ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : เบรนท์ลงหลัง OECD ลดคาดจีดีพีจีน ส่วน WTI ขึ้น หลังมอง FED กระตุ้นเศรษฐกิจต่อ


 เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.48 เหรียญฯ ปิดที่ 93.61 เหรียญฯ ส่วนเบรนส่งมอบเดือน ก.ค. ปรับลดลง 0.24 เหรียญฯ ปิดที่ 102.19 เหรียญฯ 

 
- ราคามันดิบปรับสวนทางกัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลงลดตามมุมมองของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัว หลังจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งอัตราการว่างงานของเยอรมนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
 
+ ส่วนราคาน้ำดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ หลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก โดยการประกาศตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ ครั้งที่ 2 ของไตรมาส 1 ขยายตัวที่ 2.4% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งน้อยว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.5% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการลดรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ ประกอบกับภาคธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตรชะลออัตราการจัดหาสินค้าสำหรับสต็อก 
 
นอกจากนี้ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ รายสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 25 พ.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้น 10,000 ตำแหน่ง มาที่ 354,000 ตำแหน่ง โดยยอดเฉลี่ย  4 สัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น 6,750 ตำแหน่ง มาที่ 347,250 ตำแหน่ง เช่นกัน
 
-/+ สำนักงานสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานประจำสัปดาห์ว่าปริมาณน้ำมันเดิบคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นมาที่ 2.81 เหรียญฯ ต่อแกลลอน หลังราคาแตะระดับต่ำสุดเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 56 ที่ 2.76 เหรียญฯ ต่อแกลลอน  
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก  อุปสงค์ที่อ่อนตัวในตลาดสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในเอเชียยังคงดีอยู่ หลังมีความต้องการซื้อจากอินเดียเนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น
 
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันคงคลังดีเซลที่สิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้น 2.65% โดยตลาดมองว่าปริมาณอุปทานมีเพียงพอ แม้ว่าปริมาณน้ำมันดีเซลลดลงจากการลดการผลิตและเหตุไฟไหม้ของโรงกลั่นในเอเชียเหนือ 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้า คาดว่าเบรนท์จะอยู่ที่กรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสที่ 90 -98 เหรียญฯ ติดตามอัตราว่างงานและดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ ม. มิชิแกน (Revised) 
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่
วันศุกร์: อัตราว่างงานและดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ ม. มิชิแกน (Revised)
วันเสาร์: ดัชนีภาคการผลิตโดยทางการจีน 
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่ 
วันจันทร์: ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ยูโรโซนและจีนโดย HSBC ดัชนีภาคบริการโดยทางการจีน 
วันอังคาร: ดุลการค้าสหรัฐฯ อัตราการว่างงานสเปน 
วันพุธ: จีดีพีไตรมาส 1 (ครั้งที่ 2) ดัชนีภาคบริการและยอดขายปลีกยูโรโซน ยอดคำสั่งซื้อโรงงาน ดัชนีภาคบริการและการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ ดัชนีภาคบริการอังกฤษและจีนโดย HSBC รายงานภาวะเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Beige Book)
วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรปและอังกฤษ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ยอดคำสั่งซื้อโรงงานเยอรมนี 
วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี 
วันเสาร์: ดุลการค้าจีน 
วันอาทิตย์: ดัชนีราคาผู้บริโภค การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดขายปลีกจีน
 
  - ติดตามการประชุมกลุ่มโอเปกในวันศุกร์นี้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายปริมาณการผลิตน้ำมันดิบโดยรวมของกลุ่มที่ระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือไม่ 
 
- ติดตามการประชุมธนาคารยุโรปว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร หลังการประชุมในครั้งที่ผ่านมามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 0.75% เหลือ 0.5% 
 
- จับตาสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย โดยล่าสุดรัสเซียได้ออกมาประณามมติของสหภาพยุโรปที่จะไม่ต่ออายุสนธิสัญญาห้ามขนถ่ายอาวุธให้กับกลุ่มกบฏซีเรีย โดยรัสเซียเตรียมจะส่งขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานไปยังซีเรียเพื่อยับยั้งการแทรกแซงของต่างประเทศ 
 
- ติดตามความรุนแรงรายวันในอิรัก ทั้งในเมืองหลวงแบกแดดและเขตปกครองตนเองชาวเคิร์ดทางตอนเหนือที่มีปัญหาข้อพิพาทในการแบ่งผลประโยชน์ด้านน้ำมันกับรัฐบาลอิรัก 
 
- ติดตามการซ่อมบำรุงของแหล่งน้ำมันดิบในแถบทะเลเหนือที่จะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. ซึ่งอาจทำให้อุปทานน้ำมันดิบบางส่วนหายไปว่าจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างไร
 
- ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระลอกใหม่ระหว่างซูดานกับซูดานใต้ โดยล่าสุดซูดานขู่ที่จะปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบหากซูดานใต้สนับสนุนกลุ่มกบฎในซูดาน 

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 พ.ค. 2556 เวลา : 13:03:40

18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 12:04 pm