เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บทวิเคราะห์ TMB Analytics 5 พืชเศรษฐกิจ ชี้จำเศรษฐกิจภูมิภาค


ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินมูลค่าพืชเศรษฐกิจสำคัญ 5 อันดับแรก คือ ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลังและปาล์มน้ำมัน พบว่า ปี  2561 มีมูลค่ารวมกว่า 7.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.3 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 3.2

 

 

โดยมันสำปะหลังน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจดาวเด่นใน 2561 โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.90 บาท/กก. เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เทียบกับราคาเฉลี่ยปีก่อน จากความต้องการจากคู่ค้ารายใหญ่อย่างประเทศจีนยังมีต่อเนื่องเพื่อผลิตเอทานอลและสต๊อกข้าวโพดของรัฐบาลจีนที่คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนค่อนข้างมาก และปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังที่ลดลงจากปีก่อนจากการลดพื้นที่เพาะปลูก

 

 

ข้าว ถือเป็นพืชเกษตรที่มีแนวโน้มราคาสดใสปีนี้ โดยคาดว่าราคาข้าวเปลือกเฉลี่ยปี 2561 อยู่ที่ 7,950 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 จากปริมาณการซื้อจากต่างประเทศที่มีมากตั้งแต่ต้นปี ดันยอดส่งออกข้าวต้นปีสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ราคาข้าวในประเทศไม่ถูกกดดันจากโครงการประมูลข้าวจากสต๊อกของรัฐบาลเหมือนช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาปีนี้มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังปี 2561 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และการเร่งส่งออกข้าวของเวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่เป็นปัจจัยที่อาจกดดันราคาข้าวช่วงที่เหลือของปี

 

 

ยางพารา เป็นพืชเกษตรสำคัญอันดับที่ 2 มีแนวโน้มราคาอ่อนตัวเทียบกับปีที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบชั้น 3 ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมปีก่อนจนถึงปัจจุบัน โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยปี 2561อยู่ที่ 52.0 บาท/กก. ลดลงร้อยละ 9.6 เนื่องจากสต๊อก ยางพาราของจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าสำคัญ ยังคงอยู่ในระดับปกติ ผนวกกับปริมาณผลผลิตยางพาราไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากปีก่อน โดยคาดว่ามาตรการเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศและมาตรการลดปริมาณผลผลิตและปริมาณส่งออกของรัฐบาล รวมถึงความร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ น่าจะช่วยให้ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากราคาประมาณ 40-43 บาท/กก.ในขณะนี้

อ้อย เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่ทิศทางราคาปรับตัวลดลงจากปีก่อน คาดว่าราคาเฉลี่ยอ้อย ปี 2561อยู่ที่ 800 บาท/ตัน ลดลงร้อยละ14.4 ปีก่อน เพราะราคาน้ำตาลตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5 เซนต์/ปอนด์ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่สูงถึง 20 เซนต์/ปอนด์ ขณะที่ปริมาณผลผลิตอ้อยในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกำลังอยู่ในช่วงปรับราคาน้ำตาลเป็นราคาลอยตัวตามราคาตลาด ภาครัฐจึงควรเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้บริโภคและเกษตรกรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

 

 

ปาล์ม ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ แนวโน้มราคาปีนี้อาจไม่สดใสนัก คาดว่าราคาปาล์มเฉลี่ยอยู่ที่ 3.70 บาท/กก. ลดลงร้อยละ 8.8 จากปีก่อน เนื่องจากสต๊อกน้ำมันปาล์มในประเทศที่สูงขึ้น ประกอบกับปริมาณผลผลิตปาล์มปีนี้ที่คาดว่าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1.2 ล้านตันหรือร้อยละ 9.1 ซึ่งจะกดดันการปรับเพิ่มของราคาปาล์มน้ำมันในปีนี้ มาตรการภาครัฐฯ ที่เน้นส่งเสริมการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศ รวมถึงอนุญาตให้ส่งออกน้ำมันปาล์มได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี น่าจะช่วยพยุงราคาปาล์มได้ในระดับหนึ่ง

แม้ว่าราคายางพารา อ้อย และปาล์มน้ำมันจะมีทิศทางราคาไม่สดใสนัก แต่เนื่องจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะสามารถชดเชยผลของราคาที่ลดลง ทำให้มูลค่าของ 5 พืชเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 3.3 หมื่นล้านบาท ถือเป็นเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภูมิภาคเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้อานิสงส์จากราคามันสำปะหลังและข้าว ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่น่าจะคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา โดยจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากพืชเศรษฐกิจและคาดว่ากำลังซื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นได้แก่ อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ เชียงรายและพิษณุโลก เป็นต้น

กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรในพื้นที่ข้างต้น จะส่งผลดีต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น ธุรกิจค้าปุ๋ยและเคมีเกษตร เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิต อีกด้านหนึ่งเกษตรกรจะมีกำลังจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งสินค้าอุปโภค/บริโภค วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดยรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะทำให้แนวโน้มการซื้อสินค้าคงทน / สินค้าราคาสูง เช่น จักรยานยนต์ รถยนต์ มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป เพราะเกษตรกรมีความมั่นใจในรายได้สูงขึ้น

ราคาสินค้าและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกำลังซื้อและทิศทางเศรษฐกิจภูมิภาคไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยกำหนดราคาส่วนใหญ่มาจากผู้ซื้อในตลาดโลก ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ผันผวนและส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจภูมิภาค ภาครัฐจึงควรมีนโยบายส่งเสริมการผลิตพืชชนิดอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพิงพืชเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ชนิดมากเกินไป พร้อมกับเพิ่มปริมาณการใช้ในประเทศเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออก ส่วนเกษตรกรควรรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ เนื่องจากเกษตรกรสามารถเข้าถึงและขายผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสสร้างรายได้และความมั่นคงให้กลุ่มเกษตรมากขึ้น  


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 14 มี.ค. 2561 เวลา : 15:57:57
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

4. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

7. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

12. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

14. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 7:25 pm