ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ส.รับสร้างบ้านญี่ปุ่นสนใจ HBA Model


 



สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารสมาคมรับสร้างบ้านจากญี่ปุ่น หารือความร่วมมือเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ให้ความสนใจ “HBA Model :โครงการอาชีวศึกษาระบบภาคี” มีรายได้ระหว่างฝึกพร้อมสวัสดิการ ฝึกจบมีงานทำการันตีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
 

นายพิชิต อรุณพัลลภ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA : Home Builder Association) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านได้มีโอกาสต้อนรับคณะกรรมการของของ JTA (Japan Traditionnal Wooden Home Association) ซึ่งเป็นสมาคมเกี่ยวกับการรับสร้างบ้านประเภทไม้(แบบดั้งเดิม) และIforce  จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งนำโดยมร.คาซึยะ ทามากิ (Mr.Katsuya Tamaki) กรรมการบริหารอาวุโส บริษัท ทามะโฮม จำกัด (Tama Home Co., Ltd. ) ,มร. ชินยะ นิชิดะ (Mr.Shinya Nishida )กรรมการ(Diretor ) ของ JTA (Japan Traditionnal Wooden Home Association) , มร.คิมิโตะ  ฮิงูจิ (Mr.Kimito Higuchi) ประธานกรรมการบริหาร (CEO :Chief Executive Officer)Iforce   และ  มร.ชูเฮ นิชิโมโตะ(Mr.Shuhei Nishimoto) เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์( CSO:Customer Service Officer)ของ Iforce  
 
 
 
การเดินทางมาที่สมาคมฯครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความรู้จักซึ่งกันและกัน  แลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านต่างๆ ทั้งภาพรวมของธุรกิจก่อสร้างในประเทศไทย รวมถึงการดำเนินงานของสมาคมฯ ภายใต้โครงการ HBA MODEL ในการผลักดันการศึกษาให้เกิดขึ้นในชื่อ “โครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี” ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจสอบถามในรายละเอียดต่างๆ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีรายได้ระหว่างฝึก 9,000 บาทต่อเดือนพร้อมที่พักและสวัสดิการต่างๆ ฝึกจบมีงานทำทันทีการันตีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
 Iforce เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ที่รับคนฝึกงาน ซึ่งมีสมาชิกเป็นสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านคือ JTA และกลุ่มอาชีพเกี่ยวกับการก่อสร้าง ซึ่งหนึ่งในสมาชิกคือTama Home Co., Ltd. บริษัทรับสร้างบ้านรายใหญ่อันดับ 10 ของญี่ปุ่น เป็นสมาชิกมีธุรกิจในเครือทั้งการก่อสร้าง การออกแบบทางสถาปัตยกรรม, อสังหาริมทรัพย์และการประกันภัย (Construction, Architectural design, Real estate, and Insurance agency) 
บูมก่อสร้างรับญี่ปุ่นเจ้าภาพโอลิมปิค TOKYO 2020
นายพิชิต กล่าวยังกล่าวด้วยว่า ทางญี่ปุ่นมีความสนใจ โมเดลโครงการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสมาคมฯ เรามาก เพราะมองว่าเป็นโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรด้านแรงงาน ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และจะยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องการใช้แรงงานอีกจำนวนมากในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย สนามกีฬา และอื่นๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในอีก 4 ปีข้างหน้าที่ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิค TOKYO 2020(พ.ศ. 2563) ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึงได้ขยายเวลาให้ฝึกงานเป็น 5 ปีจากปกติทำงาน 3 ปีต้องกลับประเทศ 

นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้เพิ่มสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ที่สำเร็จการฝึกงานเทคนิคคนไทยให้สามารถมีสิทธิ์อยู่ต่อในประเทศญี่ปุ่นได้อีก 2 ปีโดยไม่ต้องผ่านการสอบแต่อย่างใด แต่ต้องมีประสบการณ์ที่พำนักอาศัยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเกี่ยวกับงานด้านการก่อสร้าง โดยโครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 จนถึงปี 2563  ซึ่งสะท้อนภาพว่า ญี่ปุ่นมีความต้องการแรงงานในด้านการก่อสร้างจำนวนมาก

เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดงานก่อสร้างภายในประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น  ทั้งสองหน่วยงานคือ Iforce และ JTA จากญี่ปุ่นได้จัดทำโครงการ “Business Study tour and technical knowledge exchange event in residential construction industry” โดย JTA จะพาสมาชิกที่เป็นบริษัทรับสร้างบ้านจากญี่ปุนจำนวนไม่น้อยกว่า 10 บริษัทเดินทางมาประเทศไทย (จากจำนวนสมาชิกทั้งหมดกว่า 1,000 ราย) ในเดือนกรกฎาคม 2559 เพื่อเยี่ยมสถานงานก่อสร้าง และโรงเรียนหรือสถานการศึกษาที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างในจังหวัดสมุทรปราการ และสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ส่วนจะเป็นความร่วมมือกันในลักษณะใดบ้างนั้นคงต้องหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง

“การพบกันครั้งนี้อาจมีโอกาสเชื่อมโยงธุรกิจกันในอนาคต” นายพิชิต กล่าว พร้อมกับระบุว่า ญี่ปุ่นจะมีโครงสร้างธุรกิจเป็นขนาดกลาง และขนาดเล็ก และญี่ปุ่นเอง การปลูกบ้านอยู่อาศัยจะใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ส่วนที่เหลือ 20% จะว่าจ้างผู้รับเหมาทั่วไป ขณะที่ประเทศไทยประมาณ 80% จะว่าจ้างผู้รับเหมาทั่วไปปลูกสร้างบ้านให้ แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ทางสมาคมฯได้มีการจัดเก็บ สัดส่วนการว่าจ้างบริษัทรับสร้างบ้านค่อยๆ มีแนวโน้มขยับเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคหันมาว่าจ้างบริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น เนื่องจากเชื้อมั่นในคุณภาพและการบริการต่างๆ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 เม.ย. 2559 เวลา : 15:46:36

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 12:22 pm