เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมิถุนายน ปรับดีขึ้น


นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2563 ปรับดีขึ้น จากเดือนก่อน จากการทยอยผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น  โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำ เครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน  และการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวทั้งรายจ่ายประจำและ รายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวหดตัวสูงต่อเนื่อง จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังคงมีอยู่

 
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานติดลบ สอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่ในส่วนของตลาดแรงงาน จำนวนผู้ว่างงานยังเพิ่มสูงขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดใกล้สมดุล ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และด้านหนี้สิน
 
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
 
 
 
มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 24.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน หดตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่หากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าการส่งออกหดตัวลดลงที่ร้อยละ 18.4 น้อยลงมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 29.0 ในเดือนก่อน ตามการส่งออกที่ปรับดีขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นตามการทยอยเปิดเมืองของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี อัตราการหดตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้ายังอยู่ในระดับสูง สะท้อนรายได้ของประเทศคู่ค้าที่ยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ หมวดสินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบ 
 
 
 
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อน โดยการใช้จ่ายปรับดีขึ้นในทุกหมวด เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ประชาชนออกมาใช้จ่าย มากขึ้น ประกอบกับได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากมาตรการเยียวยาของภาครัฐ อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ การบริโภคภาคเอกชนยังคงหดตัวสูง สอดคล้องกับปัจจัยด้านรายได้และความเชื่อมั่นที่ยังคงอ่อนแอ ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลงในเกือบทุกหมวดสินค้าสอดคล้องกับการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น 
 
 
 
 
 
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อน ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ปรับดีขึ้น ทั้งยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ยอดจดทะเบียนรถยนต์ และการนำเข้าสินค้าทุน ขณะที่การลงทุนหมวดก่อสร้างหดตัวสูงขึ้นตามยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวสูง สอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอ กำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังอยู่ ในระดับสูง และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่แม้ปรับดีขึ้นบ้างแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ
 
 
มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ 18.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนในทุกหมวดสินค้าสำคัญ ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง  และสินค้าทุน ส่วนหนี่งเป็นผลของฐานที่ต่ำในระยะเดียวกันของปีก่อน และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น
 
 
 
 
การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยรายประจำขยายตัวเล็กน้อยตามการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ส่วนรายจ่ายลงทุนขยายตัวสูงตามการเบิกจ่ายของรัฐบาลกลางเพื่อซ่อมบำรุงถนนเป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจหดตัว  
 
 
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 100 จากระยะเดียวกันปีก่อน  จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 
 
 
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังติดลบต่อเนื่อง แม้จะติดลบน้อยลงจากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานติดลบเล็กน้อย สอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ สำหรับตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง ส่วนหนึ่งสะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงานในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดใกล้สมดุล ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์จากการขายสุทธิตราสารหนี้และการถอนเงินฝากในต่างประเทศของนักลงทุนไทย และด้านหนี้สินจากการกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้
 
 
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวสูง จากผลของมาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุม การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เข้มงวดทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว โดยอุปสงค์ต่างประเทศหดตัวสูง ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และภาคการส่งออกสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอลงมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะเครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวสูง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้และมีบทบาทสำคัญในการช่วยพยุงเศรษฐกิจ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นบวกเล็กน้อย ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเล็กน้อยจากที่เกินดุลสูงในไตรมาสก่อน จากรายรับ ภาคการท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ประกอบกับเป็นฤดูกาลส่งกลับกำไรและเงินปันผลกลับต่างประเทศของบริษัทต่างชาติในไทย ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลสุทธิทั้งด้านสินทรัพย์และด้านหนี้สิน
 

บันทึกโดย : acnewsวันที่ : 31 ก.ค. 2563 เวลา : 15:32:40
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

2. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

3. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

4. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

6. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

7. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

9. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

10. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

11. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

12. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

13. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ 2,330 เหรียญ

14. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) ร่วง 67.40 เหรียญ แห่เทขายทอง หลังคลายกังวลความตึงเครียดอิหร่าน - อิสราเอล

15. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) บวก 253.58 จุด รับแรงช้อนซื้อหลังหุ้นตกหนัก -จับตาผลประกอบการบริษัทเทคฯรายใหญ่

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 12:24 pm