แบงก์-นอนแบงก์
ธ.ก.ส. พร้อมเดินหน้าลดความเสี่ยงในการผลิตให้เกษตรกร ผ่านโครงการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดสัตว์เลี้ยง ปีการผลิต 65


 

ธ.ก.ส.เปิดรับทำประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 ครอบคลุม 7 ภัยธรรมชาติและภัยศัตรูพืช วงเงินคุ้มครองข้าวนาปี 1,190 บาทต่อไร่และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1,500 บาทต่อไร่ วางเป้าหมายพื้นที่การเกษตรกว่า 30 ล้านไร่ โดยรัฐบาลร่วมสนับ สนุนค่าเบี้ยประกันให้ส่วนหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกซื้อประกัน ด้วยตนเองง่ายๆ เพียงคลิกแอปฯ BAAC Insure หรือติดต่อที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปีและโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกรและเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือจากภาครัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะให้ความคุ้มครองภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ภัย ได้แก่ น้ำท่วม หรือฝนตกหนัก/ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง/ลมพายุหรือ พายุไต้ฝุ่น/ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็งลูกเห็บ/ไฟไหม้ และช้างป่า และภัยศัตรูพืชและโรคระบาด แบ่งเป็นการ รับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยโดยภาคสมัครใจของเกษตร กร (Tier 2) นั้น ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารของรัฐพร้อมขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว โดยวางเป้าหมายพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 28 ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกข้าวโพดกว่า 2 ล้านไร่ ซึ่งมีรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้

โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565 ผู้เอาประกันต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งปรับข้อมูลเกษตรกับกรมส่งเสริมการเกษตร (ทบก.)ในปี การผลิต 2565/66 โดยรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนค่าเบี้ยประกัน 59.40 บาทต่อไร่เกษตรกร สามารถเลือกซื้อประกันขั้นพื้นฐานตามพื้นที่ความเสี่ยง (Tier 1) ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 99 บาทต่อไร่ พื้นที่ความเสี่ยงกลาง 199 บาทต่อไร่ และพื้นที่ความเสี่ยงสูง 218 บาทต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยมีวงเงินคุ้มครองสำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ภัย จำนวน 1,190 บาทต่อไร่ และกรณีศัตรูพืชและ โรคระบาด วงเงินความคุ้มครอง 595 บาทต่อไร่ พิเศษ! กรณีเกษตรกรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเพียง 99 บาท ในทุกพื้นที่ความเสี่ยง และทุกๆ ยอดสินเชื่อ 4,000 บาท ธ.ก.ส.จะสนับสนุน ค่าเบี้ยประกันให้ฟรี 39.60 บาท ซึ่งทำให้เกษตร กรลูกค้าสามารถทำประกันภัยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าเกษตรกรที่สนใจซื้อประกันภัยส่วนเพิ่ม (Tier 2) สามารถชำระค่าเบี้ยประกันได้ด้วยตนเอง ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 27 บาท ต่อไร่ พื้นที่ความเสี่ยงกลาง 60 บาทต่อไร่ และพื้นที่ความเสี่ยงสูง 110 บาทต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) วงเงินคุ้มครองเพิ่มอีก 240 บาท กรณีเกิด 7 ภัยธรรมชาติ และวงเงินคุ้มครองเพิ่ม 120 บาท กรณีโรคระบาด/ศัตรูพืช

โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 ผู้เอาประกันต้องเป็นเกษตร กรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งปรับข้อมูลเกษตรกับกรมส่งเสริมการ เกษตร (ทบก.) ในปีการผลิต 2565/66 โดยรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนค่าเบี้ยประกัน 96 บาทต่อไร่ เกษตรกรสามารถเลือกซื้อประกันตามพื้นที่ความเสี่ยง ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 150 บาทต่อไร่ พื้นที่ความเสี่ยงกลาง 350 บาทต่อไร่ และพื้นที่ความเสี่ยงสูง 550 บาทต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยมีวงเงินคุ้มครองสำหรับภัยธรรม ชาติทั้งหมด 7 ภัย จำนวน 1,500 บาทต่อไร่ และกรณีศัตรูพืชและ โรคระบาด วงเงินความคุ้มครอง 750 บาทต่อไร่ พิเศษ ! กรณีเกษตรกรลูกค้าที่ช้บริการสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเพียง 160 บาท ในทุกพื้นที่ความเสี่ยง และทุกๆ ยอดสินเชื่อ 4,000 บาท ธ.ก.ส. จะสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ฟรี 64 บาท ซึ่งจะทำ ให้เกษตรกรลูกค้าสามารถทำประกันภัยได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับเกษตรกรที่สนใจซื้อประกันภัยส่วนเพิ่ม (Tier 2) สามารถชำระค่าเบี้ยประกันได้ด้วยตน เอง ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 90 บาท ต่อไร่ พื้นที่ความเสี่ยงกลาง 100 บาทต่อไร่ และพื้นที่ความเสี่ยงสูง 110 บาทต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) วงเงินคุ้มครองกรณีเกิด 7 ภัยธรรมชาติเพิ่มอีก 240 บาท และกรณีโรคระบาด/ศัตรูพืช เพิ่มอีก 120 บาท ระยะเวลาแบ่งเป็น 2 รอบการผลิต ได้แก่ รอบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน สิ้นสุดการขอเอาประกันภัย 31 พฤษภาคม และรอบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (1 ตุลา คม 2565 – 15 มกราคม 2566)

นายธนารัตน์กล่าวต่อไปว่า กรณีเกิดภัยพิบัติหรือพื้นที่ดังกล่าวได้รับการประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ เกษตรกรผู้ ทำประกันภัยที่ได้รับความเสียหาย สามารถแจ้งความเสียหายได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ ซึ่งสำนักงานเกษตรอำเภอ จะส่งข้อมูลไปยังสมา คมวินาศภัย เพื่อประเมินข้อมูลความเสียหาย เมื่อตรวจสอบครบถ้วนแล้ว สมาคมฯ จะพิจารณาจ่าย ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไข ภายใน 15 วัน ผ่านระบบ ธ.ก.ส.โดยเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรโดยตรง อีกทั้งเกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลความเสียหายผ่านแอปพลิเคชั่น “มะลิซ้อน” เพื่อให้สมาคมวินาศภัยไทย พิจารณาให้ความช่วยเหลือ กรณีพื้นที่ภัยพิบัติอยู่นอกเขตประกาศตามเกณฑ์เพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ ในปีการผลิต 2564 ที่ผ่านมา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการข้าวนาปีจำนวน 3.66 ล้านราย พื้นที่รวมกว่า 43 ล้านไร่ โครงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 99,335 ราย พื้นที่รวมกว่า 1.59 ล้านไร่ โดยจ่ายค่าสินไหมทดแทนในโครงการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ให้เกษตรกรไปแล้ว 117,565 ราย จำนวนเงินกว่า 1,553 ล้านบาท คิดเป็นพื้นที่การเกษตรกว่า 1.27 ล้านไร่

การประกันภัยถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้านการผลิตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสถาน การณ์การเปลี่ยนแปลง ด้านภูมิอากาศโลกที่มีแนวโน้มรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงขอเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและลดผลกระทบจากภัยพิบัติต่าง ๆ และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สำหรับเกษตร กรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. จะได้รับประกันภัยฟรี โดยการสนับสนุนของรัฐ บาลและ ธ.ก.ส. และจะได้รับการคุ้มครองโดยไม่ต้องมาติดต่อธนาคาร ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิการทำประกันภัยหรือซื้อประกันภัยเพิ่มเติมอีกได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น “BAAC Insure” โดยดาวน์โหลดได้ผ่านระบบ IOS และ Android หรือเพียงนำบัตรประชาชนไปติดต่อ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ก็สามารถซื้อประกันได้เลยทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center 02 555 0555 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www. baac.or.th นายธนารัตน์กล่าว


LastUpdate 04/05/2565 20:31:29 โดย : Admin
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 11:52 pm