เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท. เผยแนวทางการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit term) ในประเทศไทย


ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญกับปัญหาการขาดสภาพคล่องที่ทวีความรุนแรงขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการถูกยืดระยะเวลาการชำระสินเชื่อการค้า (Credit term) โดยเฉพาะจากคู่ค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีอำนาจ

การต่อรองที่เหนือกว่า
 
 
ภาคธุรกิจของประเทศไทยส่วนใหญ่ทำการค้าขายโดยให้สินเชื่อการค้า สอดคล้องกับผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการ SMEs โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ที่พบว่าร้อยละ 96 ของการทำธุรกิจของไทยในรูปแบบ B2B 
มีการให้สินเชื่อแก่คู่ค้าที่ซื้อ-ขายสินค้าและบริการร่วมกัน  อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 ระยะเวลา Credit term ที่ SMEs ได้รับจากคู่ค้าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวมาอยู่ที่ 60 วันโดยเฉลี่ย และในบางธุรกิจขยายไปสูงถึง 120 วัน นอกจากนี้ SMEs 
ที่ทำธุรกิจหรือเป็นคู่ค้า (Supplier) ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากมักจะถูกขยายระยะเวลา Credit term ให้ยาวนานขึ้นผ่านการใช้อำนาจการต่อรองที่เหนือกว่า 
จากข้อมูลงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในปี 2559 พบว่า ระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าของบริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 55 วัน และสำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนานถึง 62 วัน ซึ่งสูงกว่าระยะเวลา Credit term ของ SMEs  ซึ่งอยู่ที่ 30 – 45 วัน 
 
 
การเพิ่มขึ้นของระยะเวลา Credit term ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพคล่องทางการเงินของภาคธุรกิจที่นำมาสู่ปัญหาด้านหนี้สินและความสามารถทางการแข่งขันที่ลดลง ซึ่งจากกรณีศึกษาในต่างประเทศพบว่า ในหลาย ๆ ประเทศ ได้ดำเนินการแก้ไขดังกล่าวโดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term เช่น ประเทศจีนที่เพิ่งออกกฎหมาย  ‘การคุ้มครองการชำระค่าสินค้าและบริการให้แก่ SMEs’ เมื่อ ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐ  สถาบันการเงิน และธุรกิจขนาดใหญ่ ชำระค่าสินค้าและบริการให้แก่ SMEs ภายใน 30 - 60 วัน ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ภาครัฐยังไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องโดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term จึงเสนอให้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit term) สำหรับการซื้อ-ขายระหว่างภาคธุรกิจ โดยให้มีผลบังคับใช้และบทลงโทษทางกฎหมาย รวมถึงมีแรงจูงใจด้านบวกให้ภาคธุรกิจปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด 
 
 
โดยรายละเอียดข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินงานมีดังนี้
 
1. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term โดยลูกหนี้การค้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าภายในระยะเวลา 
30 – 45 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเภทธุรกิจ ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term นี้ 
สอดคล้องและมีความยืดหยุ่นเพียงพอกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในประเทศไทย 
 
2. กำหนดให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยข้อมูลระยะเวลา Credit term โดยเฉลี่ยในการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1)  และนำข้อมูลดังกล่าวเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการประเมิน Socially Responsible Investing อาทิ การประเมินให้ตราสัญลักษณ์ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ (CGR) เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลของบริษัทใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain)
 
3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจสำหรับภาคธุรกิจให้มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ในการลดระยะเวลา Credit term เช่น กรมบัญชีกลางจัดสรรโควตาสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สถาบันการเงินกำหนดสิทธิพิเศษทางการเงินและการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เป็นต้น
 
 
ทั้งนี้เพื่อให้ภาคธุรกิจได้มีระยะเวลาในการปรับตัว หน่วยงานผู้รับผิดชอบควรกำหนด “ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน (Transitional period)” ให้ภาคธุรกิจเตรียมความพร้อมเพื่อสามารถประยุกต์ใช้เกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาสร้างกลไกการตรวจสอบ ติดตาม และเพิ่มช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากภาคธุรกิจ ประกอบกับการกำหนดตัวชี้วัดกลาง (KPI) ที่ยึดโยงกับหน่วยงานรับผิดชอบ โดยประเมินจากทั้งตัวแปรเชิงปริมาณและตัวแปรเชิงคุณภาพ เช่น จำนวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เปิดเผยข้อมูลระยะเวลา Credit term ของธุรกิจขนาดใหญ่เฉลี่ยลดลงเป็น 30 – 45 วันภายในปี 2564 เป็นต้น
 

โดยสรุป การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (ระยะเวลา Credit term) ถือเป็นหนึ่งในกลไกการแก้ไขและบรรเทาปัญหาสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs  อีกทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำของอำนาจการต่อรองระหว่าง SMEs และบริษัทขนาดใหญ่ โดยควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการเสริมสภาพคล่องในมิติอื่น ๆ อาทิ การส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อประเภท Supply chain financing เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนให้แก่ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน 
 
การสนับสนุนและพัฒนาระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การเสริมสร้างทักษะในการดำเนินธุรกิจภายใต้บริบทของโลกยุคใหม่ เช่น การพัฒนาสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการขยายตลาดบนโลกออนไลน์และการส่งออก เป็นต้น
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 ก.ย. 2563 เวลา : 11:17:24
19-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

2. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

3. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

4. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.67) ร่วง 19.40 เหรียญ กังวลเฟดชะลอลดดอกเบี้ย

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.67) ลบ 45.66 จุด กังวลทิศทางดอกเบี้ยเฟด-ผิดหวังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

7. ทองเปิดตลาด (18 เม.ย. 67) ร่วงลง 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,800 บาท

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (18 เม.ย.67) บวก 5.7 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,372.01 จุด

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (18 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 36.78 บาทต่อดอลลาร์

10. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.65-36.95 บาท/ดอลลาร์

11. พรุ่งนี้ (18 เม.ย. 67) ราคาน้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับขึ้น 40 สต./ลิตร

12. ตลาดหุ้นปิด (17 เม.ย.67) ลบ 29.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,366.94 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า(17 เม.ย.67) ลบ 30.34 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,366.04 จุด

14. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับระยะสั้นที่ระดับ 2,365 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,400 เหรียญ

15. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.55-36.80 บาท/ดอลลาร์

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 8:06 am