ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ธปท.เผยไอเอ็มเอฟประเมินศก.ไทยปี59โต3%และปี60โต3.2%



ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่ผลการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2559 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรื่อง สรุปผลการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2559 โดยคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (2016 Article IV Consultation)

 
 
ในโอกาสที่คณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2559 ตามนัยแห่งข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (2016 Article IV Consultation) ระหว่างวันที่ 3 – 18 มีนาคม 2559 นั้น Ms. Ana Corbacho (นางแอนนา กอร์บาโช) หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ ได้สรุปผลการประเมิน โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 
 
 
 
เศรษฐกิจไทยปี 2558 เริ่มฟื้นตัว หลังจากที่ชะลอลงในช่วงก่อนหน้าจากปัญหาทางการเมือง โดยขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบที่ร้อยละ 0.9 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ ของ ธปท. ที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 จากราคาพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญ โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและเงินเฟ้อคาดการณ์ปรับลดลงเช่นกัน 
 
 

สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.8 ของ GDP โดยได้รับอานิสงส์จากอัตราการค้า (Terms of Trade: TOT) ที่ปรับดีขึ้น การท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดี และการนำเข้าที่หดตัวตามอุปสงค์ในประเทศ ทั้งนี้ ตลาดการเงินไทยสามารถรับมือกับความผันผวนของตลาดการเงินโลกในช่วงที่ผ่านมาได้ค่อนข้างดี
 

 
มองไปข้างหน้า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3 ในปี 2559 และร้อยละ 3.2 ในปี 2560 ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นและราคาพลังงานที่อยู่ในระดับต่ำจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน อีกทั้งการลงทุนภาครัฐยังจะเป็นแรงส่งทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดยการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะกลับเป็นบวกได้ในปี 2559 แต่อาจใช้เวลาในการปรับเข้าสู่ค่ากลางของเป้าหมาย เงินเฟ้อ สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่าจะทยอยปรับลดลงในระยะปานกลางตาม TOT ที่ลดลง และอุปสงค์ ในประเทศที่ปรับดีขึ้น


เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ มองความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ว่ามาจากปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนที่อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวมากขึ้น และส่งผลกระทบเชิงลบต่อประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ ความผันผวนของตลาดการเงินโลกอาจก่อให้เกิดการไหลออกของเงินทุนและทำให้ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้น สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ ได้แก่ การเบิกจ่ายในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งหากล่าช้ากว่าคาดจะกระทบอุปสงค์ในประเทศได้ และหากเงินเฟ้อ ติดลบต่อเนื่องนานกว่าที่คาด อัตราดอกเบี้ยและภาระหนี้ที่แท้จริงจะปรับสูงขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงอาจส่งผลต่อการบริโภค และในกรณีที่สถานการณ์รุนแรงอาจส่งผลต่อฐานะของสถาบันการเงินได้
 

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ มองว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่งของไทยจะเอื้อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเสนอให้ทางการไทยดำเนินการใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

1) ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบผ่อนคลายที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเจริญเติบโตทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2) รักษาเสถียรภาพการเงิน และ 3) เพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจ
 

ในการนี้ คณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนปรนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (sustainable medium-term fiscal framework) โดยมองว่าแผนการลงทุนของภาครัฐมีความจำเป็นต่อการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการวางกรอบดังกล่าวในระยะปานกลางจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือของการดำเนินนโยบายการคลังด้วย
 

ทั้งนี้ กรอบดังกล่าวควรสนับสนุนกลยุทธ์ที่จะสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง และรองรับภาระการคลังจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging population) ในระยะต่อไปด้วย
 
นอกจากนี้ คณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯเสนอให้ทยอยปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นร้อยละ 10 เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนแล้ว รวมทั้งยังเสนอให้มีการพัฒนาโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (social safety net) เพื่อเตรียมรับความท้าทายเชิงโครงสร้างซึ่งรวมถึงการใช้เงินในงบประมาณ (on-budget) เพื่อให้การอุดหนุนแบบตรงเป้าหมาย (well-targeted cashtransfer) การเพิ่มทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 
 
สำหรับนโยบายการเงิน อาจผ่อนคลายได้เพิ่มเติม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและช่องว่างการผลิต(output gap) ยังติดลบ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและเงินเฟ้อคาดการณ์อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงยังมีความเสี่ยงด้านต่ำอื่นๆ ทั้งนี้ การสื่อสารที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อให้ดียิ่งขึ้นภายใต้ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าใกล้ศูนย์ (zero lower bound) ซึ่งเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯเห็นว่ากรอบนโยบายการเงินของไทยมีมาตรฐานความโปร่งใสในระดับสูงและเห็นด้วยกับการกำหนดเป้าหมาย

 
เงินเฟ้อทั่วไปในระยะปานกลาง ซึ่งการสื่อสารเป้าหมายดังกล่าวแก่สาธารณชนที่ชัดเจนขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของของนโยบายด้วย ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นจะเป็นปราการด่านแรก (first line of defense) ที่ช่วยรองรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก อย่างไรก็ดี ทางการสามารถพิจารณาเข้าดูแลได้ตามความเหมาะสม (judicious intervention) ในภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูงเกินไปจนอาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ มาตรการ macroprudential ต่างๆ จะสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบ(systemic risk) ภายใต้ภาวะดอกเบี้ยต่าได้ ทั้งนี้ แม้ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินในปัจจุบันยังมีจากัดหน่วยงานต่างๆ ก็ควรติดตามอย่างใกล้ชิดและพัฒนากรอบการดูแลเสถียรภาพการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนอกจากนี้ การมอบอำนาจการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions:SFIs) ให้แก่ ธปท. รวมทั้งการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานกากับต่างๆ เป็นการดำเนินการที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อร่วมกับการเพิ่มเครื่องมือกำกับดูแล (macroprudential toolkit) ก็จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพการเงินในภาพรวม

ทั้งนี้ การที่ไทยจะก้าวข้ามกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (middle-income trap) ต้องอาศัยความร่วมมือดำเนินการในหลายด้าน เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ ตระหนักถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงผ่านการให้สิทธิประโยชน์และการใช้ประโยชน์จาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZ) บริเวณชายแดน 

 
ทั้งนี้ ควรจะต้องมีการประเมินแผนงานอย่างต่อเนื่อง และมีการประสานงานอย่างรอบคอบระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายดังกล่าว ในขณะเดียวกัน การปฏิรูประบบบำนาญ (pension schemes) และการอำนวยความสะดวกในการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน จะช่วยลดผลกระทบของปัญหา การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุต่อศักยภาพการผลิตของประเทศและฐานะทางการคลังได้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ ยังเสนอให้ไทยปฏิรูปคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจ ที่ทันสมัยขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงาน นอกจากนี้ การรวมตัวทางการค้า (trade integration) จะช่วยสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันกับภายนอกและกระตุ้นการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้วย

 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 29 มี.ค. 2559 เวลา : 11:09:01

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 9:21 pm