สุขภาพ
ส่องอันดับ 5 มะเร็งยอดฮิตในผู้ชายและผู้หญิงไทย


รพ.มะเร็งชีวามิตรา เผยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันกระตุ้นมะเร็ง จากความเครียดความกดดันทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมการดื่มสุราและดูดบุหรี่ แนะแนวทางดูแลตัวเองเชิงป้องกันด้วยการดูแลสุขภาพ และสังเกตพฤติกรรมตรวจสุขภาพเป็นประจำ เปิด 5 อันดับมะเร็งในเพศชายเพศหญิง พบคนไทยเพศชายป่วยเป็นมะเร็งอันดับที่ 15 ของเอเชีย มะเร็งตับและท่อน้ำดี มาเป็นอันดับหนึ่ง  ส่วนคนไทยเพศหญิงป่วยเป็นมะเร็งอันดับที่ 18 ของเอเชีย มะเร็งเต้านม เป็นอับดับหนึ่ง


 

นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทาง โรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบันกระตุ้นความเสี่ยงโรงมะเร็งแบบไม่รู้ตัว  เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่จัดหรือปริมาณมากและเกิดภาวะความเครียด เป็นประจำ  จากความกดดันด้านการงาน การเงิน และครอบครัว สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนว่า โรคมะเร็ง ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทุกคนมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็ง อยู่ในระยะลุกลามระดับใดฉะนั้นการตั้งใจดูแลตัวเองเชิงป้องกันสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
 

โดยมีแนวทางการป้องกัน ดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคมะเร็งด้วย 4 ข้อ ได้แก่  1.ลด ละ เลิก สูบบุหรี่ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งสำคัญ ลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่  2.ทานอาหารที่มีประโยชน์ ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการ
 

ต่อสู้กับมะเร็ง 3.ออกกำลังกายให้มากขึ้น ครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิด มะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็ง เต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 3. หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารเคมีอันตราย สารจำพวก ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซินนั้น เต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง เป็นต้น  
 

นอกเหนือจากการป้องกันแล้ว การดูแลตนเองควรมั่นค่อยสังเกตความผิดปกติของร่างกายควรหมั่นตรวจเช็ค ความผิดปกติของร่างกายด้วยการตรวจสุขภาพ อย่างสม่ำเสมอ อาทิ ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ย่อยยาก หรือขับถ่ายยากเป็นเวลานาน เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น  1.มีเลือดออกผิดปกติ เช่น ทางช่องคลอดหรือเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ  2.มีแผลเรื้อรังไม่หายใน 3 สัปดาห์ 3.มีก้อนที่เต้านมหรือ ตามตัว ไฝโตขึ้น หรือเปลี่ยนสี 4.ไอเรื้อรังหรือเสียงแหบ  5.ร่างกายทรุดโทรม น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ  6.ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง หรือหูอื้อเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งการตรวจจับสัญญาณเหล่านี้ ช่วยให้สามารถ วิเคราะห์การรักษามะเร็ง ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้เป็นปกติได้มากขึ้น
 

ให้ข้อมูลว่ามะเร็งที่พบบ่อยสุดในคนไทย ผู้ชายไทยเป็นมะเร็งเฉลี่ย169.3 คน ต่อประชากร 1 แสนคน สูงเป็นอันดับที่ 15 ของเอเชีย โดย 5 อันดับแรกของมะเร็งในเพศชายได้แก่  1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2. มะเร็งปอด 3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 4. มะเร็งต่อมลูกหมาก และ 5. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  ในขณะที่ผู้หญิงไทยป่วยเป็น มะเร็ง 151 คนต่อประชากร 1 แสนคน สูงเป็นอันดับที่ 18 ของเอเชีย โดย 5 อันดับแรกของโรคมะเร็งใน เพศหญิง ได้แก่ 1. มะเร็งเต้านม 2. มะเร็งตับและท่อน้ำดี 3. มะเร็งปากมดลูก 4. มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และ 5.มะเร็งปอด 
 
 
 

ปัจจุบัน“โรคมะเร็ง” ยังคงครองแชมป์มีอัตราการเสียชีวิตสูง จากตัวเลขของ wordometers.info ประเมินว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งไปแล้ว 5.12 ล้านคน และซึ่งเมื่อย้อนกลับไปปี 2563 พบ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 10 ล้านคน จากการประเมินของ Globocan ในการเก็บข้อมูลจาก 185 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยหากไม่นับอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุแล้ว โรคมะเร็งก็ยังคงครองแชมป์ สาเหตุคร่าชีวิตประชากรไทยเป็นลำดับต้น ๆ มานานกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2542 ถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากสถาบัน มะเร็งแห่งชาติ ยังสะท้อนให้ตัวเลขเหตุคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เฉลี่ยสูงถึงวันละ 221 ราย หรือแตะ 80,665 รายต่อปี และเมื่อเจาะลึกลงไปในข้อมูลพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากมะเร็งเฉลี่ยถึงวันละ 336 ราย หรือ  122,757 รายต่อปี  และกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นทุกวันเมื่อดารานักแสดงและศิลปิน ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรงมะเร็งบ่อยขึ้น

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ก.พ. 2565 เวลา : 10:48:08
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 6:29 pm