หุ้นทอง
ห้องเรียนผู้ประกอบการ : นวัตกรรม : ความหวังใหม่เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (ตอนที่ 7)


รศ (พิเศษ) ดร. กฤษฎา เสกตระกูล, CFP®

การพัฒนา Eco-innovation ก็คล้ายกับการพัฒนานวัตกรรมทั่วไปที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในขั้นการวิจัยและพัฒนา (R&D) การสร้างและทดสอบต้นแบบ ซึ่งอาจได้ผลดีหรือล้มเหลวก็ได้ ในขณะที่หากผ่านด่านนี้ไปได้ ก็จำเป็นต้องได้รับเงินทุนสนับสนุนมากขึ้นหากต้องการขยายขนาด (Scaling up) และเริ่มทดลองไปใช้ในการทำธุรกิจจริง บทความตอนนี้จะกล่าวถึงแนวทางและข้อคิดในการดึงดูดแหล่งทรัพยากรเงินทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนา Eco-innovation

1) โอกาสสำหรับบริษัท

ปัญหาความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่แผ่ขยายไปทั้งโลกนั้นทุกคนทราบดีและต้องเร่งช่วยกันแก้ปัญหา ภาคธุรกิจเองก็ต้องยอมรับว่ามีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดปัญหานี้ด้วยเช่นกัน ในกระบวนการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนนั้น มีคำแนะนำให้บริษัทกลับไปคลี่ Value chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่าของกระบวนการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการจากต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และมาวิเคราะห์ดูว่าในแต่ละขั้นตอนนั้นได้ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผูเกี่ยวข้องทั้งใกล้และไกลอย่างไร ซึ่งบริษัทที่ทำธุรกิจสามารถนำมาวางแผนกำหนดกลยุทธ์และวิธีการปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบทางลบดังกล่าว ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหยัดน้ำ พลังงาน การลดปัญหาขยะ และการลดโลกร้อน เป็นต้น

แน่นอนในการลดปัญหาดังกล่าวสามารถใช้ Eco-innovation เป็นตัวช่วย ซึ่งบริษัทอาจใช้หน่วย R&D ภายในเป็นตัวช่วย หรืออาจร่วมมือกับ บริษัทภายนอกที่คิดค้น Eco-innovation ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมเกิดขึ้นรุนแรงมากขึ้นในโลกแทบทุกพื้นที่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ของทางการต่างก็ตื่นตัวเข้ามาสนับสนุนให้มีการคิดค้นวิจัยนวัตกรรม Eco-innovation มากขึ้น โดยเฉพาะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้ตั้ง Eco-innovative Startups เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็สามารถเติบโตขึ้น ขยายกิจการ และมีกำลังมากขึ้นไปช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมในระบบ
 

หน่วยงานทางการในหลายประเทศได้จัดตั้งองค์กรภาครัฐที่ให้ความรู้และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม เช่น ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency หรือ NIA) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว และหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐต่างก็ตื่นตัวในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม รวมไปถึงการให้ทุน (Funding Programmes) เกิดกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรม การแข่งขัน เพื่อคัดเลือกผู้คิดค้นนวัตกรรมที่ดี มีความเป็นไปได้สูง และได้รับเงินทุน และโอกาสหาผู้ร่วมทุนเพื่อไปต่อยอดต่อไป ซึ่งนับวันก็จะมีความเข้มข้น เพราะความต้องการ Eco-innovation ถูกต้องการจากภาคธุรกิจมากขึ้น นอกจากความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกด้าน Sustainability ที่มีมากขึ้นแล้วยังถูกกดดันจากนักลงทุนที่สนใจว่าบริษัทดูแลแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร และด้วยวิธีการอะไร

บริษัท Natura ของ Brazil ที่มีชื่อเสียงในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตโดยดูแลสิ่งแวดล้อมในขณะที่ยังเป็น Startup อยู่ เคยได้รับเงินทุนสนับสนุนถึง 43 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อมาช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต เพราะ Eco-innovation ของ Natura มีความน่าสนใจดึงดูดแหล่งเงินทุนมาได้อย่างมากมาย หรือตัวอย่างบริษัท Specialized Solar Systems ใน South Africa บริษัท Multibox ของไทย KUO Industrial Group ของ Mexico ซึ่งแต่ละบริษัทมี Eco-innovation ที่โดดเด่น ก็ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนทั้งเงินทุนและด้านอื่นๆ จากภาครัฐ สถาบันการเงิน และบริษัทเอกชนที่มีความสนใจทั้งสิ้น อาจสรุปได้ว่าผู้ที่คิดค้น Eco-innovation ที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังมีอีกมากมาย และถ้านวัตกรรมนี้มีความเป็นไปได้ พัฒนาได้ในเชิงพาณิชย์จะเป็นบริษัทที่เนื้อหอมเป็นพิเศษ ที่จะดึงดูดให้ มีคนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ จะมีโอกาสทางธุรกิจมากเป็นพิเศษ

2) Green Financing

เมื่อกระแสการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมกำลังมาด้วยความแรง บรรดาสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารก็ต้องเริ่มปรับตัว เพราะหน้าที่หลักของธนาคารที่รับเงินฝาก แล้วไปปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจนั้น ก็เริ่มเกิดคำถามว่าธุรกิจนั้นเอาเงินทุนไปเป็นทรัพยากรหนึ่งร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ ในการผลิตสินค้าและบริการ แต่ธุรกิจได้ดูแลปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างไร ธนาคารกลางในประเทศต่างๆ เริ่มออกกฏเกณฑ์การดูแลสินเชื่อโดยผนวกเรื่องการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนเข้าไป (Sustainable Finance Guidelines)

ในตลาดทุน ซึ่งมีสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ก็เล็งเห็นปัญหานี้เช่นกัน หน่วยงานดังกล่าวในหลายประเทศเข้าร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคธุรกิจ โดยผ่านบริษัทจดทะเบียนซึ่งเป็นสมาชิก โดยกำหนดให้มีคู่มือและแนวทางปฏิบัติด้าน ESG (Environment, Social, Governance) และส่งเสริมความรู้ การให้คำปรึกษา และที่สำคัญที่สุดคือกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูล การดำเนินธุรกิจโดยบูรณาการด้าน ESG เข้าไป (ESG Information Disclosure) เข้าไป รวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักลงทุนเพื่อให้มีจิตสำนึกการลงทุนแบบมีความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นคนคอยกดดันให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจอย่างมีความระมัดระวัง และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ในต่างประเทศ เริ่มมีสถาบันการเงินที่หันมาเพิ่มหรือ Segment ตนเองให้ปล่อยสินเชื่อหรือสนับสนุนเงินทุนแก่กิจการที่ดำเนินธุรกิจแบบ “Green” เป็นพิเศษ เช่น Triodos Bank ของ Netherland จนกลายเป็นธนาคารชั้นนำในกลุ่ม “Sustainable Bank” Triodos Bank พยายามค้นหาบริษัทในลักษณะ “Eco-innovative Companies” และปล่อยสินเชื่อ แม้ว่าจะเป็นไปอย่างยากลำบากในช่วงเริ่มต้น แต่ในที่สุดเมื่อกระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นตามมา Triodos Bank ก็สามารถเติบโตได้เป็นเท่าตัว จากผลการปล่อยสินเชื่อและลงทุนใน “Sustainability Initiatives” เช่นนี้ สถานการณ์ดังกล่าวนี้ยังเกิดขึ้นกับธนาคารหลายแห่งทั่วโลกที่มีการมุ่งเน้น “Green Financing” เช่น YES Bank ใน India CIBanco ใน Mexico Bancolombia และ Bancoldex ใน Colombia เป็นต้น

3) กรณีศึกษา : Three Wheels United

Three Wheels United (TWU) เป็น Startup สัญชาติ India ที่ทำธุรกิจปล่อยเช่าซื้อรถสามล้อเครื่อง ให้กับผู้ขับสามล้อเครื่องในอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนทั้งในเมืองและชนบท ในการช่วยให้เดินทางเกิดความคล่องตัว เป็นทางเลือกหนึ่งของคนอินเดีย ซึ่งคาดว่ามีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน โดยปกติรถสามล้อเครื่องที่ใช้ก็มีสภาพเสื่อมโทรมและไม่ได้รับการดูแล ใช้เชื้อเพลิงคุณภาพต่ำก่อให้เกิดมลพิษสูง แต่ละวันผู้ขับสามล้อเครื่องต้องทำงานถึงวันละ 12 ชั่วโมง โดยได้รับรายได้เพียงประมาณ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันบนสภาพแวดล้อมการทำงานที่ย่ำแย่ TWU ได้พัฒนา Business Model โดยหาแหล่งเงินทุนจากธนาคารท้องถิ่น และจัดหารถสามล้อเครื่องที่มีคุณภาพและนวัตกรรมช่วยลดปัญหามลพิษในราคาที่รับได้ ทำให้ผู้ขับขี่สามล้อเครื่องสามารถเปลี่ยนรถและผ่อนระยะยาวทำให้เป็นเจ้าของรถได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในที่สุดผู้ขับขี่สามล้อเครื่องมีรายได้เพิ่มขึ้น 70% เพราะลูกค้าก็ชอบด้วย ช่วยลดมลพิษด้วย เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็สามารถผ่อนรถได้ มีข้อมูลสนับสนุนว่า การคืนหนี้เงินกู้เช่าซื้อรถสามล้อเครื่องประสบความสำเร็จถึง 100%

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 พ.ย. 2563 เวลา : 09:18:24
20-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. พรุ่งนี้ (20 เม.ย.) ราคาน้ำมันดีเซล ปรับขึ้น 50 สต./ลิตร ตามมติ กบน. มีผลเที่ยงคืนนี้

2. ตลาดหุ้นปิด (19 เม.ย.67) ลบ 28.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,332.08 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 เม.ย.67) ลบ 25.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,335.93 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,385 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,425 เหรียญ

5. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.20%

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวก 9.60 เหรียญ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวกแค่ 22.07 จุด เจ้าหน้าที่เฟดตบเท้าหนุนไม่ควรรีบลดดอกเบี้ย

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (19 เม.ย.67) ลบ 20.39 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,340.63 จุด

10. ทองเปิดตลาด (19 เม.ย. 67) พุ่งขึ้น 550 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,500 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

13. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

14. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

15. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 12:19 am