เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ เศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 อาจหดตัว 8.5% ส่งผลให้การส่งออกชายแดนของไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5


ภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้นจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ และการกระจายวัคซีนโควิด-19 ยิ่งเข้ามาช่วยผ่อนคลายข้อจำกัดในการใช้ชีวิตในหลายประเทศ จนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจโลกปี 2564 เติบโตดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 6.0 ในเดือนเมษายน (จากที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.5 เมื่อเดือนมกราคม) ท่ามกลางสัญญาณบวกดังกล่าว กลับสวนทางกับภาพเศรษฐกิจเมียนมาที่กำลังเผชิญมรสุมทางการเมืองในประเทศอย่างหนัก อีกทั้งภาพลักษณ์ของเมียนมาในสายตาชาติตะวันตกก็กำลังมีบทบาทลดน้อยลง จากความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับความตกลงการค้าและการลงทุนกับเมียนมาที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 (Trade and Investment Framework Agreement: TIFA) ในวันที่ 30 มีนาคม 2564 อันมีผลให้เมียนมาต้องสูญเสียสิทธิพิเศษทางภาษีเป็นการทั่วไป (GSP) ของสหรัฐฯ ไปพร้อมกัน สะท้อนแรงกดดันจากต่างประเทศที่เมียนมาต้องแบกรับ และมีความเสี่ยงที่สหภาพยุโรปจะดำเนินการแบบเดียวกันในระยะข้างหน้า โดยตัดสิทธิพิเศษทางการค้า Everything But Arms (EBA) ที่ให้แก่เมียนมา 

* เพียงระยะเวลาแค่สองเดือนนับตั้งแต่กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เกิดการแสดงอารยะขัดขืน (Civil Disobedience Movement : CDM) เป็นวงกว้างและทวีความรุนแรงเรื่อยมาจนถึงเวลานี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเมียนมาเกิดภาวะชะงักงันต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการเงินยังคงเผชิญกับข้อจำกัดในด้านมูลค่าการทำธุรกรรมและการให้บริการ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกดดันการบริโภคโดยรวม นอกจากนี้ ภาคการผลิตและการส่งออกของเมียนมายังถูกซ้ำเติมจากการที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิ์ GSP ที่ให้แก่เมียนมา แม้ว่าเมียนมาจะพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯ เพียงร้อยละ 5 มีสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ราว 1 ใน 3 ใช้สิทธิ GSP ในการทำตลาด แต่สิ่งที่ตามมาคือความเชื่อมั่นด้านการลงทุนในเมียนมาถูกบั่นทอนลง อีกทั้งมีความเสี่ยงที่นานาชาติจะเพิ่มแรงกดดันด้านต่างๆ กับเมียนมา เป็นอุปสรรค์ต่อการทำธุรกิจในอนาคต คงยากที่จะมีการขยายการลงทุนใหม่เพิ่มเติมในระยะสั้น ขณะที่นักลงทุนเดิมบางส่วนระงับการดำเนินธุรกิจในเมียนมาไปแล้ว
 
* จะเห็นได้ว่า เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมียนมาทุกตัวอยู่ในภาวะชะลอตัวมากกว่าที่เคยคาดไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์เศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 อาจจะหดตัวลึกขึ้นมาอยู่ที่ราวร้อยละ 8.5 (กรอบประมาณการ ร้อยละ -9.8 ถึง -7.2) โดยขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเมืองในเมียนมาเป็นหลัก ในกรณีการประท้วงในประเทศไม่ขยายวงกว้างกว่านี้และทางการเมียนมาสามารถควบคุมสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองภายในช่วงครึ่งหลังของปีให้ทยอยดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกได้ ทำให้เศรษฐกิจเมียนมาทั้งปี 2564 คาดว่าจะโน้มเอียงเข้าสู่กรอบบนของประมาณการที่หดตัวร้อยละ -7.2 โดยภาคการผลิตและการส่งออก น่าจะเป็นภาคส่วนที่ฟื้นตัวได้ก่อนจากอานิสงส์ของความต้องการสินค้าตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน และภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 53 ของยอดคงค้างการลงทุนตรงน่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตามมา อย่างไรก็ดี หากเป็นในกรณีที่ความขัดแย้งทางการเมืองเมียนมายังคงรุนแรงเช่นนี้ลากยาวตลอดปี จะส่งผลให้เศรษฐกิจอาจทรุดตัวเข้าใกล้กรอบล่างที่หดตัวร้อยละ -9.8 อันเป็นผลจากการชะงักงันของกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศที่ลากยาวออกไป ตลอดจนแรงฉุดของการลงทุนที่น่าจะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
 
* ภาพเศรษฐกิจเมียนมาตั้งแต่เริ่มปี 2564 เรียกได้ว่าเผชิญความความท้าทายอย่างมากทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดและปัจจัยความไม่สงบในประเทศ ส่งผลให้การส่งออกจากไทยไปเมียนมาผ่านชายแดนในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลับมาหดตัวสูงร้อยละ -21.4 (YoY) ส่วนหนึ่งเป็นภาพต่อเนื่องของสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มลุกลามอีกครั้ง และบางส่วนก็เป็นผลพวงจากความไม่สงบในประเทศทำให้สินค้าส่วนใหญ่เริ่มหดตัวชัดเจนมากขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งสินค้าที่ส่งไปสนับสนุนภาคการผลิตและการลงทุนในประเทศที่ดูจะหดตัวค่อนข้างมาก อาทิ เหล็ก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและไม่จำเป็นก็ปรับตัวลดลงอย่างชัดเจนตอกย้ำการอ่อนแอของกำลังซื้อในเมียนมาจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ความไม่สงบในเมียนมาอาจส่งผลต่อเนื่องมายังช่องทางการค้าบริเวณพรมแดนเป็นครั้งคราว แต่ไม่กระทบการขนส่งสินค้าข้ามแดนมากนักเพราะเมียนมาต้องพึ่งสินค้าไทยหลายชนิดท่ามกลางสภาวะที่ทั่วโลกเริ่มตีตัวออกห่างเมียนมา ขณะเดียวกันความน่ากังวลในความไม่สงบในช่วงแรกทำให้มีการเร่งกักตุนสินค้าจากไทยค่อนข้างมากในบางพื้นที่ แต่ในช่วงที่เหลือของปีด้วยกำลังซื้อและภาพเศรษฐกิจที่จะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ คงฉุดให้การส่งออกชายแดนไทยไปเมียนมาปี 2564 หดตัวลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ที่ร้อยละ -6.0 โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 81,890 ล้านบาท (กรอบประมาณการหดตัวที่ร้อยละ -8.0 หากเศรษฐกิจเมียนมาทรุดตัวตลอดปี ถึงหดตัวร้อยละ -2.9 หากครึ่งหลังเมียนมาสามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้) 
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ ตัวเลขเศรษฐกิจเมียนมาปี 2564
 
 

หมายเหตุ: *ตัวเลขประมาณการโดย IMF, ** ตัวเลขประมาณการโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ที่มา: ADB, IMF, กรมการค้าต่างประเทศ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 เม.ย. 2564 เวลา : 16:35:19
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

2. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

3. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ 2,330 เหรียญ

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) ร่วง 67.40 เหรียญ แห่เทขายทอง หลังคลายกังวลความตึงเครียดอิหร่าน - อิสราเอล

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) บวก 253.58 จุด รับแรงช้อนซื้อหลังหุ้นตกหนัก -จับตาผลประกอบการบริษัทเทคฯรายใหญ่

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (23 เม.ย. 67) ร่วงแรง 850 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,050 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (23 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์

11. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคใต้ ฝนฟ้าคะนอง 20-30% กรุงเทพปริมณฑลและภาคอื่นๆ ฝน 10% / อุตุฯเตือน 24-25 เม.ย.มีพายุฤดูร้อน

12. ตลาดหุ้นไทยเปิด (23 เม.ย.67) บวก 5.89 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,355.41 จุด

13. พรุ่งนี้ น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ทุกชนิด และพรีเมี่ยม GSH95 ลดลง 0.40 บาทต่อลิตร

14. ตลาดหุ้นปิด (22 เม.ย.67) บวก 17.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,349.52 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (22 เม.ย.67) บวก 15.02 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,347.10 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 6:03 am