ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ผลโพลระบุปชช.52%หนุนส.ว.ร่วมโหวตเลือกนายกฯ


 


ก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ                     ร่างรัฐธรรมนูญ  ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ายังมีประเด็นต่างๆที่เป็นข้อถกเถียงและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือก ส.ส. ที่มาและจำนวนของ ส.ว. และกรณีที่จะมีคำถามพ่วงไปในการทำประชามติรัฐธรรมนูญ อีก 1 คำถาม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีทั้งคนที่เห็นด้วยและเห็นต่าง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน                       ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,265 คน สำรวจระหว่างวันที่ 4-9 เมษายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
 
 
 


เมื่อถามว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? กรณี การทำประชามติรัฐธรรมนูญที่มีคำถามพ่วงให้ประชาชนตอบอีก 1 คำถาม

อันดับ 1 เห็นด้วย 61.35%เพราะ   หากเป็นคำถามสำคัญและมีประโยชน์ต่อบ้านเมืองก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร  ทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม                   ในการแสดงความคิดเห็น  สามารถตอบได้  ไม่ได้ยุ่งยากจนเกินไป  ฯลฯ

อันดับ 2 เฉยๆ 25.53%เพราะ   ยังไม่ทราบความคืบหน้า ไม่รู้รายละเอียดที่ชัดเจน ประชาชนมีสิทธิที่จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้  ควรมีการชี้แจงถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเพิ่มคำถาม สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ฯลฯ

อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 13.12%เพราะ   กังวลว่าจะเป็นการตั้งคำถามที่ชี้นำหรือทำให้ประชาชนสับสน ตัดสินใจผิดพลาดได้  มีหลายกระแสมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ควรเน้นเฉพาะเรื่องการทำประชามติเท่านั้น ฯลฯ

เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ควรใช้บัตรเลือกตั้งกี่ใบ?
อันดับ 1 1 ใบ 62.14%เพราะ  การกาบัตรสะดวก เข้าใจง่าย  เจ้าหน้าที่นับคะแนนง่าย การตรวจสอบไม่ยุ่งยาก ประหยัดงบประมาณ ฯลฯ
อันดับ 2 2 ใบ 22.21%เพราะ  ประชาชนจะได้ไม่สับสนในการเลือกคนหรือลงคะแนน  ที่ผ่านมาก็ใช้วิธีกาบัตร 2 ใบ ประชาชนมีความ                คุ้นเคยอยู่แล้ว  ฯลฯ
อันดับ 3 1 ใบหรือ 2 ใบก็ได้   15.65%เพราะ  ถึงอย่างไรประชาชนก็ต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ขอให้กระบวนการขั้นตอนต่างๆเป็นไปด้วยความถูกต้อง ยุติธรรม จะ 1 ใบ หรือ 2 ใบ ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร ฯลฯ 


เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าควรให้ ส.ว. (มาจากการสรรหา) ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่?
อันดับ 1 ควรให้ร่วมโหวตเลือกนายกฯ         52.02%เพราะ  ส.ว.เป็นส่วนหนึ่งของสภาควรจะมีสิทธิในการเลือกนายกรัฐมนตรี  เพื่อความยุติธรรม เท่าเทียม                                 ส.ว.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และมากประสบการณ์ การเลือกนายกฯจะได้มาจากความคิดที่หลากหลาย ฯลฯ 
อันดับ 2 ไม่ควรให้ร่วมโหวตเลือกนายกฯ         47.98%เพราะ  อาจมีการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดการแตกแยก นายกรัฐมนตรีควรมาจากเสียงของประชาชน                 ส.ว.ควรมีหน้าที่ให้คำปรึกษาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจเท่านั้น ฯลฯ 


เมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่าควรมี “คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ” หรือไม่?             
อันดับ 1 ควรมี 62.45%เพราะ  จะได้เป็นตัวกลางช่วยประสานสร้างความสมานฉันท์  สามารถขับเคลื่อนการทำงานให้เห็นเป็นรูปธรรม                       ได้อย่างเต็มที่  อยากเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในบ้านเมือง ฯลฯ

อันดับ 2 มีก็ได้ไม่มีก็ได้ 19.05%เพราะ  แล้วแต่เสียงส่วนใหญ่ตัดสินใจ ยังไม่เห็นความชัดเจนว่าจะเป็นใคร ทำงานอย่างไร ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของรัฐบาล จะทำวิธีการใดก็ได้ขอให้เกิดความปรองดองอย่างแท้จริง ฯลฯ

อันดับ 3 ไม่ควรมี 18.50%เพราะ  สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่น่าจะช่วยสร้างความปรองดองได้ ปัญหาความแตกแยกมีมานานแก้ไขได้ยาก       ขึ้นอยู่กับทัศนคติของแต่ละคน  ทุกฝ่ายควรช่วยกันไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการปรองดอง ฯลฯ 
 

บันทึกโดย : วันที่ : 10 เม.ย. 2559 เวลา : 08:36:08

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 3:52 pm