ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน (21/02/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -254.63, NASDAQ -5.16, S&P-15.96, FTSE -0.89, CAC +33.68 และ DAX +102.30
ภายใต้ปัจจัยกดดันจากหุ้นกลุ่มค้าปลีก หลังวอลมาร์ท ประกาศกำไรสุทธิ – 4Q/61 ที่ 1.33 ดอลลาร์/หุ้น ต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.37 ดอลลาร์/หุ้น แม้รายได้รวมอยู่ที่ 1.3627 แสนล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.3493 แสนล้านดอลลาร์
รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี และ 30 ปี เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.904% และ 3.152% ตามลำดับ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ดังกล่าวจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทเอกชนปรับตัวขึ้น รวมถึงลดความน่าสนใจในตลาดหุ้น
และอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟด (30 – 31/1/61) เพื่อหาสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยหนุนจากเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสหรัฐฯ หลังอังกฤษและสหภาพยุโรปมีความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับการที่อังกฤษแยกตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) 
  และอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยรายงานการประชุมของ ECB ประจำเดือนม.ค. (22/2/61) หลังล่าสุดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ระดับ 0% เมื่อ 25/1/61 พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ยังได้คงวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงเดือนก.ย.
   ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มี.ค. +US$0.22 อยู่ที่ US$61.90 ต่อบาร์เรล หลังการส่งน้ำมันดิบผ่านท่อส่งจากแคนาดาไปยังสหรัฐฯ มีปริมาณลดลง เนื่องจากข้อจำกัดของท่อส่งน้ำมันคีย์สโตน และสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐฯ (9/2/61) อยู่ที่ 32.7 ล้านบาร์เรล ลดลงจาก 36.3 ล้านบาร์เรล เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
  รวมถึงซาอุดิอาระเบีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) คงปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึงสิ้นปีนี้
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน เม.ย. -US$25.0 อยู่ที่ US$1,331.2 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สัญญาทองคำมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ขณะที่การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวัง ก่อนที่เฟด จะเปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค. ในวันนี้ (21/2/61) เพื่อหาสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,997 ล้านบาท ยอดสะสม -43,352.75 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 21 - 26 ก.พ. 61
21/2/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้น - ก.พ.
  (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้น - ก.พ.
  (3) ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.
  (4) เฟด เปิดเผยรายงานการประชุม เมื่อ 30 – 31/1/61

22/2/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  (2) สต็อกน้ำมัน

26/2/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค.
  (2) ดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค.

ทิศทางตลาด
  คาดยังมีความผันผวน? โดยให้น้ำหนักปัจจัยในประเทศ ที่คาดยังมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการ / เงินปันผล ซึ่งอยู่ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย ในการทยอยประกาศงบการเงิน และหุ้นกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น รวมถึง PTT ที่คาดมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่องจากการประกาศแตกพาร์จาก 10 บาท เป็น 1 บาท นอกจากนี้คาดยังได้รับ Sentiment บวก จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี’61 หลังล่าสุดสภาพัฒน์ฯ คาดอยู่ในกรอบ 3.6 – 4.6% จากปี’60 ขยายตัว 3.9% และความคืบหน้าโครงการ EEC หลังสภานิติบัญญัญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาผ่านวาระที่ 3 และอยู่ระหว่างรอประกาศใช้เป็นกฎหมาย คาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  อย่างไรก็ตามคาดยังถูกกดดันอยู่บ้าง จากความไม่แน่นอนโดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ภายใต้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งหากมีความไม่ราบรื่น อาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง จากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ตลาดรับรู้ว่าการเลือกตั้ง เลื่อนจากเดิม พ.ย.’61 เป็น ก.พ.’62
  พร้อมยังแนะระวังแรงขายทำกำไร ทั้งจาก (1) ดัชนีที่เพิ่มต่อเนื่องในเดือนที่ผ่านมา และ (2)  Sell on Fact ของ บจ. หลังประกาศผลการดำเนินงาน 
  ส่วนประเด็นต่างประเทศ คาดตลาดสะท้อนไปบ้างแล้วต่อประเด็น Bond Yield ของสหรัฐฯ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่ทำให้คาดการณ์ว่าเฟดจะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุม 20 – 21/3/61 และคาดต่อเนื่องตลอด 8 ครั้งข้างหน้าไปจนถึงปี’ 62 พร้อมแนะติดตามถ้อยแถลงของนาย Powell ประธานเฟดคนใหม่ ช่วงสิ้นเดือน ก.พ. นี้
  พร้อมยังแนะติดตามเงินสหรัฐฯ หากมีแนวโน้มอ่อนค่าลง คาดส่งผลดีต่อตลาดเกิดใหม่ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
  (2) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (3) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น MONO และ WORK 
  (4) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, MINT และ SPA
  (5) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ
  (6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี  +0.02 อยู่ที่ 2.89% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.14 อยู่ที่ 20.60
  หุ้นแนะนำ : BR


บันทึกโดย : วันที่ : 21 ก.พ. 2561 เวลา : 09:49:49

18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 5:28 pm