ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน หุ้นไทยตอบรับเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและการเมืองที่ชัดเจนขึ้น (12/10/60)


กลยุทธ์การลงทุน
         
ตลาดหุ้นไทยตอบรับเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและการเมืองที่ชัดเจนขึ้น แต่ระยะสั้นยังเผชิญแนวต้าน 1720-1725 จุด และอาจจะมีแรงขายทำกำไรหุ้นธนาคารบางแห่ง หลังรายงานงบ 3Q60 ไม่มีอะไร surprise กลยุทธ์เหมือนเดิม ขายหุ้นแพงมาซื้อหุ้นถูก/Laggards สื่อสาร (THCOM, INTUCH) พลังงาน (PTTEP) ธนาคาร (KKP, SCB) วัสดุก่อสร้าง (SCC, VNG) และส่งออก (HANA) Top picks ยังชอบหุ้น Laggards SCB(FV@B178.50) และ PTTEP(FV@B116)

  ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยขึ้นกระจายทุกกลุ่ม
         
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงเช้าเปิดกระโดดกว่า 8 จุด พร้อมกับการแกว่งตัวขึ้นในแดนบวกตลอดวันก่อนปิดตลาดที่ 1714.14 จุด เพิ่มขึ้น 7.19 จุด หรือ 0.42% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเห็นการฟื้นตัวของหุ้น Big Cap ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ทั้ง KBANK ที่ปรับเพิ่มขึ้น 2.36% SCB 0.33% BBL 0.26% และ BAY เพิ่มขึ้น 0.66% ตามด้วยหุ้นกลุ่มค้าปลีกฯ ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำโดย BJC เพิ่มขึ้น 2.35% ROBINS เพิ่มขึ้น 3.42% HMPRO 0.83% รวมทั้ง COM7 และ BEAUTY เพิ่มขึ้น 2.82% และ 1.22% ตามลำดับ 
         
หุ้นปิโตรเลี่ยม PTT และ PTTEP เพิ่มขึ้น 0.47% และ 0.55% หุ้นปิโตรฯ PTTGC, IRPC เพิ่มขึ้น 0.30%, 1.56% และโรงไฟฟ้า RATCH, GLOW และ LANNA เพิ่มขึ้น 0.91%, 0.28%, 1.49% รวมถึง GUNKUL และ BANPU เพิ่มขึ้นอีก 0.98% และ 2.29% ตามดับ  สำหรับ GUNKUL  การฟื้นตัวยังถือว่า underperform หุ้นอื่นๆ ในกลุ่มอีกมาก ขณะที่แนวโน้ม 3Q60 จะพลิกมาเติบโต เพราะเข้าสู่ฤดูกาลลม ขณะที่ราคาหุ้นยังมี upside กว่า 25% ส่วน BANPU ยังมีคดีชั้นอุทรณ์ ฟ้องร้องกรณีหงสาค้างอยู่ กดดันหุ้น underperform  สวนทางกับ  ทิศทางกำไรที่ดีขึ้นตามราคาถ่านหินที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากต้นปีถึงปัจจุบัน  
         
และหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาร้อนแรง คือ หุ้นเช่าซื้อ ทั้ง SAWAD THANI และ BFIT เพิ่มขึ้นกว่า 8.20%, 6.08% และ 4.96% ซึ่งราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมาแรงต่อเนื่องอาจทำให้เห็นการขายทำกำไร จึงควรระมัดระวังการปรับฐานของราคาหุ้น  
         
ตรงข้ามหุ้นที่ปรับลงคือ กลุ่มชิ้นส่วนฯ DELTA ลดลง 1.14% และ HANA ลดลง 1.04% นอกจากนี้ราคาหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรง คือ AQ ปิดที่ราคา floor 0.09 บาท ลดลง 25%, GGC ลดลง 9.14% และ PACE ลงอีก 8.70%  
         
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ น่าจะเห็นการพักตัวของ SET Index เนื่องจากมีวันหยุดติดต่อกัน ประเมินแนวต้านที่ 1720-1725 จุด ส่วนแนวรับระหว่างวันอยู่ที่ 1708 จุด FED หนุนขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งปีนี้ vs ยุโรปอาจกดดันจากสเปน 
         
เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัว สะท้อนที่ล่าสุด  IMF ได้ปรับเพิ่ม GDP Growth โลกขึ้นปีละ 0.1% เป็น 3.6%yoy ในปีนี้ และ 3.7% ในปีหน้า โดยปรับเพิ่มในฝั่งประเทศพัฒนาแล้วเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศหัวเรือใหญ่ๆ ของโลก อาทิ  สหรัฐ , แคนาดา ,ยุโรป , ญี่ปุ่น ,และเอเซียปรับเพิ่ม  จีน ยกเว้น อินเดียที่ปรับลดลง   รายละเอียดดังปรากฏใน Market Talk วานนี้ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางการเมืองในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจโดยรวมในกล่าว กล่าวคือ ปัญหาการแยกตัวของแคว้นกาตาลุญญา เป็นเอกราชจากสเปน นอกเหนือจาก Brexit และการเลือกตั้งอิตาลีที่จะเกิดขึ้นใน งวด 1Q61  
         
ล่าสุด นายคาร์เลส ปุยจ์เดมองต์ ผู้นำของแคว้นกาตาลุญญา  (เมืองหลวงคือ บาร์เซโลนา) ได้แถลงต่อที่ประชุมสภาท้องถิ่นกาตาลุญญา ถึงสิทธิในการเป็นรัฐอิสระจากสเปน  หลังจากวันที่ 1 .. การลงประชามติ ประชาชน 90% โหวตออกจากสเปน    อย่างไรก็ตามนายปุยจ์เดมองต์ยังสงวนท่าที คือเสนอให้สภากาตาลุญญาเลื่อนการประกาศเอกราชออกจากสเปนไปก่อน  เพื่อเจรจากับรัฐบาลกลางสเปน ทำให้ประเด็นความตึงเครียดทางการเมืองผ่อนคลายช่วงสั้น  
         
ขณะที่ Fed Minute  หลังประชุมรอบที่ผ่านมา สรุปว่าคณะกรรมการ 12  ใน 16 ราย หนุนให้มีการ ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมที่เหลืออีก 1 ครั้ง  ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจโอกาสการขึ้นดอกเบี้ย Bloomberg  ล่าสุด พบว่า รอบ ..2560 โอกาสขึ้นราว 76%   ขณะที่คณะกรรมการที่เหลือ  ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากให้น้ำหนักต่อการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐ แม้ช่วง 3Q60 จะได้รับผลกระทบช่วงสั้นจากพายุเฮอร์ริเคน  แม้อัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด 1.9%yoy (ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ Fed วางไว้) แต่เป็นผลกระทบช่วงสั้น   แต่ในปี 2561  ยังมีมุมมองต่อการขึ้นดอกเบี้ยราว 3 ครั้ง    และประเด็นการเดินหน้าปฎิรูปภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ มีโอกาสที่จะล่าช้ากว่าคาด จากเดิมจะต้องเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้  ส่งผลให้ ค่าเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าในช่วงสั้น อาจมีแรงขายหุ้นธนาคารรายตัวหลังงบ 3Q60 แต่สะสมหุ้น Laggard SCB 
         
ตลาดฯ ยังคงให้น้ำหนักไปที่การรายงานงบฯ 3Q60 ของกลุ่ม .. โดยคาดว่าธนาคารพาณิชย์ 10 แห่งภายใต้ Coverage จะมีกำไรสุทธิรวม 4.90 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.1% qoq (แต่ลดลง 5.5% yoy) โดยในไตรมาสนี้คาด KTB, KKP, BBL, BAY กำไรเติบโตโดดเด่น ส่วน TMB คาดกำไรหดตัว qoq
         
โดยวานนี้ TISCO (FV'61@88) เป็น .. แห่งแรกที่ประกาศงบฯ ออกมา มีกำไรสุทธิตามคาดที่ 1.57 พันล้านบาท เติบโต 4.5% qoq และ 25.8% yoy หนุนมาจากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม (เติบโตถึง 14.3% qoq และ 5.3% yoy) ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิค่อนข้างทรงตัวจากสินเชื่อสุทธิที่หดตัวลง และ NIM หดตัวเล็กน้อยจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่คุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่งจาก NPL ที่ลดลงต่อเนื่อง  ขณะที่ยังเพิ่มการกันสำรองหนี้ฯ ทำให้สัดส่วน NPL coverage ratio เพิ่มขึ้นมาที่ 186.2% สูงเกินค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ราว 134% ไปมาก  โดยรวมแล้ว กำไรสุทธิงวด 9M60 เท่ากับ 4.57 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 23.0% yoy คิดเป็นสัดส่วน 77% ของกำไรสุทธิทั้งปี 2560 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ โดยรวมคาดปีนี้ผลประกอบการเติบโต 18% และ 16% ในปีหน้า ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยปรับไปใช้ Fair Value ปี  2561 ที่ 88 บาท (เดิม 84 บาท) และคาดหวัง Dividend Yield สูงกว่า 5%
         
ในส่วนของหุ้น Top Picks ในกลุ่มฯ เลือก SCB (FV@B178.50), KBANK (FV@B233) และ TCAP (FV@B53) ซึ่ง TCAP ราคาหุ้นปรับขึ้นแรงมากในช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมา ทำให้ upside เหลือเพียง 2% ขณะที่ KBANK ยังมี upside ราว 7.4% โดยคาดกำไรสุทธิงวด 3Q60 ฟื้นตัวจาก 2Q60  ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อการเติบโตของสินเชื่อในช่วง 2H60  ซึ่งจะส่งผลบวกต่อ yield และ NIM ต่อเนื่อง สวนทางกับค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ  ที่คาดว่าจะเริ่มแผ่วตัวลง หลังผ่านการตั้งสำรอง special reserve ของลูกหนี้ EARTH ใน 2Q60 
         
ส่วน SCB แม้จะมีแรงกดดันช่วงสั้นจากประเด็นการปล่อยกู้ให้ PACE  ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของ PACE   กล่าวคือ SCB เป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันวงเงินราว  9,560 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นวงเงิน O/D   1760 ล้านบาท  และ เงินกู้ระยะยาว 7,800 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นเงินกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดในเวลา 1 ปี  6,100 ล้านบาท ที่เหลือเป็นหนี้ ระยะยาวที่เกิน 1 ปี  1,700 ล้านบาท   
         
ทั้งนี้ไม่รวมหนี้สินอื่น ที่ PACE  ที่มีภาระหนี้ทั้งในรูปของหุ้นกู้ และตั๋ว B/E โดยขายให้กับนักลงทุนในตลาดฯ อีกเป็นเงินรวมกันว่า 9,836 ล้านบาท  แบ่งเป็น 1) หุ้นกู้ราว  5915 ล้าบาท ซึ่งแบ่งเป็น  3615 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ที่ครบกำหนดภายในเวลา 1 ปี และอีก 2,300 ล้านบาท ที่ครบกำหนดเกินกว่า 1 ปี ข้างหน้า  และ 2) ตั๋ว B/E  3921 ล้านบาท  
  
หากมองโลกในแง่ร้าย หลักประกัน PACE ที่มีอยู่กับ SCB  น่าจะครอบคลุมภาระหนี้ได้ทั้งหมด ขณะที่ปัจจุบัน SCB มี NPL/สินเชื่อรวม 2.6% ของสินเชื่อรวมทั้งหมด 1.97  ล้านล้านบาท บาท  มีเป้าการปล่อยสินเชื่อที่ 5% ในปีนี้ และ 6% ในปีหน้า มีฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง คือ มี Tier1 อยู่ที่ 14.5% ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่นๆ (BBL 16.9%, KBANK 14.7%, BAY 12%, KTB 12.6%)  เกินกว่ามาตรฐาน Basel III ที่กำหนดไว้ 12% ในปี 2562 ถือว่าเป็นธนาคารมีความแข็งแกร่งมากแห่งหนึ่ง 
         
ส่วนผลกำไรงวด 3Q60 แม้จะหดตัวจากงวด 2Q60 แต่ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของรายได้พิเศษ ขณะที่ความต้องการสินเชื่อรายใหญ่ยังเป็นแรงส่งที่ดีต่อแนวโน้มกำไรในช่วงที่เหลือของปี ทั้งยังคาดหวังเงินปันผลเฉลี่ยกว่า 4% Fund Flow ยังไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
         
วานนี้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาค ด้วยปริมาณสูงถึง 997 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) แต่ยังมีอยู่ 2 ประเทศที่ยังขายสุทธิ คือ อินโดนีเซีย 59 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 30 วัน) และฟิลิปปินส์ 25 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ยังคงซื้อสุทธิสูงถึง 699 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ ไต้หวัน 335 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการไป 2 วัน) และไทยที่ซื้อสุทธิ 48 ล้านเหรียญ หรือ 1.60 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 470 ล้านบาท
         
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.39 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 3.00 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
    


LastUpdate 12/10/2560 12:22:56 โดย : Admin

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 10:01 pm