แบงก์-นอนแบงก์
SCB WEALTH ชี้ช่องบริหารภาษีที่ดินเพิ่มความมั่งคั่งผ่าน Property Backed Loan


SCB WEALTH จัดสัมมนา “กลยุทธ์รับมือภาษีที่ดินปี 2565” ให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ของธนาคาร  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยรัฐบาลจะจัดเก็บเต็มอัตราในปีนี้เป็นปีแรก พร้อมนำเสนอเครื่องมือทางการเงินในการบริหารสินทรัพย์ผ่าน Property Backed Loan เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการจัดการบริหารภาษีที่ดินเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งภายใต้การดูแลของทีมที่ปรึกษาการเงินและ Investment consultant พร้อมจัด Asset  Allocation ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 6-8%ต่อปี 

 

 
ดร.สาธิต ผ่องธัญญา ผู้อำนวยการอาวุโส Estate Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB Wealth ได้จัดสัมมนาให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ของธนาคาร ในหัวข้อ “กลยุทธ์รับมือภาษีที่ดิน ปี 2565” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่รัฐบาลจะจัดเก็บอัตราภาษีเต็มจำนวน ในปีนี้เป็นปีแรก หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลได้ลดอัตราภาษีลง 90% เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ราคาประเมินที่ดินที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีในปี 2565 เป็นราคาประเมินในปี 2559 และในปี 2566 จะมีการปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเสียภาษีที่ดินสูงขึ้นตามไปด้วย 

สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2565 ตัวอย่างเช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า  มูลค่าทรัพย์สิน 0-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.3% มูลค่าทรัพย์สิน 50-200 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.4% มูลค่าทรัพย์สิน 200 -1,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 0.5%  มูลค่าทรัพย์สิน 1,000 -5,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา  0.6% และมูลค่าทรัพย์สิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.7% ทั้งนี้ การจัดการที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ มีต้นทุน จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบว่าคุ้มค่าหรือไม่  อย่างไรก็ตาม SCB WEALTH มีเครื่องมือทางการเงินในการบริหารสินทรัพย์ ที่เรียกว่า Property  Backed Loan เป็นหนึ่งทางเลือกในการบริหารจัดการภาษีที่ดิน ให้มีความยืดหยุ่นได้ดียิ่งขึ้น โดยการนำที่ดินที่มีอยู่แล้วมาจำนองกับธนาคาร และนำเงินกู้ที่ได้รับมาบริหารให้เป็นพอร์ตการลงทุนอีกประเภทหนึ่งภายใต้การดูแลของทีมที่ปรึกษาการเงิน

นายปกรณ์ เภตรากาศ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย  Wealth Lending Product ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Property Backed Loan ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่ม Private Banking  ที่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากที่ดินที่มีอยู่ดีกว่าการปล่อยรกร้างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ จากการสำรวจพบว่าลูกค้าเวลธ์ส่วนใหญ่ถือครองที่ดินประมาณ 40-50% ของสินทรัพย์ทั้งหมด  และมีแผนที่จะส่งต่อที่ดินให้กับทายาทในรุ่นถัดๆ ไป จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวในรูปแบบของ Property Backed loan ที่ให้สินเชื่อเพื่อนำเงินกู้ที่ได้จากธนาคารมาลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยการจัดเป็น Asset Allocation ภายใต้การดูแลของทีมที่ปรึกษาด้านการเงิน พร้อมเลือกเฟ้นสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับลูกค้าบนความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี แม้จะหักดอกเบี้ยเงินกู้และชำระภาษีที่ดินแล้ว ยังมีโอกาสเพิ่มความมั่งคั่งให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าได้อีกด้วย นอกจากนี้ หากลูกค้าต้องการขายที่ดิน ก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมชำระก่อนกำหนด 

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า Property Backed Loan มุ่งเน้นในการสร้างผลตอบแทนที่ดี เพื่อนำเงินไปชำระภาษีที่ดินและดอกเบี้ยเงินกู้ โดยทีมที่ปรึกษาทางการเงิน จะแนะนำการจัดพอร์ตแบบ Asset  Allocation เพื่อกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย โดยพิจารณาทั้งเรื่องของกลุ่มประเทศ ตลาดภาคอุตสาหกรรม  และ Valuation ที่เหมาะสม โดยการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก (Mild Moderate, Moderate, และ Aggressive allocation) ตามผลตอบแทนที่คาดหวัง และความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้  

“การจัดพอร์ตให้กับลูกค้า  Property Backed Loan เน้นการสร้างกระแสเงินสดที่เข้ามาในแต่ละปี เราจะไม่ Take risk ที่มีความเสี่ยงมาก จะเน้นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ เพื่อให้เพียงพอที่ลูกค้าจะนำไปชำระภาษีที่ดิน ดอกเบี้ยเงินกู้ และมีผลตอบแทนกลับเข้ามาด้วย การจัด Asset  Allocation นอกจาก RM ที่คอยดูแลให้คำปรึกษากับลูกค้าแล้วยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในการเฟ้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ร่วมกับทีม Investment  consultant ช่วยกันวิเคราะห์กลยุทธ์ และคัดสรรผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ Asset Class ที่ตอบโจทย์ตามเป้าหมายของลูกค้า” ดร.กำพล กล่าว 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 เม.ย. 2565 เวลา : 10:02:57
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 8:21 pm