หุ้นทอง
จัดการ"การเงิน"เพื่อเอาชีวิตรอดในช่วงวิกฤติ COVID -19


การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น ยอมรับว่าส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนและเริ่มเห็นภาพของหลากหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เริ่มปรับลดจำนวนพนักงาน ลดวันทำงาน ปรับลดเงินเดือนหรือขอความร่วมมือให้พนักงานลาโดยไม่รับเงินเดือน (Leave without Pay) หยุดกิจการชั่วคราว รวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระก็เริ่มขาดรายได้ ซึ่งไม่รู้วิกฤติครั้งนี้จะกินระยะเวลานานเท่าใด ผลกระทบรุนแรงแค่ไหนและจะกลับมาสู่ปกติได้เมื่อไหร่ พิษของ COVID-19 รอบนี้ ทำให้หลายๆคนมีความกังวล รู้สึกถึงความเสี่ยงในการถูกออกจากงาน รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านรายได้ที่ลดลง

 

 
 
 
มิสเตอร์ตลาดหลักทรัพย์ฯและคุณธีรพัฒน์ มีอำพล ฝากบอกว่า ดังนั้นการบริหารจัดการเงินในภาวะอย่างนี้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับภาวะวิกฤติจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อประคองชีวิตให้รอดผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ นั่นก็คือ 5 ขั้นตอน เอาตัวรอดในภาวะวิกฤติ COVID-19
 
เริ่มที่คุณต้องสำรวจสินทรัพย์ เงินสำรองฉุกเฉิน โดยเริ่มสำรวจสินทรัพย์ที่มีทั้งหมด เพื่อดูว่าเรามีสินทรัพย์อะไรบ้าง และอยู่ที่ใด สินทรัพย์ที่เราสำรวจ ก็คือ เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน ประกันชีวิต บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ของใช้ส่วนตัว เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น กองทุนรวม หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ ฯลฯ

โดยสำรวจเพื่อ แบ่งกลุ่มออกเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและไม่มีสภาพคล่อง เพื่อประเมินว่าสินทรัพย์ใดที่พอจะแปลงเป็นสภาพคล่องหรือเปลี่ยนเป็นเงินได้เร็ว โดยใช้มูลค่าสินทรัพย์ในปัจจุบัน หากเราต้องการแปลงสภาพเป็นเงินในทันที เพื่อดูว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างน้อยกี่เดือนจากเงินที่มี ในกรณีที่ไม่มีรายได้เข้ามา
 
ในกรณีที่มีเงินสดสำรองไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในระยะเวลา 3 - 6 เดือน ลองหาหนทางเพิ่มกระแสเงินสด เช่น รีบขอคืนภาษีเงินได้หรือขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นและไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตออกไปบ้าง
 
จากนั้นคุณก็จัดการเรื่องหนี้สินไม่ให้เป็นภาระ โดยบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสม สรุปหนี้สินทั้งหมดที่คุณมีไม่ว่าจะหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต มีมูลค่าคงเหลืออยู่เท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยเป็นเท่าใดและมีภาระที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร
 
ในกรณีที่คุณมีรายได้ลดลงหรือขาดรายได้ คุณยังสามารถผ่อนชำระไหวหรือไม่ วางแผนการชำระหนี้ให้เรียบร้อย เพราะการไม่จ่ายหรือจ่ายช้าจะมีผลกระทบต่อเครดิตในอนาคต
 
หากประเมินแล้วไม่สามารถผ่อนชำระได้จริงๆควรรีบติดต่อ พูดคุยกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ หาทางออกร่วมกัน เพื่อช่วยให้มีสภาพคล่องผ่านสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ไปได้ ทำให้เงินออมที่มีลดลงช้าที่สุด โดยเตรียมหลักฐานไปยืนยันให้เจ้าหนี้เห็นว่ารายรับเราลดลงจนไม่สามารถผ่อนชำระได้จริงๆ
 
ยิ่งในช่วงนี้หากคุณมีปัญหารายได้ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 หลายๆสถาบันการเงินมีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ลดดอกเบี้ย ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระเงินกู้ พักชำระหนี้ชั่วคราว พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ฯลฯ
 
ต่อจากนั้น คุณก็ทำงบประมาณควบคุมการใช้จ่าย โดยวางแผนการเงินด้วยการทำงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายในอีก 6 - 12 เดือนข้างหน้า

กำหนดสมมติฐานว่า หากสถานการณ์ยังอยู่แบบนี้ไปอีก 3 - 6 เดือน หากคุณต้องออกจากงานแล้วขาดรายได้หรือมีรายได้ลดลง ลองประเมินรายได้และนำไปเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าสมาชิกฟิตเนส ฯลฯ หักลบแล้วมีกระแสเงินสดสุทธิเท่าไร เพียงพอหรือไม่
 
หากกระแสเงินสดติดลบก็ต้องมาดูว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ค่าใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดทิ้งออกไปได้ เพื่อให้มีส่วนต่างหรือกระแสเงินสดกลับมาทุกเดือน
 
ควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนและคุณอย่าลืมพูดคุยกับคนในครอบครัวให้เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีส่วนใดช่วยกันได้ ค่าใช้จ่ายส่วนใดลดได้ก็ขอให้ลด เพื่อลดกระแสเงินสดจ่ายออกให้ต่ำลง เพราะไม่มีใครรู้ว่าสภาวะนี้จะอยู่นานขนาดไหน
 
นอกจากนี้คุณก็ต้องใช้จ่ายอย่างมีสติ หยุดฟุ่มเฟือย ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ถ้าสิ่งที่คุณกำลังจะซื้อไม่จำเป็นจริงๆ ณ เวลานี้ อยากให้คุณอย่าเพิ่งรีบซื้อ เพราะในยามนี้คุณต้องลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ งดกิจกรรมการท่องเที่ยว สังสรรค์หรือช้อปปิ้ง

โดยให้แต่ละเดือนเหลือเพียงรายจ่ายที่จำเป็นจะได้เหลือเงินเพิ่มมากขึ้น ในช่วงนี้อย่าพยายามทำอะไรที่จะต้องมีภาระหนี้สินตามมา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่อะไรที่ชะลอได้หรือเลื่อนได้ แนะนำให้เลื่อนออกไปก่อน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ เพราะจะสร้างภาระในอนาคตในภาวะ ที่รายได้คุณมีเข้ามาไม่แน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตราย
 
และสุดท้ายคุณควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยคุณควรใช้โอกาสนี้ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อจะช่วยเพิ่มพูนทักษะและความสามารถให้กับตัวคุณเอง รวมไปถึงหาช่องทางในการสร้างรายได้เสริม
 
ปัจจุบันนี้มีการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีให้คนทั่วไปได้เข้าไปศึกษาหาความรู้จำนวนมาก บางแห่งเมื่อเรียนจบแล้ว คุณยังได้รับใบประกาศนียบัตรอีกด้วย เมื่อทุกอย่างกลับสู่สภาวะปกติ คนที่มีความรู้ความสามารถก็จะได้รับโอกาสที่มา
สำหรับบทเรียนจากวิกฤติที่มีเข้ามาอย่างหลากหลาย ดังนั้นคุณต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้และปรับตัว วางแผนการใช้ชีวิตและการใช้เงินให้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อเอาตัวรอดผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 01 เม.ย. 2563 เวลา : 15:52:10
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

4. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

7. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

12. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

14. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 4:40 am