การค้า-อุตสาหกรรม
คลังเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2565


“เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในภาคตะวันออกและภาคตะวันตก อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเนื่องจากความกังวลต่อค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น”

 
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2565 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในภาคตะวันออกและภาคตะวันตก อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเนื่องจากความกังวลต่อค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น” โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
 
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 41.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.3 และ 17.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.6 แต่ชะลอลงร้อยละ -43.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับ ด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,581.3 และ1,975.5 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.2 และ 104.8 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.7 และ 109.4 ตามลำดับ
 
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
 
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 20.2 และ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 32.7 และ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ แต่ชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.7 และ -1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงที่ร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอลงร้อยละ -68.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ในจังหวัดราชบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,752.8 และ 1,457.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 39.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.1
 
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคสะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 15.4 13.9 และ 10.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -9.3 และ -36.7 ตามลำดับ แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 1.5 และ 20.6 ตามลำดับ ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 806.5 และ 1,293.3 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 38.3 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 38.9
 
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 13.8 22.8 และ 15.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอลงร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,341.2 และ 1,399.3 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 39.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.1
 
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 6.0 22.7 และ 20.9 ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 1.8 และ 3.8 ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 3,463.6 และ 7,136.3 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 36.8 และ 74.7 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 37.3 และ 83.4 ตามลำดับ
 
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
 
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 17.4 10.9 และ 27.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 137.9 ด้วยเงินทุน 0.4 พันล้านบาท จากโรงงานโรงงานผลิตแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ในจังหวัดเชียงราย และโรงงานสี ฝัด หรือขัดเมล็ดพืช ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอลงร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี แต่ชะลอลงร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 662.4 และ 784.1 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.3 และ 59.3 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.8 และ 62.2 ตามลำดับ
 
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 10.5 14.3 และ 22.4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 1.0 และ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 853.3 และ 993.3 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 44.7 และ 75.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.1 และ 79.4 ตามลำดับ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 29 มิ.ย. 2565 เวลา : 12:51:09
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 1:07 am