ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
กรมชลฯ พร่องน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา รับมือพายุโซนร้อน เซินกา (SONCA)


กรมชลประทาน พร่องน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เตรียมพื้นที่รองรับน้ำเหนือ เนื่องจากจากฝนตกหนักด้วยอิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินกาย้ำทุกโครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยงภัย จับตาอย่างใกล้ชิด 

 

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พล..ฉัตรชัย  สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มต่ำที่มีน้ำท่วมขัง ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ พร้อมกับเข้าไปบรรเทาทุกข์และลดความเดือดร้อนให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วม ให้เตรียมพร้อมและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

สำหรับการติดตามสภาวะอากาศและสถานการณ์น้ำของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) พบว่ากรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานสภาวะอากาศเมื่อเวลา 04.00 . ของวันนี้ (25 .. 60) พายุโซนร้อนเซินกา” (SONCA) กำลังเคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม และกำลังเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันนี้ (25 .. 60) และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อนเคลื่อนผ่านประเทศลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือ ตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมการรับมือกับพายุโซนร้อนเซินกากรมชลประทาน ได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทาน บริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบชลประทานและระบบป้องกันน้ำท่วม ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับให้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบระบบชลประทาน ให้สามารถรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลาอย่างเคร่งครัด สำหรับพื้นที่ที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้มีการติดตั้งเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำไว้แล้วทุกจุด พร้อมกับทำหนังสือแจ้งสถานการณ์น้ำไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 

ในส่วนของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง นั้น ได้ให้ทุกโครงการชลประทานที่รับผิดชอบอ่างเก็บน้ำต่างๆ โดยเฉพาะอ่างฯที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก ให้บริหารจัดการน้ำ ด้วยการลดระดับน้ำในอ่างฯให้อยู่ในเกณฑ์การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ (Rule curve) อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ(Inflow) มากกว่าความจุของอ่างฯ รวมไปถึงอ่างเก็บน้ำที่มีพื้นที่รับน้ำฝนขนาดใหญ่ (water shade area) ที่เมื่อฝนตกหนักจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องเฝ้าระวัง ติดตาม และวิเคราะห์สถานการณ์เป็นพิเศษ

ในกรณีที่อ่างเก็บน้ำใดๆ จำเป็นต้องมีการพร่องน้ำล่วงหน้า เพื่อให้มีพื้นที่รองรับปริมาณน้ำฝนที่จะลงมาเหนืออ่างฯ  นั้น ได้ให้โครงการชลประทานที่รับผิดชอบ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำออกจากอ่างฯ โดยให้รายงานสถานการณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา นั้น ได้เตรียมการพร่องน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาไว้แล้ว ซึ่งบริเวณเหนือเขื่อนได้ใช้ระบบชลประทานทั้งสองฝั่ง รับน้ำเข้าไปตามศักยภาพที่รับได้ พร้อมกันนี้ ได้ทยอยระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนลดลง ซึ่งหากมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เนื่องจากฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินกาก็จะทำให้เขื่อนเจ้าพระยาสามารถชะลอน้ำไว้บริเวณเหนือเขื่อนได้ โดยอาจจะต้องทยอยเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากขึ้น แต่จะควบคุมไม่ให้เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำด้านท้ายเขื่อนบริเวณจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปริมาณน้ำที่จะส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งได้ เขื่อนเจ้าพระยาจะต้องมีปริมาณน้ำไหลผ่านมากถึง 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  

 ปัจจุบัน(25 .. 60) มีปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ 1,197 ลบ../วินาที (สูงสุด 1,394 ลบ../วินาที วันที่ 17 . 60) ระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +15.50 .(เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง) มีการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในปริมาณ 265 ลบ../วินาที 

 

สำหรับลุ่มน้ำยมบริเวณจังหวัดสุโขทัย นั้น กรมชลประทาน ได้เตรียมพร้อมรับมือหากมีน้ำหลากจากจังหวัดแพร่ไว้แล้วเช่นกัน ด้วยการพร่องน้ำบริเวณเหนือประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ .สวรรคโลก รวมไปถึงการพร่องน้ำในคลองยมน่าน แม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำยมสายหลัก เพื่อเตรียมรองรับน้ำหลากจากทางตอนบนของลุ่มน้ำยมที่เกิดจากฝนตกหนักอีกด้วย ทั้งนี้ จะควบคุมปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่จะไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย ให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย


บันทึกโดย : วันที่ : 25 ก.ค. 2560 เวลา : 16:11:17

18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 6:20 pm