หุ้นทอง
วงจรเงินสด หัวใจสำคัญการอยู่รอดของธุรกิจ


ก่อนคุณจะตัดสินใจซื้อหุ้น ควรต้องศึกษาข้อมูลกันอย่างละเอียด โดยเฉพาะถ้าคนเป็นนักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐานที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยประเมินจากตัวเลขที่เชื่อถือได้ เพื่อบ่งบอกถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่สำคัญ ซึ่งจะละเลยไม่ได้ในการทำความเข้าใจ นั่นคือ วงจรเงินสด

ว่ากันว่าหุ้นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในภาวะที่เศรษฐกิจผันผวน หนีไม่พ้นหุ้นที่มีกระแสเงินสดเยอะ หนี้สินต่ำหรือไม่มีเลย พูดง่าย ๆ ก็คือ มีสภาพคล่องทางการเงินที่แข็งแกร่ง ตรงกันข้ามกับหุ้นที่มีหนี้สินมาก เงินสดในมือต่ำ คุณมนชัย มกรานุรักษ์ หัวหน้าสำนักวิจัย บล.ทิสโก้ บอกว่า ดังนั้นคุณจึงอาจต้องพบกับแรงกดดันกับความอยู่รอด หากไม่สามารถหาเงินมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้
 
 
ดังนั้น ผู้บริหารทุกบริษัทต่างตระหนักดีว่าการเตรียมเงินสดไว้ในมือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสภาพคล่องทางการเงิน คือ หัวใจของการอยู่รอดของธุรกิจ หากเกิดอาการ “เงินสดขาดมือ” ในบริษัทที่มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้หรือมีภาระต้องคืนเงินกู้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะมีปัญหาในระยะยาว
 
ดังนั้น “วงจรเงินสด” จึงมีความสำคัญเพราะสามารถบ่งบอกถึงการบริหารจัดการเรื่องกระแสเงินสด ถ้าผู้บริหารจัดการดี จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องกระแสเงินสดขาดมือ การหมุนเงินก็คล่อง มีเงินชำระหนี้สบาย ๆ โดยวงจรเงินสดสามารถดูได้จากการขายสินค้าและสินค้าค้างสต็อก
 
โดยบริษัทที่ไม่มีปัญหาเรื่องกระแสเงินสด คือ บริษัทที่สามารถขายสินค้าแล้วเก็บเงินได้ ตรงกันข้ามถึงแม้ขายสินค้าได้ แต่เก็บเงินไม่ได้ บริษัทก็จะต้องหากระแสเงินสดจากทางอื่น เพื่อมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น พึ่งพาเงินกู้ หรือเพิ่มทุน เป็นต้น

วิธีคำนวณวงจรเงินสด

วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาจ่ายหนี้

โดยผลลัพธ์ที่ออกมา “ยิ่งน้อยหรือติดลบ ยิ่งดี” เพราะสะท้อนถึงการมีประสิทธิภาพในการสร้างยอดขายและสามารถเรียกเก็บเงินสดจากลูกหนี้การค้าได้ ก่อนที่จะต้องจ่ายเงินสดนั้นออกไปให้กับเจ้าหนี้การค้าหรือนำไปจ่ายหนี้ ทำให้มีเงินสดมาใช้หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเพียงพอ เช่น การลงทุน การจ่ายเงินปันผล การจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น
 
ตรงกันข้าม หากผลลัพธ์ออกมา “มีค่ามาก” แสดงว่าบริษัทสามารถขายสินค้าและเก็บหนี้ได้ช้ากว่าการจ่ายหนี้ ทำให้มีการเงินที่ติด ๆ ขัด ๆ หรือมีสภาพคล่องต่ำ
 
ตัวอย่าง

1. บริษัท ACB มีระยะเวลาขายสินค้า 20 วัน มีระยะเวลาเก็บหนี้ 5 วัน และมีระยะเวลาจ่ายหนี้ 50 วัน ดังนั้น วงจรเงินสดของบริษัท ABC จึงเท่ากับ 20 + 5 – 50 = -25 วัน

แสดงว่า บริษัท ABC มีวงจรเงินสดที่ดี ไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินมาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เพราะสามารถขายสินค้าได้ในระยะเวลาไม่นาน คือ 20 วัน จึงไม่มีปัญหาด้านการสต๊อกสินค้า ที่สำคัญยังได้รับเงินสดจากการขายสินค้าภายในเวลา 5 วัน จึงสามารถนำเงินสดมาใช้หมุนเวียนก่อนจ่ายเจ้าหนี้ (เครดิตเจ้าหนี้ 50 วัน) ได้ถึง 25 วัน

2. บริษัท XYZ มีระยะเวลาขายสินค้า 20 วัน มีระยะเวลาเก็บหนี้ 20 วัน และมีระยะเวลาจ่ายหนี้ 0 วัน ดังนั้น วงจรเงินสดของบริษัท XYZ จึงเท่ากับ 20 + 20 – 0 = 40 วัน

แสดงว่า บริษัท XYZ มีวงจรเงินสดไม่ดี หากบริษัทไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดีอาจเกิดปัญหาขาดเงินสดหมุนเวียน เนื่องจากต้องจ่ายเงินสดทันทีเมื่อซื้อสินค้า (เครดิตเจ้าหนี้ 0 วัน) แต่บริษัทจำเป็นต้องรอไปอีก 40 วัน จึงจะได้รับเงินสดจากการขายสินค้า

วงจรเงินสดน้อย สามารถทำได้ 3 วิธี

ระยะเวลาขายสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี)

เพราะเมื่อขายสินค้าได้แล้ว ก็สามารถเก็บเงินสดกลับคืนมาได้รวดเร็ว จึงควรตรวจสอบนโยบายการสต๊อกสินค้าของบริษัทนั้นว่า มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพราะหากสต๊อกสินค้าจำนวนน้อย อาจเสียโอกาสในการขาย ตรงกันข้ามหากสต็อกสินค้าจำนวนมาก อาจใช้เวลานานในการขายสินค้า 
 
ระยะเวลาเก็บหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี)

เพราะเมื่อให้เครดิตลูกค้าสั้น ก็จะได้รับเงินสดมาหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจสอบสถานะการเงินของคู่ค้าว่า มีประสิทธิภาพในการจ่ายหนี้มากน้อยเพียงใด หากคู่ค้าจ่ายหนี้ล่าช้าเกินกว่ากำหนด อาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทลดลงได้
 
ระยะเวลาจ่ายหนี้ (ยิ่งจ่ายช้า ยิ่งดี)

เพราะนอกจากบริษัทสามารถขายสินค้าและเก็บเงินสดมาใช้ในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังมีเวลาเหลือที่จะนำเงินไปลงทุนหาผลตอบแทนได้ ระหว่างยังไม่ถึงกำหนดจ่ายเงินให้เจ้าหนี้

ดังนั้น การดูวงจรเงินสด เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในบางประเด็นเท่านั้น การวิเคราะห์เพื่อลงทุนยังมีอีกหลายประเด็น นักลงทุนต้องวิเคราะห์รายละเอียดอื่น ๆ ของบริษัทต่อไปด้วยว่า น่าสนใจ และควรลงทุนหรือไม่

LastUpdate 22/09/2564 12:01:18 โดย : Admin
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

2. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

3. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

4. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

5. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

7. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

8. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

10. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

11. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

12. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

14. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ 2,330 เหรียญ

15. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) ร่วง 67.40 เหรียญ แห่เทขายทอง หลังคลายกังวลความตึงเครียดอิหร่าน - อิสราเอล

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 4:23 pm