ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
วายแอลจีมองราคาทองยังมีลุ้นทดสอบแนวต้าน 1,149 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ระวังหากยืนไม่ได้อาจเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้น


คำแนะนำ
  

ยังมีลุ้นที่ราคาอาจไปทดสอบแนวต้านโซนที่ $1,149 แต่หากราคายืนไม่ได้อาจเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมา เมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงจะมีแนวรับบริเวณ $1,129-$1,116

ทองคำ

แนวรับ 1,129 1,116 1,109
แนวต้าน 1,149 1,158 1,171

ปัจจัยพื้นฐาน
  

ราคาทองคำสปอตสหรัฐฯวานนี้ปรับตัวขึ้น 13.82 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นการปรับตัวขึ้น 4 วันทาการต่อเนื่อง หลังจากได้รับแรงหนุนจากการอ่อนตัวลงของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ โดยความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลักดันให้เกิดการย้ายสินทรัพย์ลงมามายังทองคา ซึ่งกลายเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้ นอกจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคาจะแสดงความเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยแล้ว การเข้าถือทองคาอย่างมากของกองทุน SPDR เป็นอีกตัวที่น่าสนใจ เพราะวานนี้ถือทองคาเพิ่มเติมอีก 4.46 ตัน รวม 3 วันทาการในสัปดาห์นี้ถือเพิ่มไปถึง 20.82 ตัน อย่างไรก็ตามราคาทองคาในประเทศปรับตัวขึ้นน้อยกว่าราคาทองคาในตลาดโลกเนื่องจากยังถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้

ปัจจัยทางเทคนิค
  

หากการอ่อนตัวลงของราคาทองคายังสามารถรักษาระดับเหนือแนวรับ ได้ราคาทองคายังมีลุ้นดีดขึ้นทดสอบแนวต้าน เนื่องจากราคาทองคาสามารถสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้าได้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดแรงขายทำกำไรออกมาสลับออกมาและอาจทาให้ราคาปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,129-1,116 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อสร้างฐานราคา

กลยุทธ์การลงทุน

  

รอจังหวะที่ราคาทองคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านโซน 1,149 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แล้วเกิดการอ่อนตัวลงมา ซึ่งแนะนาว่าจุดที่น่าสนใจในการเข้าซื้อยังเป็นบริเวณแนวรับ 1,116 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าราคาย่อตัวลงมาไม่ถึงอาจเสี่ยงซื้อเก็งกาไรตรงแนวรับแรก 1,129 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

   

(+)ดอลล์ร่วงเทียบเยน,ยูโรจากคาดการณ์เฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์ร่วงแตะระดับต่าสุดเมื่อเทียบกับยูโรนับตั้งแต่เดือนต.ค. และลดช่วงบวกลงเมื่อเทียบกับเยนในวันพุธ อันเป็นผลจากการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสาคัญ 6 สกุลร่วง 1.59% สู่ 97.290หลังดิ่งลงแตะระดับ 96.885 ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 3 เดือน และร่วงแตะระดับ 0.99890 ฟรังก์สวิสซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครึ่ง
  

(+)น้ำมันดิบพุ่งขึ้น 8% ขณะดอลล์ดิ่งลง ราคาน้ามันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้น 8 % ในวันพุธ หลังจากปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกันสองวัน โดยราคาน้ามันได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และนักลงทุน ไม่ใส่ใจกับตัวเลขสต็อกน้ามันดิบสหรัฐที่พุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดใหม่ ทั้งนี้ ราคาน้ามันดิบส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 2.40 ดอลลาร์ หรือ 8 % มาปิดตลาดที่ 32.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 29.40-32.75 ดอลลาร์
   

(+)ผลสารวจ ISM ชี้ภาคบริการสหรัฐชะลอตัวในเดือนม.ค. ผลสารวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ภาคบริการของสหรัฐได้ชะลอตัวลงในเดือนม.ค. ทั้งนี้ ดัชนีภาคบริการของ ISM อยู่ที่ระดับ 53.5 ในเดือนม.ค. ลดลงจากระดับ 55.8 ในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ ดัชนีภาคบริการของ ISM ยังต่ากว่าระดับ 55.1 ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
   

(-)ADP เผยภาคเอกชนสหรัฐจ้างงานสูงกว่าคาดในเดือนม.ค. ผลการสารวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 205,000 ตาแหน่งในเดือนม.ค. โดยลดลงจากเดือนธ.ค. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 195,000 ตาแหน่ง นอกจากนี้ ADP ยังได้ทบทวนปรับเพิ่มตัวเลขการจ้างงานในเดือนธ.ค.เป็นเพิ่มขึ้น 267,000 ตาแหน่ง ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 1 ปี จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 257,000 ตาแหน่ง ภาคบริการมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 192,000 ตาแหน่งในเดือนม.ค. ส่วนภาคการเงินมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 19,000 ตาแหน่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2006
   

(+/-)กนง.เสียงเอกฉันท์คงดอกเบี้ย1.50%ยืนยันนโยบายการเงินยังเอื้อศก.ขยายตัว กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% ต่อปี ยันพร้อมใช้นโยบายการเงินเหมาะสมดูแลเศรษฐกิจ มั่นใจปี'59 จีดีพีโต 3.5% แต่ยังห่วงราคาน้ามันร่วง ปัญหาเศรษฐกิจชาติค้าสาคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเกาะติด นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยว่า ที่ประชุมกนง.มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ต่อปี โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ ยังขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนที่ 3.5% โดยอุปสงค์ในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก สาหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่า รวมทั้งทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน

    


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 04 ก.พ. 2559 เวลา : 11:31:51

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 1:16 am