เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2018 พุ่ง 4.8%YOY อีไอซีมองทั้งปีโตมากกว่า 4%


สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 1 ปี 2018 ขยายตัว 4.8%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าหรือเติบโต 2.0% หากเทียบกับไตรมาสก่อนแบบปรับฤดูกาล

การส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวหนุนเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกมูลค่าการส่งออกสินค้าที่แท้จริงในรูปเงินบาทในไตรมาส 1 ขยายตัวได้ที่ 4.7%YOYต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ตามกำลังซื้อจากต่างประเทศที่ขยายตัวได้ดี โดยเป็นการขยายตัวในสินค้าหลายหมวดสำคัญ ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และอาหารและเครื่องดื่ม ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวก็ยังคงเป็นแรงสนับสนุนให้กับเศรษฐกิจไทย โดยการส่งออกภาคบริการในไตรมาส 1 ขยายตัวกว่า 9.4%YOYตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตกว่า 15%YOY โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวสูงถึง 30%YOY

ยอดขายรถดันการบริโภคภาคเอกชนโตต่อเนื่อง สำหรับการบริโภคภาคเอกชนเติบโต 3.6%YOY นำโดยสินค้าคงทนที่เติบโต 9.4%YOY ซึ่งหมวดที่โตอย่างโดดเด่นในไตรมาสแรกคือรถยนต์นั่งที่มียอดขายเป็นจำนวนคันเพิ่มขึ้น14.8%YOY  ขณะที่การเติบโตของการบริโภคในกลุ่มสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนซึ่งเป็นตัวแทนการบริโภคของครัวเรือนส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่2.4%YOY และ 2.0%YOY ตามลำดับ 

การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัว โดยการบริโภคภาครัฐเติบโต4.3%YOY และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.0%YOY โดยมาจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวเป็นหลัก ขณะที่การลงทุนของรัฐบาลยังหดตัวที่ 0.3%YOYสะท้อนถึงผลกระทบของพระราชบัญญัติ (...) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 ต่อการเบิกจ่ายของหน่วยงานภาครัฐที่ยังคงมีอยู่

 

 

ภาคเอกชนขยายการลงทุนต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกของปี 2018 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.1%YOY โดยนอกจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนแล้ว การลงทุนในสิ่งก่อสร้างก็กลับมาขยายตัวได้3.4%YOY หลังจากไตรมาสก่อนหดตัว โดยมาจากการเร่งขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลัก

GDP ไตรมาส 1 ปี 2018 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ อีไอซีประเมินมีโอกาสสูงที่ GDP ทั้งปีจะโตมากกว่า 4.0% GDP ไตรมาสแรกที่ประกาศออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด (รวบรวมโดยสำนักข่าว Bloomberg) ที่3.9% ค่อนข้างมาก โดยเป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นในทุกหมวดสำคัญ อีไอซีมองว่าข้อมูลที่ออกมาดีเป็นสัญญาณของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงมากขึ้นทั้งในด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชนและภาครัฐ โดยเฉพาะในด้านการลงทุนที่มีสัญญาณการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่ประเมิน อีไอซีคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีเศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงส่งต่อเนื่องจากหลายปัจจัย นำโดยกำลังซื้อจากต่างประเทศทั้งการส่งออกสินค้าและการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีโมเมนตัมการขยายตัวที่แข็งแรงมาตั้งแต่ช่วงต้นปี ทั้งนี้ แรงส่งจากต่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐที่เริ่มฟื้นตัวจะมีส่วนช่วยทำให้การลงทุนภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวได้ดีกว่าปีที่แล้วจากการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนที่ยังเติบโตดี ประกอบกับการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ทั้งนี้ ประมาณการการเติบโตเดิมของอีไอซีที่ 4.0% มีโอกาสสูงที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางการขยายตัวดีกว่าที่คาด

การกระจุกตัวของการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนเริ่มคลี่คลายและมีสัญญาณบวกสำหรับในระยะต่อไป ในช่วงที่ผ่านมาการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตด้วยสินค้าคงทนที่ขยายตัวสูง ขณะที่สินค้าไม่คงทนขยายตัวต่ำสะท้อนให้เห็นถึงการกระจุกตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนที่มีการพึ่งพากลุ่มผู้มีรายได้สูงมาโดยตลอด สาเหตุมาจากรายได้ของครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยถึงปานกลางได้รับผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรที่ลดลงและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล GDP ที่ประกาศออกมา การกระจุกตัวดังกล่าวเริ่มคลี่คลายลงบ้าง หลังการใช้จ่ายทั้งในหมวดสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนเร่งตัวขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดยังสะท้อนถึงสัญญาณบวกจากรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้า เช่น รายได้ภาคเกษตรที่เริ่มกลับมาขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.9%YOY ในเดือน เม.. หลังจากหดตัวมา 9 เดือนติดต่อกัน อัตราการว่างงานเดือน เม.. ที่ลดลงมาอยู่ที่1.1% จากต้นปีที่อยู่ที่ 1.3% จากจำนวนการจ้างงานที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.5%YOY ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน อีกทั้งค่าจ้างเฉลี่ยนอกภาคเกษตรของลูกจ้างคนไทยแบบปรับฤดูกาลก็ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นทุกเดือนเฉลี่ย 3.9%YOY ในไตรมาสแรก นำโดยสาขาธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมากอย่าง ภาคอุตสาหกรรม ค้าส่งค้าปลีก และโรงแรมและร้านอาหาร โดยทั้ง 3 สาขาจ้างงานรวมกันราว 15 ล้านคน อย่างไรก็ดี แม้ในฝั่งรายได้จะเริ่มเห็นสัญญาณบวก แต่ครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยและปานกลางยังคงมีปัญหาภาระหนี้ จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ในปี 2017 พบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยและปานกลาง ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้การกลับมาเพิ่มการใช้จ่ายของครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวในระยะต่อไปเกิดขึ้นได้ไม่เร็วนัก

ความเสี่ยงภายนอกกระทบไทยไม่มาก แต่ควรจับตาตลอดทั้งปี อีไอซีประเมินความเสี่ยงจากภายนอกที่สำคัญ 3 ประการอันประกอบไปด้วย การแข็งค่าของเงินบาท นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และความผันผวนทางการเงินอันเป็นผลมาจากนโยบายการเงินโลกที่ตึงตัว พบว่า ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงในช่วงที่ผ่านมายังมีจำกัด สำหรับประเด็นการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้ในรูปเงินบาทของผู้ส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี แต่ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.. ที่ผ่านมาเงินบาทเริ่มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องทำให้แรงกดดันในส่วนนี้คลี่คลายลงบ้าง ขณะที่ผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่มีต่อไทยยังมีไม่มาก เพราะสินค้าที่ได้รับผลกระทบ เช่น เครื่องซักผ้า ผลิตภัณฑ์เหล็ก ยังสามารถกระจายความเสี่ยงไปส่งออกตลาดอื่นๆ ได้ ในส่วนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศที่สูงขึ้น ทำให้ภาวะการเงินของไทยตึงตัวขึ้นบ้างแต่ไม่กระทบภาคเศรษฐกิจจริงมากนัก เนื่องจากสภาพคล่องในประเทศยังมีอยู่มากและพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังเข้มแข็ง อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าความเสี่ยงดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะยังมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในภาคการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีได้ ทั้งนี้ ต้องจับตาดูความคืบหน้าประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ หลังจากมีการชะลอการขึ้นภาษีนำเข้าระหว่างสองประเทศไว้ชั่วคราวและทั้งสองประเทศจะมีการเจรจาการค้าต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รวมถึงความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินโลกและทิศทางค่าเงินบาทที่ยังมีความผันผวนสูง


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 พ.ค. 2561 เวลา : 15:34:20
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

2. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

3. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ 2,330 เหรียญ

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) ร่วง 67.40 เหรียญ แห่เทขายทอง หลังคลายกังวลความตึงเครียดอิหร่าน - อิสราเอล

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) บวก 253.58 จุด รับแรงช้อนซื้อหลังหุ้นตกหนัก -จับตาผลประกอบการบริษัทเทคฯรายใหญ่

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (23 เม.ย. 67) ร่วงแรง 850 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,050 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (23 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์

11. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคใต้ ฝนฟ้าคะนอง 20-30% กรุงเทพปริมณฑลและภาคอื่นๆ ฝน 10% / อุตุฯเตือน 24-25 เม.ย.มีพายุฤดูร้อน

12. ตลาดหุ้นไทยเปิด (23 เม.ย.67) บวก 5.89 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,355.41 จุด

13. พรุ่งนี้ น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ทุกชนิด และพรีเมี่ยม GSH95 ลดลง 0.40 บาทต่อลิตร

14. ตลาดหุ้นปิด (22 เม.ย.67) บวก 17.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,349.52 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (22 เม.ย.67) บวก 15.02 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,347.10 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 8:39 am