ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
กรมชลฯวอนใช้น้ำอย่างประหยัด สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ลดต่ำ


 

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(29 เม.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน  37,714  ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การได้คิดเป็นจำนวน 14,211 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯทั้งหมด


สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 136 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,409 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,083 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 237 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ

 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 31 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 182 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 353 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 188 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 85 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 228 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ฤดูฝนของประเทศไทย ปีนี้จะเริ่มต้นช้ากว่าปกติ ประมาณสัปดาห์ที่ 3 – 4 ของเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนรวม คาดว่า จะน้อยกว่าค่าปกติและน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝน แต่อย่างไรก็ตามช่วงปลายฤดูฝนหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบนจะมีปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงค่าปกติ   ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงขอความร่วมมือเกษตรกรและประชาชน ในแต่ละพื้นที่โครงการฯ ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย     

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 เม.ย. 2557 เวลา : 11:03:03

18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 11:36 pm