ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หยิบเงินหยิบทอง - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง


 


ตลาดหุ้นไทยวานนี้
          
SET INDEX วานนี้ เริ่มเข้าสู่โหมดของการปรับฐานอย่างแท้จริง เกิดแรงขายหุ้นหลักทั้งกลุ่มธนาคาร / ICT / พลังงาน / ปิโตรเคมี กด SET INDEX หลุดแนว 1,420 จุด มาปิดที่ 1,411.19 จุด ลบ 23.70 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 46,764 ล้านบาท 
 
ทั้งนี้ต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทย 967 ล้านบาท คงการ Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 เร่งขึ้นเป็น 6,254 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 อีก 603 ล้านบาท แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย

ปัจจัยสำคัญวันนี้
          BoJ และ BoE คงนโยบายการเงินตามคาด โดยให้ความเสี่ยงกับ Brexit เป็นสำคัญ
          โพลล่าสุดวันที่ 15 มิ.ย. Brexit ลดลงจาก 46% เป็น 45% และ Bremain ขยับจาก 41% เป็น 42% 

ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
          การประชุม กนง. วันที่ 22 มิ.ย. เราและตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ย RP1 วันที่ 1.50%
          ติดตามผลโพลโค้งสุดท้ายช่วงสุดสัปดาห์นี้ ก่อนการลงประชามติของชาวอังกฤษ กับ “Brexit” วันที่ 23 มิ.ย.
          ติดตามตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ค.ของไทย วันที่ 25 มิ.ย.

มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 18)
         
หลัง SET INDEX ปรับฐานลงแรงกว่า 20 จุดวานนี้ ด้วยความกังวลต่อกรณี Brexit และราคาน้ำมันดิบที่ปรับฐานลงต่อเนื่อง ส่งผลให้สถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพอร์ตโบรกเกอร์ต่างเร่งลดพอร์ตการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับที่เราประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ภาพตลาดหุ้นวันนี้ เรากลับให้น้ำหนักของการเกิด Technical rebound ประเมินกรอบแกว่ง 1,410-1,420/25 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบาง เนื่องจากเป็นการซื้อขายวันสุดท้ายของสัปดาห์
         
สำหรับทิศทางการลงทุนในสัปดาห์หน้า แน่นอนว่าโพลสำรวจชาวอังกฤษต่อการลงประชามติจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงระดับความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยง หาก Brexit มีสัดส่วนแตะระดับ 50% ย่อมกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วน SET INDEX มีโอกาสหลุดแนว 1,400 จุด สู่แนวรับสำคัญ 1,380 จุด ในมุมมองกลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุน “รอทยอยสะสมหุ้นหลัก เน้น Domestic Play บริเวณ 1,400 จุด หรือต่ำกว่า” เพราะประเด็นของ Brexit ไม่มีผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน 
         
ขณะที่หาก SET INDEX เกิด Technical Rebound ในวันนี้ คือโอกาสของการทยอยขายทำกำไร และถือเงินสดต่อเนื่อง

Stock Pick of The Day          
          1. สะสม BANPU : ราคาปิด 12.40 บาท ราคาเหมาะสม 14.20 บาท
          a) MBKET เชื่อว่าราคาถ่านหินในตลาดโลกได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้วและจะค่อยๆฟื้นตัวในปี 2559 จากการเกิด Restocking และ Supply ถ่านหินในจีนลดลง จากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เหมืองถ่านหินที่ประสิทธิภาพในการผลิตต่ำลดกำลังการผลิตลง 
          b) คาดกำไรสุทธิ 2Q59 มีโอกาสพลิกกลับมาเป็นบวก แม้ว่าธุรกิจถ่านหินจะทรงตัว qoq แต่รายได้จากโรงไฟฟ้าหงสาทั้ง 3 เฟสคาดว่าจะปรับตัวขึ้น qoq และช่วยหนุนผลประกอบการให้พลิกกลับจากขาดทุน 183 ล้านบาทใน 1Q59
          c) Downside Risk จำกัด เนื่องจากซื้อขายเพียง 0.8 เท่าของมูลค่าทางบัญชี และ Catalyst ในระยะกลาง คือการนำ Banpu Power เข้าจดทะเบียน IPO จะเป็นการปลดล็อก Asset Value และเป็นบวกโดยตรงต่อ Market Cap ของ BANPU            
          2. สะสม CK : ราคาปิด 27.25 บาท ราคาเหมาะสม 34.00 บาท
          a) MBKET ประเมินว่าหุ้นกลุ่ม Domestic Play จะ Outperform ตลาด เนื่องจากพึ่งพิงปัจจัยในประเทศ เทียบกับกลุ่ม Global Play ที่จะผันผวนจากการทำประชามติของอังกฤษในวันที่ 23 มิ.ย.
          b) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมีปัจจัยบวก หลังวานนี้บอร์ดรฟม.ได้อนุมัติ TOR โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้ว แบ่งเป็น 6 สัญญา มูลค่ารวม 76,240 ล้านบาท โดยจะเปิดขายซองประมูลในวันที่ 1 ก.ค. และจะใช้ระยะเวลาราว 3 เดือน ในการพิจารณาคุณสมบัติ, พิจารณาด้านเทคนิค และเข้าสู่ขั้นตอนการประมูล 
          c) CK เป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในประเทศ จึงมีความพร้อมสูงในการเข้าประมูลงานขนาดใหญ่ และมีโอกาสได้งานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายมูลค่าสูงถึง 2.5 หมื่นล้านบาท หาก BEM ซึ่งเป็นบริษัทลูกชนะงานเดินรถ และ Downside Risk จำกัด เนื่องจาก NAV จากการถือหุ้นใน BEM, CKP และ TTW คิดเป็นมูลค่า 24.00 บาทต่อหุ้น 

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ US$313 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดพร้อมกันอีกครั้ง
          นักลงทุนต่างชาติ กลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง 967 ล้านบาท และทำให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิลดลงเล็กน้อย เป็น 27,209 ล้านบาท
          ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 3 เร่งขึ้นเป็น 6,254 สัญญา รวม 3 วันทำการ Short สุทธิ 14,994 สัญญา คาดว่าเป็นการเร่งปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง และS50M16 ปิดสูงกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 5 แคบลงเหลือ 0.59 จุด จากวันก่อนหน้าปิด Premium เท่ากับ 2.30 จุด กดดันให้ยอดสุทธิ QTD สถานะคงการ Long สุทธิลดลงต่อเนื่อง เป็น 21,752 สัญญา  
          และนักลงทุนกลุ่มนี้คงการขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 อีก 603 ล้านบาท รวม 3 วันทำการขายสุทธิ 5,710 ล้านบาท เทียบกับ 8 วันทำการซื้อสุทธิ 65,163 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลง ผ่านพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 3 อีกเล็กน้อย 0.34bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 3.36bps ปิดที่ 2.139%  

Short-Selling วานนี้ 
เร่งขึ้นเป็น 1,314 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 760 ล้านบาท           

NVDR Movement
NVDR กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ เน้นหุ้นที่ Fully Value เป็นหลัก 
          การซื้อขายผ่าน NVDR กลับมาขายสุทธิอีกครั้ง เพียง 116 ล้านบาท จาก 2 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 1,910 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นที่น่าสนใจว่า NVDR เลือกที่จะลดน้ำหนัก – สะสม เป็นหุ้นรายตัวเป็นสำคัญ   

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
 
          ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด
          - อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค. เท่ากับ 0.2% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 0.3% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.4% mom หากพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง เดือนพ.ค.เท่ากับ 0.2% mom เท่ากับเดือนก่อนหน้าและตลาดคาดการณ์
          - ยอดขอสวัสดิการว่างงาน เท่ากับ 2.77 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าที่ Bloomberg consensus คาด 2.70 แสนตำแหน่ง แต่สูงกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.64 แสนตำแหน่ง
          - ดัชนี Philadelphia Fed Business outlook เดือนมิ.ย. เท่ากับ 4.7 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาดการณ์ที่ 0.8 จุด และฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ -1.8 จุด แม้ว่าคำสั่งซื้อใหม่จะยังติดลบเป็นเดือนที่ 2  และการจัดส่งหดตัวลงเป็นเดือนที่ 3

ยุโรป
          รัฐบาลสวิสประเมินเศรษฐกิจเติบโตปานกลาง แต่มีความเสี่ยงระยะสั้น: เศรษฐกิจปีนี้คาดว่าจะขยายตัว 1.4% และขยับเป็น 1.8% ในปีหน้า เป็นการคงประมาณการจากเดือนมี.ค. สัญญาณด้านเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวไปในเชิงบวกปีนี้และปีหน้า เพียงแต่ระยะสั้น มีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงประชามติของอังกฤษ
          BoE คงนโยบายการเงินตามคาด ให้น้ำหนักกับ Brexit: พร้อมให้ความเห็นหากชาวอังกฤษลงประชามติให้ออกจากการเป็นสมาชิกภาพกลุ่มอียู จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินปอร์ดให้อ่อนค่าอย่างมีนัยยะสำคัญ รวมถึงสร้างความเสียหายต่อตลาดโลกและเศรษฐกิจโลก ในแง่ของเศรษฐกิจอังกฤษ จะเติบโตลดลง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น พร้อมกับการว่างงานที่เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้ BoE คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5%

จีน          
          ไม่มี

เอเชียแปซิฟิก
          BoJ คงนโยบายการเงินตามตลาดคาด: คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย -0.1% และวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ Yen80 ล้านล้าน/ปี พร้อมยืนยันเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวระดับปานกลาง โดยการลงทุนภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น การจ้างงาน และการลงทุนในตลาดบ้าน แม้ว่าการบริโภคภายในประเทศจะยังเปราะบางก็ตาม ภายใต้อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะกลับมาเป็น 0% ภายในปีนี้ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
          
ธนาคารกลางอินโดนีเซียลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4: อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง 25 bps สู่ระดับ 6.50% จากเดิมที่ 6.75% สวนทางกับที่ Bloomberg Consensus ประเมินว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 ในปี 2559 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้เศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยง รวมถึงความไม่แน่นอนของ Brexit รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.ของอินโดนีเซียต่ำสุดในรอบ 6 ปี ทำให้ธนาคารกลางมีช่องว่างเพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงิน

ไทย
          ไม่มี
 

โดย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ประจำวันที่ 17 มิ.ย. 2559




 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 17 มิ.ย. 2559 เวลา : 10:21:32

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 6:45 am