เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ (EIC In Focus) เรื่อง จับสัญญาณหนี้ครัวเรือนไทย


อีไอซีพบว่าหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนยังคงสูงขึ้นในช่วงปี 2015-2017 แต่คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในปี 2018 

สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนในช่วงปี 2015-2017 ไม่ได้ลดลงอย่างที่แสดงในสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP  แม้ว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะลดลงเล็กน้อยในช่วงปี 2016-2017 ซึ่งทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าสถานการณ์หนี้ของครัวเรือนไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่จากการวิเคราะห์ของอีไอซีจากข้อมูลการสำรวจครัวเรือนล่าสุดกลับให้ภาพตรงกันข้าม สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนที่มีหนี้ในทุกกลุ่มรายได้เพิ่มขึ้นจาก 83% ในปี 2015 เป็น 95% ในปี 2017 หรือเพิ่มขึ้น 12% โดยสาเหตุมาจากมูลค่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นและรายได้ของครัวเรือนที่ลดลง ยกเว้นในกลุ่มครัวเรือนรายได้สูงที่รายได้ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ยังต่ำกว่ามูลค่าหนี้ที่เพิ่มขึ้น

ครัวเรือนรายได้น้อยน่ากังวลกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น จากสัดส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ที่สูง และความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลง ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน อยู่ในสถานะที่น่ากังวลกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากสัดส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ที่เติบโตสูงและอยู่ที่ 108% ในปี 2017 ซึ่งหมายความว่า แม้ครัวเรือนจะแปลงสินทรัพย์ทั้งหมดมาชำระหนี้ ก็ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดนอกจากนี้ ครัวเรือนในกลุ่มรายได้นี้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงมากที่สุด โดย Debt Service Ratio (DSR) เพิ่มจาก 35% ในปี 2015 เป็น 38% ในปี 2017 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่มากกว่าครัวเรือนในกลุ่มรายได้อื่นๆ โดย DSR ที่สูงขึ้นของครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน มาจากการกู้ยืมที่มากขึ้น และรายได้ที่ไม่ขยายตัว

 


 

มีเพียงสถานะทางการเงินของครัวเรือนที่ไม่มีหนี้ในกลุ่มรายได้มากกว่า 50,000 บาท/เดือน ที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วง 2015-2017 ครัวเรือนที่ไม่มีหนี้และมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท/เดือน ยังมีสถานะทางการเงินที่ดี โดยมีรายได้ สินทรัพย์ทางการเงิน และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความต้องการที่จะกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการลงทุน โดยมีถึง 31% ของครัวเรือนที่ไม่มีหนี้ในกลุ่มรายได้มากกว่า 50,000 บาท/เดือน ที่มีความต้องการจะกู้ยืมเงินแต่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้

อย่างไรก็ดี สถานการณ์หนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 น่าจะคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น อีไอซีคาดว่า ในปี 2018 รายได้ของครัวเรือนโดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยรายได้ภาคเกษตรขยายตัวที่ 10.3%YOY ในเดือนพฤษภาคม[1] และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และราคาผลผลิตที่ดีกว่าปีก่อนหน้า ประกอบกับค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรที่ขยายตัวเฉลี่ย 4.2%YOY ในเดือนเมษายน 2018 นอกจากนี้ จำนวนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนหลังจากที่หดตัวมาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อการบรรเทาปัญหาการแบกรับภาระหนี้ครัวเรือนในปี 2018


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 09 ก.ค. 2561 เวลา : 15:09:03
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

4. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

7. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

12. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

14. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 6:06 pm