ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
พาณิชย์เชื่อมั่นการค้าการลงทุนไทย-เดนมาร์กแจ่มใส


 


นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการการเข้าพบและหารือของเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย นายมิเคล เหมนิธิ วินเธอร์ (H.E. Mr. Mikael Hemniti Winther) และผู้บริหารเมอส์ก กรุ๊ป นายนิลส์ เอส. แอนเดอร์เสน (CEO, Maersk Group, Mr. Nils S. Andersen) ว่าเดนมาร์กและไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาด้านการค้าการลงทุนร่วมกันในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเดนมาร์กเล็งเห็นถึงศักยภาพ            ของประเทศไทย ประกอบกับรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจนี้เป็นอย่างมาก
 
 
 
 

ไทยและเดนมาร์กมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาอย่างยาวนานทั้งในด้านการค้าและด้านการลงทุน เดนมาร์กเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรม มีเทคโนโลยีขั้นสูง ในปี 2558 World Bank จัดให้เดนมาร์กเป็นประเทศน่าลงทุนมากที่สุดอันดับ 1 ของยุโรป และอันดับ 4 ของโลก โดยมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน       ทั้งการคมนาคมขนส่ง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การเงินการธนาคาร 

ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาธุรกิจอย่างอิสระ ไม่กีดกันการลงทุนจากต่างชาติซึ่งได้รับโอกาสเท่าเทียมกันกับบริษัทเดนมาร์กจึงเป็นโอกาสของ    นักลงทุนไทยที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของเดนมาร์กเพื่อเป็นประตูเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับประเทศ  ตอนเหนือของยุโรป  ทั้งนี้ ประเทศแถบสแกนดิเนเวียต่างก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม         และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยด้านสุขภาพ และสภาวะโลกร้อนเป็นอย่างมาก ทำให้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าออร์แกนนิก รวมถึงสินค้าและอาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยจึงควรศึกษาโอกาสทางการค้าเพื่อหาลู่ทางขยายการส่งออกให้มากขึ้น

 ส่วนการลงทุนของเดนมาร์กในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางซึ่งเดนมาร์กมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ในช่วงปี 2556-2558 มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 28 โครงการ มูลค่ารวม 6,938 ล้านบาทเป็น     อันดับ 3 จากสหภาพยุโรป หนึ่งในบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยคือ Maersk Group ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลก    ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ครอบคลุม 130 ประเทศ พนักงาน 89,000 คน มีรายได้ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 โดยธุรกิจในไทยได้แก่ Maersk Line (Thailand) Ltd. ตั้งเมื่อปี 2492 มีปริมาณขนส่งสินค้าจากไทยในปี 2557 ประมาณ 614,000 TEU หรือ ร้อยละ 10  ของปริมาณการขนส่งสินค้าทางเรือทั้งหมดของไทย

APM Terminals เป็นผู้ถือหุ้นหลักของ  LCB1 ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการบริหาร Terminal B1  ท่าเรือแหลมฉบัง ต่อมา LCB1 ได้ถือหุ้นในบริษัท  LCMT Company Ltd. ซึ่งบริหาร Terminal Ao ทั้ง LCB1 และ LCMT ได้รับการส่งเสริม       การลงทุนจาก BOI นอกจากนี้ยังเป็นผู้บริหาร Siam Shoreside Services Limited ซึ่งให้บริการ ณ สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง( ICD ลาดกระบัง) มีสัดส่วนร้อยละ 30  ของปริมาณการให้บริการทั้งหมดในปี 2557 อีกธุรกิจ       คือ Damco Logistics (Thailand) Co., Ltd. ซึ่งให้บริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งการขนส่งทางอากาศ ทางทะเล คลังสินค้าและการกระจายสินค้า การให้คำปรึกษาและการบริหารระบบ Supply Chain รวมถึงบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 

 ขณะนี้ Maersk ให้ความสนใจกับประเทศไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของไทยที่มีความพร้อม         ด้านโลจิสติกส์ที่โดดเด่นในภูมิภาค ประกอบกับรัฐบาลมียุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ชัดเจนรวมถึงให้ความสำคัญ   กับการส่งเสริมธุรกิจบริการโดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น ดังนั้น แม้ Maersk จะมีสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย           ที่ฮ่องกง/สิงคโปร์ แต่ก็เล็งเห็นความสำคัญของไทย เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สามารถเข้าถึงประเทศ CLMV ได้สะดวก       และสามารถเชื่อมต่อด้าน inland พร้อมให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาด้าน    Trade Facilitation และการสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคโลจิสติกส์ของไทย นอกจากนี้ Maersk มีแผนลงทุนสร้างท่าเรือใหม่ที่ไนจีเรียกับกาน่า แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทั้งสองประเทศในภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่ไทยให้ความสนใจในการขยายตลาดเช่นเดียวกัน

 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 มี.ค. 2559 เวลา : 13:19:18

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 5:12 am