ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน SET Index ก็สามารถกลับมายืนเหนือ 1700 จุด (25/10/60)


 

กลยุทธ์การลงทุน
  
ในที่สุด SET Index ก็สามารถกลับมายืนเหนือ 1700 จุดได้ตามคาดหมาย แต่จากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานที่เป็นอยู่คาดว่าน่าจะเห็นการย่ำฐานอยู่ที่บริเวณดังกล่าวต่อไปอีกระยะ ส่วนแนวโน้มระยะยาวยังมีน้ำหนักไปทางบวก กลยุทธ์การลงทุนกำหนดภายใต้ Theme ของวัฎจักรรอบใหม่ของการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งมีตัวเลือกการลงทุนอยู่ในหุ้นหลายอุตสาหกรรม แต่ในเบื้องต้นเลือก WHA (FV@B4.20) จากกลุ่มนิคุมอุตสาหกรรม และ BBL (FV@B 210) จากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เป็น Top Picks    

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ทดสอบ 1700 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบาง 
  
วานนี้ตลาดหุ้นไทยกลับมาเปิดทำการหลังจากหยุดยาวไป 3 วัน โดยดัชนีฯ สามารถแกว่งตัวขึ้นในแดนบวกตลอดวันก่อนจะปิดที่ 1701.81 จุด เพิ่มขึ้นอีก 9.23 จุด หรือ 0.55% แต่มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างน้อยที่ 4.83 หมื่นล้านบาท แรงหนุนจากหุ้นโรงกลั่น-ปิโตรเคมีฟื้นตัวยกแผง โดย PTTGC เพิ่มขึ้น 1.89% IVL เพิ่มขึ้น 0.56% IRPC 2.38% และ TOP เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.31% และกลุ่มโรงไฟฟ้า RATCH เพิ่มขึ้น 1.84%, GLOW เพิ่มขึ้น 1.71% BPP เพิ่มขึ้น 3.45% BANPU เพิ่มขึ้น 1.18% และ BGRIM เพิ่มขึ้นกว่า 6.93% ปิดที่ 27 บาท โดยฝ่ายวิจัยยังมีมุมมองเชิงบวกต่อ BGRIM เนื่องจากสามารถคาดหวังกับ upside ใหม่ๆ จากการเข้าลงทุนทั้งในและต่างประเทศ แต่ปัจจุบันราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจนเกินมูลค่าฟื้นฐานปี 2560 แล้ว ระยะสั้นจึงแนะนำ switch ไปยัง RATCH และ EGCO 
  
ส่วนกลุ่มค้าปลีกยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง นำโดย BEAUTY ปรับตัวขึ้นร้อนแรงกว่า 7.14% โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ากำไรจะเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยในงวด 2H60 เติบโตไม่ต่ำกว่า 53% yoy หนุนจากยอดขายสาขาเดิมเพิ่มต่อเนื่อง และนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวเต็มปี ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับเพิ่มขึ้นคือ ROBINS, HMPRO, COM7 และ CPALL เพิ่มขึ้น  3.19%, 4.84, 2.70% และ 1.08% ตามลำดับ อีกกลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นคือ ICT นำโดย ADVANC เพิ่มขึ้น 1.04% ส่วน INTUCH และ THCOM เพิ่มขึ้น 0.86% และ 2.52% 
  
ตรงข้ามกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ถูกแรงขายทำกำไร หลังจากประกาศผลประกอบการในงวด 3Q60 เสร็จสิ้นไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงนำโดย KBANK ลดลง 1.41% SCB ลดลง 1.02% TMB ลดลง 1.55% และ BAY 0.63% ส่วน TCAP และ TISCO ปรับตัวขึ้นสวนทางกลุ่ม 4.85% และ 1.19% ตามลำดับ
  
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ จากมูลค่าการซื้อขายที่กลับมาค่อนข้างน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้กรอบการขึ้นมีจำกัด และต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรออกมา โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างวันอยู่ที่ 1695 – 1712 จุด

มาตรการปฎิรูปภาษีสหรัฐอาจเกิดขึ้นปลายปี ส่วน ECB คาดต่ออายุ QE แต่ลดวงเงินลง 
  
ปัจจัยต่างประเทศตลาดยังคงให้น้ำหนักไปที่นโยบายปฎิรูปภาษีสหรัฐ ล่าสุด มีความเป็นไปได้ที่จะ อนุมัติร่างเป็นกฎหมายภายในวันที่ 23 .. โดยภาษีนิติบุคคลธรรมดาน่าจะอยู่ในอัตรา 20% จากปัจจุบัน 35% แต่น้อยกว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์หาเสียงที่ 15% เนื่องจากการลดภาษีจะสร้างหนี้สาธารณะของรัฐบาลให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่สูงกว่า 100% ของ GDP ส่วนการลดภาษีบุคคลธรรมดาจะลดลงเหลือ 3 จาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% ขึ้นกับฐานรายได้ภาษีของบุคคลธรรมดา (สูงสุดไม่เกิน 35% จาก 39.6%) ประเด็นนี้ถือว่ายังหนุนตลาดหุ้นสหรัฐ แม้ที่ผ่านมาได้ตอบรับมาแล้วระดับหนึ่ง อีกประเด็น คือ การคัดเลือกประธาน Fed ต่อหลังจากนางเจเน็ต เยลเลนที่จะครบวาระ ..2561 โดยคาดจะสรุปผลภายในสิ้นเดือน ..นี้ ซึ่งตัวเต็งที่เป็นผู้ที่มีแนวคิดสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีทรัมป์ มี 2 ใน 5 คนที่มีโอกาสมากที่สุด คือ นาย Jerome Powell 1 ในคณะกรรมการ Fed ปัจจุบัน ซึ่งเป็นผู้ที่รัฐมนตรีการคลังสหรัฐสนับสนุน มีแนวคิดใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวแต่แบบค่อยเป็นค่อยไป  และ นาย John Taylor (นักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย Stanford) ประธานาธิบดีทรัมป์ให้การสนับสนุน และมีแนวคิดสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปรับโครงสร้างภาษี อย่างไรก็ตาม การจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก่อนสิ้นปีจะทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจสหรัฐ ล่าสุด ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐเดือน .. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 54.5 จุด ผลจากพายุเฮอริเคนทำให้มีความต้องการซื้อสินค้าเพื่อซ่อมแซมและผลิตเพิ่ม ขณะที่ตลาดคาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปลายปีนี้เพิ่มขึ้น สะท้อนจาก รอบ .. โอกาสขึ้นราว 83.4% และปีหน้าคาดว่าจะขึ้นอีก 3 ครั้ง  โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินค่าเงินดอลลาร์กลับมาอยู่ในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง
  
ขณะที่ยุโรป  26 .. คาดการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% (ตั้งแต่ มี.. 2559) ขณะที่การซื้อสินทรัพย์ (QE) เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร ที่จะสิ้นสุด .. 2560 คาดจะต่ออายุออกไปอีก  6-9 เดือน แต่อาจจะปรับลดวงเงินเหลือเดือนละ 4 หมื่นล้านยูโร และประเด็นที่ยังมีน้ำหนักในยุโรป คือ ปัญหาการเมืองในยุโรป อาทิ Brexit, การเลือกตั้งอิตาลีในช่วง 1Q61 และในสเปน หลังจากการทำประชามติในแคว้นกาตาลุญญา (เมืองเอกคือ บาร์เซโลน่าคือ 90% ของประชาชนลงมติแยกตัวออกจากสเปน ส่งผลให้มีการประกาศเป็นรัฐอิสระจากสเปน  โดยล่าสุด รัฐบาลสเปนเตรียมประกาศใช้มาตรา 155 ของรัฐธรรมนูญสเปน ภายในวันศุกร์นี้ ซึ่งจะมีผลเพื่อระงับอำนาจปกครองตนเองของกาตาลุญญา และบังคับให้มีการเลือกตั้งใหม่

วัฎจักรการลงทุนรอบใหม่ กำลังจะเกิดขึ้น ดีต่อทั้งเศรษฐกิจ และตลาดหุ้น
  
ช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชน อยู่ในภาวะซบเซา โดยการลงทุนภาครัฐมีอุปสรรคสำคัญอยู่ที่สถานการณ์การเมืองที่ขาดเสถียรภาพ ส่วนภาคเอกชนก็ติดกับดักการลงทุนอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมๆ ที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน และมีอัตราการทำกำไรที่ต่ำ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่กำลังเกิดขึ้นเชื่อว่าจะเป็นกลไกที่นำไปสู่วัฎจักรการลงทุนรอบใหม่ของประเทศ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนมาเน้นให้สิทธิประโยชน์กับการลงทุนอุตสาหกรรมที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศ ผ่านการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้โดยเน้นไปที่ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมการบิน เป็นต้น เชื่อว่า 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายน่าจะทำให้เอกชนก้าวข้ามกับดักของการลงทุนในอุตสาหกรรมเดิมๆ ขึ้นมาได้ และทำให้เกิดวัฎจักรการลงทุนรอบใหม่ ส่วนความพร้อมการลงทุนของเอกชน ฝ่ายวิจัยเห็นว่าอยู่ในระดับสูง เฉพาะอย่างยิ่งบริษัทจดทะเบียนที่มีโครงสร้างการเงินแข็งแกร่งโดยภาค Real Sector มี Net Gearing อยู่ที่บริเวณ 0.57 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำมาก ขณะที่ธนาคาพาณิชย์มี  LDBR ที่ 83.6%  สะท้อนความพร้อมทางการเงิน ส่วนการลงทุนภาครัฐจากนี้ไปจะเห็นการเดินหน้าก่อสร้างโครงการที่ผ่านการประมูลไปแล้ว ได้แก่ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และ รถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง (ส้ม เหลือง ชมพู) นอกจากนี้ยังมีโครงการใหม่ที่จะประมูลและรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการลงทุนใน EEC ที่จะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ภายใต้วัฎจักรการลงทุนดังกล่าว เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นในหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม รับเหมาก่อสร้าง ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจที่มีความพร้อมสำหรับการขยายการลงทุนเข้าไปใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยในวันนี้จะขอเลือกหุ้น 2 บริษัทมาเป็น Top Pick ได้แก่ BBL (FV@B 210) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ทีมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในสัดส่วนที่สูง และ WHA (FV@B 4.20) ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่พร้อมขายในเขต EEC กว่า 8.5 พันไร่

Sell on fact
หุ้น .. น่าจะจบแล้ว จากนี้มุ่งไปที่ผลประกอบการกลุ่ม real sector   
  
หลังจากรายงานงบกลุ่ม .. เสร็จสิ้น  โดยรวมพบว่ากำไรสุทธิงวด 3Q60 ของกลุ่ม .. อยู่ ที่ 4.74 หมื่นล้านบาท แม้เพิ่มขึ้น 4.5%qoq แต่หดตัวลง 8.6%yoy และต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาด เพราะ .. ขนาดใหญ่มีการตั้งสำรองฯ ที่เพิ่มขึ้น คือ KTB, KBANK และ SCB ซึ่งนอกจากรองรับรองหนี้ที่มีปัญหาบางส่วนแล้ว ยังเป็นการเตรียมรองรับการตั้งสำรองที่เข้มงวดตามมาตรฐานบัญชี IFRS 9 ที่จะเริ่มใช้ในปี 2562 ตรงข้ามกับ .. ที่รายงานกำไรโดดเด่นสุดจะอยู่ใน .. ขนาดกลาง คือ TISCO, TCAP และ KKP อย่างไรก็ตามสำหรับ top pick ของกลุ่ม .. ยังเลือก BBL (FV’61@B 210) ที่ได้ประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกับ AIA รวมทั้งคาดหวังเงินปันผลได้ในระดับสูง (คาดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการ 2H60 ที่ 5 บาทต่อหุ้น) รวมทั้ง KKP (คาดจ่ายเงินปันผลงวดผลประกอบการ 2H60 ที่ 4 บาทต่อหุ้น)
  
ทั้งนี้ คาดว่าแรงขายรับงบกลุ่ม .. น่าจะลดลง และตลาดน่าจะให้น้ำหนักกับหุ้น real sector ที่จะเริ่มมีการทำ earnings preview ต่อเนื่อง จนกว่าจะมีประกาศงบงวด 3Q60 จากปลายเดือนนี้ถึงกลางเดือน ..
  
เริ่มจาก HMPRO คาดรายงานงบฯ ช่วงปลายเดือน .. โดยผลประกอบการ 3Q60 โดดเด่นจากยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่จะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ราว 1-2%yoy จากที่หดตัวเมื่อ 2Q60 นอกจากนี้ในงวด 3Q60 และ 4Q60 มีการจัดงานโฮมโปรแฟร์และโฮมโปรเอ็กซ์โปร และ 4Q60 ยังถือเป็นช่วงฤดูกาลจับจ่าย โดยฝ่ายวิจัยมีโอกาสทบทวนประมาณการฯ หลังการรายงานงบฯ เสร็จสิ้น
  
ตามด้วย SCC คาดรายงานงบฯ วันที่ 1 .. 2560 โดยคาดว่ากำไรสุทธิงวด 3Q60 น่าจะอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ทรงตัวใกล้กับไตรมาสที่ผ่านมาแต่ หดตัว 6.4%yoy โดยผลการดำเนินงานหลักๆ ยังมาจากธุรกิจปิโตรเคมี ขณะที่ธุรกิจซีเมนต์, ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และ Packaging ซบเซาตามฤดูกาล ทั้งยังมีแรงกดดันจากต้นทุนถ่านหินที่เพิ่มขื้น 
  
ขณะที่หุ้นในกลุ่มพลังงานบางบริษัท จะทยอยประกาศงบฯ ช่วงต้นเดือน ..เช่นกัน เริ่มจาก PTTEP โดยมีโอกาสขาดทุนสุทธิจากผลของการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ (imparement charge) โครงการ Mariana Oil Sands ในแคนาดา เป็นจำนวนกว่า 1.85 หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้น PTTEP ราว 4.7 บาทต่อหุ้น และกระทบต่อ PTT ที่ถือหุ้น PTTEP 65.29% ราว 1.2 หมื่นล้านบาท หรือ 4.23 บาทต่อหุ้น และน่าจะกระทบต่อกำไรสุทธิตลาดฯ ปี 2560 รวมราว 3 หมื่นล้านบาท หรือราว 3 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการฯ ปีนี้ โดยเชื่อว่ากำไรจากสต็อกน้ำมันของกลุ่มพลังงาน รวมทั้งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จะช่วยหักล้างผลกระทบดังกล่าวไปได้บางส่วน
ตามด้วย IRPC คาดกำไรสุทธิ 3Q60  เท่ากับ 3.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 157%qoq (กำไรปกติคาดโต 6.5%qoq) จาก Market GIM ที่ปรับเพิ่มขึ้น ตาม spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น  รวมทั้งการบันทึกกลับเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการปี 2560 แต่มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการปี 2561 จากทิศทางการดำเนินธุรกิจที่สดใส
  
และกลุ่ม ICT ที่จะประกาศงบช่วงต้นเดือน .. คือ THCOM คาด 3Q60 จะเผชิญขาดทุนราว 21 ล้านบาท ผลจากการเลิกใช้งาน NBN และ TOT บนดาวเทียม iPSTAR แต่ก็เป็นประเด็นที่อยู่ในความคาดหมายแล้ว แต่เชื่อว่า 4Q60 ผลการดำเนินงานจะฟื้นตัวจากการได้ลูกค้าใหม่ๆ ในอินโดนีเซียและแอฟริกาเข้ามาชดเชย
  
และ ADVANC คาดกำไร 3Q60 อยู่ที่ 7.4 พันล้านบาท กลับมาเติบโต 2.5%qoq และ 13.3%yoy ตามรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ที่เติบโตต่อ ขณะที่ต้นทุนบริการ (ไม่รวม IC) ทรงตัว qoq ส่วนกำไร 4Q60 จะเติบโตทั้ง qoq และ yoy และเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสในปี 2561

ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ยังซื้อไทย
  
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 77 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันกว่า 10 วัน) โดยเป็นการสลับมาขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 86 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) ตามด้วยฟิลิปปินส์ 23 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) และอินโดนีเซีย 6 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) สวนทางกับตลาดหุ้นอีก 2 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 26 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 12) และไทย 11 ล้านเหรียญ หรือ 371 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.64 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.20 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.18 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)


บันทึกโดย : วันที่ : 25 ต.ค. 2560 เวลา : 11:40:06

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 5:36 pm