เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยท่ามกลางความไม่แน่นอน : ปรับกระบวนทัพ รับความท้าทาย


เศรษฐกิจไทยเผชิญความไม่แน่นอนทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก สร้างความท้าทายให้กับผู้วางนโยบายทั้งในด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาวและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ทำให้โจทย์สำคัญคือจะมีการบริหารจัดการเศรษฐกิจอย่างไรท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูง 
 
 

ในงานวิจัยในครั้งนี้ได้มีการรวบรวมและสร้างดัชนีบ่งชี้ระดับความไม่แน่นอนไว้ 4 ด้านหลัก
 
1 ความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจโลก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น สงครามการค้าระหว่างไทยและจีน วิกฤติโควิด 19 การออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ
 
2.ความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินและการคลังของไทย ที่ประทุขึ้นเป็นครั้งคราว เช่นการเปลี่ยนแปลงทางขั้วการเมืองในการบริหารเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนของมาตรการภาครัฐในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดความขัดแย้งในการออกมาตรการดูแลเงินบาท
3. ความไม่แน่นอนด้านภาวะเศรษฐกิจที่พบว่ามีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง 3 ช่วง คือ ช่วงวิกฤติการเงินโลกในปี 2551 ช่วงน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 และวิกฤติโควิด 19 ในปัจจุบัน
4.ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย ที่เกิดขึ้นรุนแรงหลายครั้ง ระหว่างปี 2549-2557 และกำลังมีแนวโน้มเกิดชึ้นอีกครั้งในปี 2563

เมื่อประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยพบว่าความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี โดยภาคการลงทุนและภาคการส่งออกได้รับผลกระทบมากที่สุด 

อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนยกเว้นการส่งออกที่พบว่า ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทำให้ภาคเอกชนมีการปรับเพื่อให้ส่งออกได้มากขึ้นเพื่อผลกระทบของความต้องการในประเทศที่ลดลง ทั้งนี้ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพบว่า ความไม่แน่นอนด้านภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินและการคลัง ความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยตามลำดับ

และยังพบว่าความไม่แน่นอนต่างๆ ในช่วง 14 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้จีดีพีหายไปประมาณ 4.9 ล้านล้านบาทซึ่งมากกว่างบประมาณปี 2564 ทั้งปี

สำหรับทางเลือกที่จะรับมือความไม่แน่นอนต่างๆ พบว่าการใช้นโยบายการเงินแบบเดิม ๆ มีประสิทธิลดลงอย่างชัดเจน ดังนั้นภาคเอกชนต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นโดยงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลบริษัทกว่า 350,000 แห่งเพื่อศึกษาว่าแต่ละภาคธุรกิจมีความสามารถในการรับมือกับความไม่แน่นอนแตกต่างกันอย่างไร ทั้งนี้พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นดาวเด่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล บริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการขายและรับซ่อมยานยนต์ สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนได้ดี ขณะที่อุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วง คือ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอิเลคโทรนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า 

สำหรับอุตสาหกรรมส่งออกส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางลบจากความไม่แน่นอนต่างๆ ยกเว้นความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองที่ทำให้มีการส่งออกสูงขึ้นเพื่อปรับตัวให้อยู่รอดจากความต้องการในประเทศที่ลดลง ในขณะที่ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกส่งผลทางลบต่อการส่งออกโดยเฉพาะตลาดส่งออกหลัก แต่ผู้ส่งออกก็ปรับตัวโดยการเปิดตลาดใหม่ ๆในการส่งออก

ในด้านการลงทุน พบว่าความไม่แน่นอนทุกด้านส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนของไทยทั้งหมด โดยความไม่แน่นอนระหว่างประเทศที่สูงขึ้นมากตั้งแต่ปี 2551 คาดว่าจะทำให้การลงทุนของไทยหายไป 30,000 ล้านบาท แต่ความไม่แน่นอนด้านภาวะเศรษฐกิจมีผลกระทบรุนแรงที่สุด และยังพบว่าหากเศรษฐกิจอาเซียนมีปัญหากลับมีการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
 
 

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มโลหะแปรรูปและอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตยาและเวชภัณฑ์ได้รับผลกระทบน้อย 

ด้านผลกระทบต่อสภาพคล่องพบว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อบริษัทที่มีสภาพคล่อง 5 อุตสาหกรรม คือ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมนำเที่ยว การศึกษา และร้านอาหาร โดยในส่วนของธุรกิจร้านอาหารปกติจะเป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งแต่งานวิจัยพบว่าหากร้านอาหารเหล่านี้เจอผลกระทบจากความไม่แน่นอนที่รุนแรงอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ประสบปัญหาได้เพราะส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่มีเงินทุนไม่มาก

บทสรุป

ผู้วิจัยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย  3 ข้อ
 
1.ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้ง 4 ด้าน โดยการลดผลกระทบความไม่แน่นอนบางด้าน เช่น นโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือหากจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ควรจะมีการสื่อสารต่อสาธารณชนให้เข้าใจ รวมทั้งต้องมีการประสานงานด้านนโยบายระหว่างหน่วยงานร่วมกัน เพื่อลดความไม่แน่นอนนโยบายของรัฐบาล
 
2.การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมดาวรุ่ง พร้อมๆ กับการดูแลการโยกย้ายเงินทุนผ่านตลาดการเงิน การเพิ่มทักษะแรงงาน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของความไม่แน่นอนต่าง ๆ เหล่านี้ไปได้ 
 
3.ในส่วนของเอกชนเองต้องเตรียมพร้อมด้านเงินทุนเพื่อรองรับความไม่แน่นอน และขยายไปประเทศต่าง ๆ ให้มากขึ้น ขณะที่ภาครัฐต้องช่วยให้เอกชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อช่วยลดความเสี่ยงกรณีเกิดความไม่แน่นอนขึ้น โดยรัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือสภาพคล่องให้กับบริษัทที่ดี รวมทั้งช่วยกระจายความเสี่ยงเพื่อให้เอกชนสามารถส่งออกได้มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี
 
ผศ. ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ดร.พิม มโนพิโมกษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ดร.อาชว์ ปวีณวัฒน์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ชัยธัช จิโรภาส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ทศพล อภัยทาน ธนาคารแห่งประเทศไทย
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 ก.ย. 2563 เวลา : 18:05:15
26-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

2. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

7. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

12. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

13. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 3:18 am