ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน คาดยังมีความผันผวน (23/04/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -201.95, NASDAQ -91.93, S&P-22.99, FTSE +39.25, CAC +21.19 และ DAX -26.92
ภายใต้ปัจจัยกดดัน (1) หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ที่ยังปรับลดลงต่อเนื่อง หลังมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับลดคาดการณ์ยอดขาย iPhone ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ จากยอดขาย iPhone ที่ส่งผลให้บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริง (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด
ที่ผลิตชิพให้แก่บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เช่น แอปเปิล ปรับลดคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 2 และ (2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และ 30 ปี เพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 2.92% และ 3.10% ตามลำดับ หลังดัชนีการผลิต – เม.ย. เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 23.2 สูงกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 20.5 ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของราคา และอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
  อย่างไรก็ตาม ยังได้รับปัจจัยบวกเข้ามาบ้างจากผลประกอบการของเจเนอรัล อิเลคทริค (GE)
  ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน (-) ผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ เช่น เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าผู้บริโภค มียอดขาย – 1Q/61 ต่ำกว่าคาด และเอเอสเอ็ม อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ของเนเธอร์แลนด์ ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการปี’61 (+) การอ่อนค่าของเงินปอนด์ช่วยหนุนหุ้นบริษัทข้ามชาติ เช่น แกล็คโซสมิธไคลน์ และบริติช อเมริกัน โทแบคโค เป็นต้น
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ค. +US$0.09 อยู่ที่ US$68.38 ต่อบาร์เรล ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร โดยระหว่างวันราคาน้ำมันปรับลดลง หลัง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ โจมตีกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ว่าพยายามผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น
ขณะที่กลุ่มโอเปก จัดการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 22/6/61 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยคาดว่าสมาชิกโอเปกจะหารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขยายข้อตกลงปรับลดการผลิตออกไปอีกจากเดิมครบกำหนดปลายปีนี้
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$10.5 อยู่ที่ US$1,338.3 ต่อออนซ์ หลังเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น และยังได้รับปัจจัยกดดัน จากเจ้าหน้าที่เฟด ออกมาสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -2,146 ล้านบาท ยอดสะสม   -68,439 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 23 - 27 เม.ย. 61
23/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้น - เม.ย.
  (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้น - เม.ย.
  (3) ยอดขายบ้านมือสอง - มี.ค.

24/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีราคาบ้านเดือนก.พ.
  (2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.
  (3) ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค.

25/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) สต็อกน้ำมัน 

26/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  (2) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค.
  (3) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค.

27/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561
  (2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.

ทิศทางตลาด
  คาดยังมีความผันผวน? แม้ประเด็นในประเทศยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากหุ้นในกลุ่มพลังงาน ภายใต้ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูงทั้ง 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) และอยู่ในระดับสูงสุดนับจากปลายปี’57 อยู่ในกรอบ 68 – 75USD รวมถึง PTT ที่คาดยังมีแรงเก็งกำไรก่อนจะเริ่มซื้อขาย Par ใหม่ (1.0 บาท จากเดิม 10.0 บาท) ในวันที่ 24/4/61 นอกจากนี้คาดยังมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการ – 1Q/61 ในกลุ่ม Real Sector ที่คาดทยอยประกาศถึงกลางเดือนพ.ค.
  ส่วนทางด้าน Fund Flow ยังคงมีความผันผวนจากแรงซื้อขายสุทธิของต่างชาติสลับกันไป แต่ยังได้รับ Sentiment บวก จากสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิต่อเนื่อง
  นอกจากนี้ยังมีประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะจากการยื่นร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ อาจส่งผลต่อ Road Map เลือกตั้งในเดือนก.พ.’ 62
  อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากความคืบหน้าโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอประกาศใช้เป็นกฎหมาย คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน รวมถึงล่าสุด รมว.คมนาคม คาดในเดือนพ.ค. - มิ.ย.นี้ เสนอครม. เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ และงานเดินรถ จะรวมเป็นรูปแบบ PPP และเตรียมจะเสนอ ครม.ได้ประมาณ 3Q/61
  ทางด้านปัจจัยต่างประเทศ แนะจับตา Bond Yield ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุด Bond Yield 10 ปี อยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปี (3.03% เมื่อ ธ.ค.’56) คาดอาจกลับมากดดันต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น นอกจากคาดนี้คาดกลับมากังวลว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด (เฟดประชุม 1 – 2/5/61)
  พร้อมยังแนะติดตามประเด็นการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ก่อนหน้านี้มีการตอบโต้ไปมา จากการทยอยประกาศรายการสินค้าที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าทั้ง 2 ประเทศ แม้จะยังไม่มีบังคับใช้ในทันที และเบื้องต้นคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าโลกอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้แนะติดตามผลกระทบหลังสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากหลายประเทศ ซึ่งส่งผลให้ราคามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

 และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
  (3) กลุ่มสื่อ ได้รับประโยชน์จากรายได้ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นโดดเด่น เช่น MONO
  (4) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW และ SPA เป็นต้น
  (5) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
  (6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.04 อยู่ที่ 2.95% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.92 อยู่ที่ 16.88

  หุ้นแนะนำ : SPA     


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 เม.ย. 2561 เวลา : 09:53:07

17-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 17, 2024, 4:20 am