ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หยิบเงินหยิบทอง - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง


 


ตลาดหุ้นไทยวานนี้
         
SET INDEX วานนี้ยังมีความพยายามที่จะไต่ระดับขึ้นทดสอบด่าน 1,430 จุด แต่ก็เกิดแรงขายทำกำไรมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นหลักในกลุ่มพลังงาน / ICT / ขนส่ง ซึ่งเกิดแรงขายมากขึ้นในช่วงท้ายตลาด ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX ลบทั้งสิ้น 7.31 จุด มาอยู่ที่ 1,415.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 42,858 ล้านบาท
         
กระแสเงินทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ 428 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 2,286 ล้านบาท แต่คงการ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 6 อีก 4,702 สัญญา 

ปัจจัยสำคัญวันนี้
          - รายงาน Beige Book ส่งสัญญาณเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตปานกลางถึงดีเล็กน้อย ใกล้เคียงกับรายงานครั้งก่อน
          - ติดตามการประชุม ECB คาดประธาน ECB อาจส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น
          - ติดตามการประชุมโอเปก คืนนี้ คาดว่าจะไม่มีความคืบหน้าเรื่องการควบคุมกำลังการผลิตของสมาชิก 

มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 7)

SET INDEX ปรับฐานลงหลุดแนว 1,420 จุดวานนี้ และหากประเมินปัจจัยแวดล้อม 1-2 วันนี้ นักลงทุนทั่วโลกต่างรอดูปัจจัยสำคัญในคืนนี้
         
- ผลการประชุม ECB เราประเมินว่า ECB จะยังไม่เพิ่มมาตรการ เพื่อรอดูผลการทำประชามติกรณี Brexit ในวันที่ 23 มิ.ย. ก่อนพิจารณาเพิ่มมาตรการ 
         
- การประชุมโอเปก เราคาดสมาชิกในกลุ่มโอเปกจะยังไม่สามารถตกลงกำหนดเพดานการผลิต หลังราคาน้ำมันดิบ NYMEX ฟื้นตัวขึ้นมาแกว่ง US$45-50/barrel ณ ปัจจุบันแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องมาลดโควต้าการผลิตในกลุ่ม 
         
ด้วยปัจจัยข้างต้น เราประเมิน SET INDEX แกว่งระหว่าง 1,410-1,420 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.0 หมื่นล้านบาท/วัน +/- โดยหุ้นหลักในกลุ่มพลังงาน /ธนาคาร / ICT จะทรงตัวถึงปรับฐานลง แต่เงินทุนที่ออกจากกลุ่มเหล่านี้ บางส่วนน่าจะเข้าเก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง ที่ช่วงสั้นจะฟื้นตัว 
          กลยุทธ์การลงทุน หลังจากที่เราแนะนำให้ขายทำกำไรหุ้นหลักไปก่อนหน้านี้ นักลงทุนอาจเริ่มกลับมาทยอยสะสมหุ้นหลักบางส่วน แต่เน้นเก็งกำไรในหุ้นขนาดกลางในช่วงสั้นนี้ 

Stock Pick of The Day
          1.  สะสม BBL : ราคาปิด 163.00 บาท ราคาเหมาะสม 178.00 บาท
          a)  MBKET คงมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2559 โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2H59 ที่เชื่อว่าภาคบริโภคจะเติบโตชัดเจนจากราคาสินค้าเกษตรที่ขยับขึ้น, ผ่านพ้นภาวะภัยแล้ง และเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคารที่มีความเชื่อมโยงโดยตรงการระบบเศรษฐกิจ
          a)  จุดเด่นของ BBL อยู่ที่ Coverage Ratio ที่ถึง 175% และลูกค้าหลักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ไม่ใช่ SMEs จึงมีความเสี่ยงของคุณภาพของสินทรัพย์ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นๆในกลุ่ม 
          b)  Valuation ถูก ที่ระดับ PBV2559 เพียง 0.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่ 1.1 เท่า และให้ Dividend Yield ในเกณฑ์ดีที่ 4.6% 

          2.  เก็งกำไร TVT : ราคาปิด 2.12 บาท ราคาเหมาะสม 2.70  บาท 
          a)  MBKET เชื่อว่าหุ้นขนาดกลาง – เล็ก จะเคลื่อนไหว Outperform ตลาด เนื่องจากหุ้นกลุ่มหลักพักฐาน เพื่อรอดูผลการประชุม OPEC และการประชุมเฟด ซึ่งจะส่งเป็นตัวแปรสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติ 
          b)  คาดกำไรสุทธิ 2Q59 จะเติบโตสูง yoy จากผลตอบรับที่ดีของรายการ Hidden Singer และ Take me out  และมีประเด็นบวกที่เป็น Catalyst หากสามารถปิดดีลซื้อกิจการได้ทันภายใน 2Q59
          c)  ซื้อขายที่ระดับ PER2559 ที่ 23 เท่า เทียบกับหุ้นกลุ่มสื่อที่ 25-30 เท่า ขณะที่กำไรสุทธิปี 2559 คาดว่าจะเติบโตก้าวกระโดด +41% yoy เป็น 71 ล้านบาท เทียบเท่าระดับ PEG เพียง 0.5 เท่า

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 มากถึง US$520 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$259 ล้าน 
มีเพียง SET  เท่านั้นที่ถูกขายสุทธิ

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 6
          นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เพียงเล็กน้อย 428 ล้านบาท เทียบกับ 5 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 5,596 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม YTD ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิแต่ลดลงเล็กน้อย เป็น 17,686 ล้านบาท
          ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 6 อีก 4,702 สัญญา รวม 6 วันทำการ Long สุทธิ 41,395 สัญญา คาดว่าจะเป็นการทยอยเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง ทำให้ยอดสุทธิ QTD สถานะคงการ Long สุทธิขยับขึ้นเป็น 29,780 สัญญา และกดดันให้ S50M16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 3 แคบลงเหลือเพียง 0.95 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 1.81 จุด  
          และนักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 2,286 ล้านบาท เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 24,645 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงเป็นวันที่ 6 โดยพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 6 เพียง 1.06bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้นถึง 17.23bps ปิดที่ 2.346%  

Short-Selling วานนี้ 
เท่ากับ 780 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าที่ 726 ล้านบาท 

NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 13 เน้นสะสมกลุ่มธนาคารกว่าครึ่ง 
          การซื้อขายผ่าน NVDR คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 13 อีก 1,164 ล้านบาท ลดลงจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 2,976 ล้านบาท รวม 13 วันทำการซื้อสุทธิ 14,616 ล้านบาท ทั้งนี้ NVDR เลือกเน้นสะสมกลุ่มธนาคารอย่างโดดเด่น 

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
          รายงาน Beige Book ประเมินเศรษฐกิจเติบโตปานกลาง ตลาดแรงงานตึงตัว
          เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตในระดับปานกลางถึงดีเล็กน้อยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ตั้งแต่งกลางเดือนเม.ย. ส่งผลให้ตลาดแรงงานตึงตัว เพราะเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าแรงงานเพิ่มขึ้นปานกลาง
          ภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลักดันจากการใช้จ่ายผู้บริโภค, การจ้างงาน, ความต้องการสินเชื่อและการบริการทางการเงินที่ดีขึ้น ภาคการผลิตยังเป็นภาพที่ไม่ชัดเจน ขณะที่อุตฯ พลังงาน ยังคงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ลดลง
          ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดเป็นส่วนใหญ่
          ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนพ.ค. เท่ากับ 50.7 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 50.5 จุด แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 50.8 จุด ทั้งนี้ผลผลิตกลับหดตัวต่ำกว่า 50 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีครึ่ง เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ชะลอตัวเกือบตลอดปี 
          ดัชนี ISM ภาคการผลิต เดือนพ.ค. 51.3 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 50.6 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 50.8 จุด สะท้อนความต้องการที่แข็งแกร่ง และ Supply chain ที่ชะลอตัว
          การใช้จ่ายภาคการก่อสร้าง เดือนเม.ย. หดตัว 1.8% mom สวนทางกับ Bloomberg consensus คาด +0.6% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 1.5% mom เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2554

ยุโรป
          OECD ประเมินเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ต่ำกว่าคาด: ประธาน OECD ประเมินเศรษฐกิจโลก ไม่ฟื้นตัวในปีนี้ และจะปรับตัวดีขึ้นในระดับเบาบางในปี 2560 โดย OECD ประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโต 3.0% เท่ากับปี 2558 และจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในปี 2560 การค้าระหว่างประเทศจะขยายตัวเพียง 2-3% จากที่ควรจะเป็น 7% เนื่องจากประเทศเกิดใหม่หลายประเทศได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ 
          เศรษฐกิจสวิสขยายตัวต่ำกว่าคาด: 1Q59 เติบโตเพียง 0.1% qoq ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 0.3% qoq และต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.4% qoq โดนการใช้จ่ายของรัฐบาลหดตัวถง 0.8% qoq ขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัว 0.7% qoq การส่งออกเติบโต 2.1% qoq

จีน          
          ค่าแรงงานในจีนเพิ่มขึ้นเด่นในปีที่แล้ว: ค่าแรงงานเฉลี่ยในต่างจังหวัด เพิ่มขึ้น 10.1% yoy ในปีที่แล้ว เป็น 62,029 หยวน และเป็นการเติบโตที่เร่งขึ้นจากปี 2557 ที่ 9.5% yoy เนื่องจากปีที่แล้ว รัฐบาลได้เพิ่มขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 

เอเชียแปซิฟิก
         
ญี่ปุ่นผ่านแผนการเลื่อนขึ้นภาษี VAT เป็นปลายปี 2562: นายกฯ ญี่ปุ่น ได้เสนอต่อสภาฯ เพื่อเลื่อนการขึ้นภาษี VAT จาก 8% เป็น 10% ไปอีก 2 ปีครึ่ง หรือ เดือนต.ค. 2562 จากแผนเดิมที่เดือนเม.ย. 2560 เพื่อต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวได้แข็งแกร่งมากพอที่จะรองรับการขึ้นภาษี VAT พร้อมกับเลื่อนการให้เงินสนับสนุนในโครงการประกันสังคม เพื่อให้แหล่งเงินทุนกับแหล่งใช้ไปของเงินทุนสอดคล้องกัน 
         
เศรษฐกิจออสเตรเลีย ขายตัวดีสุดใน 4 ปี: เติบโต 1.1% qoq ใน 1Q59 เร่งขึ้นจาก 4Q58 ที่เติบโต 0.7% qoq หรือคิดเป็น 3.1% yoy ซึ่งก็ดีกว่าที่ Bloomberg consensus คาด 2.8% yoy โดยผลักดันจากการส่งออกที่เติบโต 4.4% yoy และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ +0.7% yoy
         
เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตมากกว่าตัวเลขครั้งก่อน: ขยายตัว 2.8% yoy ใน 1Q59 เทียบกับการประเมินครั้งก่อนที่ 2.7% yoy นอกจากนี้เป็นการเติบโต 0.5% qoq นำโดยภาคก่อสร้างและการใช้จ่ายภาครัฐที่เติบโต 6.8% qoq และ 1.3% qoq ขณะที่การส่งออกและการบริโภคหดตัว 1.1% qoq และ 0.2% qoq
          อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียขยายตัวต่ำสุดในรอบมากกว่า 6 ปี: เพิ่มขึ้น 3.33% yoy ในเดือน พ.ค. จากเดือนก่อนที่ +3.60% yoy แต่สูงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด +3.30% yoy เพิ่มโอกาสให้ธนาคารกลางผ่อนคลายนโยบายการเงิน จากที่คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา หลังปรับลดอัตราดอกเบี้ยไป 3 ครั้งในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

ตัวเลขการผลิตเดือน พ.ค.ในเอเชียส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น:
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 47.7 จุด จากเดือน เม.ย. 47.6 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.1 จุด จากเดือน เม.ย.50.0 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของมาเลเซียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 47.2 จุด จากเดือน เม.ย. 47.1 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของอินเดียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.7 จุด จากเดือน เม.ย. 50.5 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของเวียดนามเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.7 จุด จากเดือน เม.ย. 52.3 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของอินโดนีเซียลดลงอยู่ที่ระดับ 50.6 จุด จากเดือน เม.ย. 50.9 จุด
          ดัชนี Nikkei PMI ภาคการผลิตของไต้หวันลดลงอยู่ที่ระดับ 48.5 จุด จากเดือน เม.ย. 49.7 จุด

ไทย
         
รองนายกฯ คาด GDP ปีนี้ขยายตัว 3.3-3.5%: นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัวเป็นลำดับ คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ จีดีพี ปีนี้จะขยายตัวได้ 3.3 – 3.5% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 2.8% ขณะที่ระดับหนี้สาธารณะมี 45% ของจีดีพี การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ 0.9% ของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด รัฐบาลมีแผนปฏิรูปประเทศระยะยาวอย่างยั่งยืน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การปฏิรูปเศรษฐกิจลดความเหลื่อมล้ำ การลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และการสร้างความเชื่อมโยง และการพัฒนาการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประชาคมอาเซียน (เออีซี)
         
อัตราเงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2: เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.46% yoy จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 0.07% yoy และมากกว่า Bloomberg Consensus คาดเพิ่มขึ้น 0.27% yoy เป็นผลจากราคาอาหารที่สูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง นอกจากนี้เงินเฟ้อในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.56% mom อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน 5M59 ยังคงปรับลดลง 0.20% yoy ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 59 เพิ่มขึ้นในกรอบ 0.0-1.0% โดยประเมินว่าการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ จะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ  

 
 
โดย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ประจำวันที่ 2 มิ.ย. 2559


 

บันทึกโดย : วันที่ : 02 มิ.ย. 2559 เวลา : 09:27:55

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 5:36 am