เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ปัญหาคอร์รัปชันไทย อุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ


 Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชนวิเคราะห์สถานการณ์คอร์รัปชันของไทยในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาว่าปรับแย่ลงดัชนีมาตรฐานการควบคุมคอร์รัปชัน (Control of corruption index: CCI) ที่จัดทำโดย World Bank บ่งชี้ว่าในปี 2017 ไทยได้คะแนน -0.39 (อยู่อันดับที่ 120 จากทั้งหมด 209 ประเทศ) ปรับตัวแย่ลงจากปี 1996 ที่ไทยได้ -0.36 คะแนน (อยู่อันดับที่ 103 จากทั้งหมด 187 ประเทศ) ซึ่งดัชนี CCI มีค่าอยู่ระหว่าง -2.5 ถึง 2.5 โดยคะแนนที่ติดลบนั้นบ่งชี้ถึงมาตรฐานการควบคุมคอร์รัปชันไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก นอกจากนี้ การจัดอันดับโดยองค์กร Transparency International ยังพบว่า ภาพลักษณ์ด้านคอร์รัปชันของไทยก็ปรับแย่ลงเช่นกัน โดยในปี 2018 ไทยได้  36 คะแนน (อยู่อันดับที่ 99 จากทั้งหมด 180 ประเทศ) ลดลงจากในปี 2012  ที่ไทยได้ 37 คะแนน (อยู่อันดับที่ 90 จากทั้งหมด 175 ประเทศ) ซึ่งคะแนนมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 โดยคะแนนยิ่งสูงหมายถึงประเทศนั้นมีคอร์รัปชันต่ำ


ปัญหาด้านคอร์รัปชันส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในประเทศต่างๆรวมถึงไทยได้หลายช่องทาง ทั้งรายได้ภาครัฐที่ลดลงการใช้จ่ายภาครัฐที่ด้อยประสิทธิภาพ การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนที่ทำได้ยากขึ้นและการลดแรงจูงใจของการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะในด้านงานวิจัยนวัตกรรมจากงานศึกษาของ IMF เดือนเมษายน 2019 พบว่าประเทศที่มี GDP per capita สูงมักเป็นประเทศที่มีคอร์รัปชันต่ำ สอดคล้องกับงานวิจัยส่วนใหญ่ที่พบว่าคอร์รัปชันส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการลดปัญหาคอร์รัปชันจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งในการพัฒนาไปสู่ประเทศรายได้สูง
 
ซึ่งอีไอซีมองว่าปัญหาคอร์รัปชันส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ 3 ช่องทาง คือ 1) คอร์รัปชันทำให้รายได้ของภาครัฐน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากการติดสินบนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีทำให้ภาครัฐเก็บภาษีได้น้อยและทำให้ประชาชนไม่มีแรงจูงใจในการจ่ายภาษีเต็มตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยการศึกษาของ IMF พบว่าประเทศที่คอร์รัปชันต่ำจะมีรายได้ภาครัฐสูงกว่าประเทศที่มีคอร์รัปชันสูงเฉลี่ยประมาณ 2.8-4.5%ของGDP ซึ่งรายได้ภาครัฐที่ลดลงทำให้มีเม็ดเงินลงทุนน้อยลงสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพ จึงส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและเพิ่มความเหลื่อมล้ำในระยะยาว
 
2) คอร์รัปชันลดประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ โดย IMFพบอีกว่าประเทศที่คอร์รัปชันสูงมักมีการใช้จ่ายภาครัฐต่อหนึ่งโครงการสูงกว่าประเทศที่มีคอร์รัปชันต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและพลังงาน มีความเสี่ยงที่จะมีการติดสินบนมากที่สุดและยังพบว่าการคอร์รัปชันส่งผลให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจย่ำแย่ลงทั้งในแง่ของผลกำไรและประสิทธิภาพการดำเนินงาน
 
นอกจากนี้การดำเนินงานภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพยังทำให้คุณภาพการศึกษาด้อยลง สะท้อนจากคะแนนผลสอบนานาชาติที่ต่ำ โดยในกรณีของไทยผลสอบPISA ในปี 2015อยู่เพียงอันดับที่ 55 จาก 72 ประเทศ แม้จะมีการจัดสรรงบเพื่อการศึกษาค่อนข้างมากก็ตาม
 
3) คอร์รัปชันเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจและการลงทุน เพราะมักก่อให้เกิดการผูกขาดผ่านการกีดกันผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดและทำให้ภาคเอกชนไม่มีแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพราะการสร้าง connection ผ่านการคอร์รัปชันทำได้ง่ายกว่า โดยผลสำรวจของWorld Economic Forum พบว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็น 1 ใน 5 อุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเทศ ASEAN รวมถึงไทยทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นและบั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุน นอกจากนี้OECDยังพบอีกว่าคอร์รัปชันทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย

แนวทางการลดปัญหาคอร์รัปชันนั้นสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการยกระดับธรรมาภิบาลภาครัฐ การเพิ่มความโปร่งใสด้านข้อมูล ซึ่งช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากขึ้น และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ เมื่อพิจารณากรณีศึกษาในต่างประเทศและบริบทของไทยพบว่าการลดปัญหาคอร์รัปชันสามารถทำได้โดย 1) ยกระดับธรรมาภิบาลของภาครัฐ เพิ่มความชัดเจนและลดความซับซ้อนของกรอบกฎหมาย เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจ (Discretion) ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายที่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมอย่างจริงจัง
 
นอกจากนี้การบริหารรัฐวิสาหกิจควรเป็นไปอย่างมืออาชีพและไม่ถูกแทรกแซงทางการเมือง ตัวอย่างการยกระดับธรรมาภิบาลของภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น Public Governance, Performance and Accountability Act ของออสเตรเลียที่ออกมาในปี 2013 ได้ให้อำนาจ Accountable authority เป็นผู้ควบคุมการทำงานหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพ และมีระบบประเมินความเสี่ยงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้ภาครัฐมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
 
2) เพิ่มความโปร่งใสด้านข้อมูลและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลรายรับ/รายจ่าย และรายละเอียดโครงการของภาครัฐในทุกระดับ โดยเฉพาะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง อีกทั้งปรับปรุงกฎหมายที่ลดทอนสิทธิเสรีภาพในการตรวจสอบของประชาชนและสื่อมวลชน โดย IADB (2018) พบว่าการให้ประชาชนติดตามความคืบหน้าโครงการรัฐได้จะช่วยเพิ่มการร้องเรียนการคอร์รัปชัน และทำให้โครงการมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น 3) ใช้เทคโนโลยีร่วมสร้างระบบการตรวจสอบ เช่น สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ Crowdsourcing เพื่อให้ประชาชนรายงานการคอร์รัปชันได้ง่ายและในต้นทุนที่ต่ำใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และท้ายสุดอาจประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain สำหรับบันทึกข้อมูลภาครัฐ เช่น การออกโฉนดที่ดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบิดเบือนและติดตามข้อมูลได้ง่าย
 

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 มิ.ย. 2562 เวลา : 20:04:23
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

2. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

7. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

12. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

13. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 7:56 pm