ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ ราคาน้ำมันดิบทะยานต่อ (19/04/61)


 ราคาน้ำมันดิบทะยานต่อ หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯลด และซาอุฯ ตั้งเป้าราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงต่อเนื่อง

  + ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 เม.ย. 61 ปรับตัวลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังลดลง 3.0 ล้านบาร์เรล ขณะเดียวกันปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลด 3.1 ล้านบาร์เรล  
  + ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ตั้งเป้าว่าราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 80-100 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลให้ซาอุดิอาระเบียสนับสนุนให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบโอเปก (OPEC) ยังคงปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
  + กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบโอเปก (OPEC) และนอกโอเปก (Non-OPEC) เช่น รัสเซีย ยังคงให้ความร่วมมือเดินหน้าปรับลดการผลิตน้ำมันดิบต่อเนื่อง และคาดว่าจะดำเนินการจนกระทั่งสิ้นปี 2561
  + นักลงทุนยังคงจับตาเกี่ยวกับความตึงเครียดในตะวันออกกลางหลังกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมนที่ได้เปิดฉากยิงขีปนาวุธโจมตีกรุงริยาดของซาอุดิอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลต่ออุปทานน้ำมันดิบที่อาจปรับตัวลดลง รวมทั้งการคาดการณ์ว่าสหรัฐฯ อาจมีนโยบายคว่ำบาตรอิหร่านครั้งใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้อิหร่านไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบในตลาดโลก
  ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของประเทศศรีลังกาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอุปทานในภูมิภาคเอเชียยังคงปรับตัวสูงขึ้น หลังตัวเลขการส่งออกน้ำมันเบนซินจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือปรับสูงขึ้น
  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากประเทศเวียดนาม ทางด้านอุปทานปรับตัวลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางแห่ง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 69-74 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลบ
   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 64-69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือน มี.ค. ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน โดยการปรับลดหลักๆ มาจากการแองโกลา ลิเบีย และเวเนซุเอลา
  EIA คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในปี 2562 จะปรับเพิ่มขึ้น 7.5 แสนบาร์เรลต่อวันจากปีนี้ สู่ระดับเฉลี่ย 11.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะส่งผลให้สหรัฐฯ แซงหน้ารัสเซียและซาอุดิอาระเบีย กลายเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลก โดยการปรับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากปริมาณการน้ำมันดิบจากหินชั้นดินดาน (Shale Oil) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแหล่งการผลิต Permian

ดัชนีและราคาที่สำคัญ 


บันทึกโดย : วันที่ : 19 เม.ย. 2561 เวลา : 09:37:29

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 11:59 am