงมากกว่า ร้อยละ 69.01 โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น คือ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น โควิด-19 ร้อยละ 81.41 สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการคือ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด ร้อยละ 75.16 และมองว่าการที่มีแรงงานอพยพเข้าไทยจำนวนมากนั้นมีผลเสียมากกว่า ร้อยละ 64.44 
 
สถานการณ์แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทยจำนวนมากนั้น เป็นเพราะค่าแรงขั้นต่ำของไทยสูงกว่าประเทศ      ต้นทาง รวมถึงสภาพสังคมชีวิตความเป็นอยู่ในไทยก็อาจจะดีกว่าในภาพรวม ทำให้ตัวเลขแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยทั้งถูกและไม่ถูกกฎหมายมีจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องรับมือในระยะยาว โดยจะต้องคำนึงถึงหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสมด้วย

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533

การเข้ามาของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยมีเหตุผลหลักคือ ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ โดยกลุ่มแรงงานดังกล่าว มีค่าแรงที่ถูกกว่าแรงงานไทย มีความอดทนสู้งาน ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีของนายจ้างทำให้เกิดการหลั่งไหลของแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับผลการสำรวจของ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่พบว่าสาเหตุ  ที่แรงงานข้ามชาตินิยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1  คือ ได้ค่าแรงที่มากกว่า ส่วนผลกระทบจากกรณีแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานมากขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่กังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยเฉพาะโควิด-19 และมองว่ารัฐบาลควรดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด ไม่ทุจริต ประเด็นดังกล่าวถือเป็นความท้าทายที่ทุกภาคส่วนในสังคมต่างต้องร่วมกันปฏิบัติและรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างการใช้แรงงานข้ามชาติกับการจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม
 
รศ.ดร.ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล 
รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 มี.ค. 2564 เวลา : 20:06:01
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 1:50 pm