ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน คาดว่า SET Index จะอ่อนตัวลง(16/05/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> Laggard Play//Accumulate on Dip

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวันซึ่งอ่อนแอกว่าที่เราประเมินโดยมีแรงขายออกมาในหุ้นขนาดใหญ่หลายตัว อย่างไรก็ตามยังเห็นแรงซื้อเข้ามาช่วงท้ายตลาดและให้กรอบการลบแคบลงเหลือ 6.24 จุด ณ สิ้นวัน อย่างไรก็ตามกลุ่มโรงพยาบาลและท่องเที่ยว Outperform ตลาดได้ตามที่เราแนะนำ โดยเฉพาะ BDMS และ ERW ที่เป็น Top Pick นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น 1.3 พันลบ. (และพลิกมา Short ใน Index Futures 1.3 พันสัญญา) 
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET Index จะอ่อนตัวลงจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใสหลัง Bond Yield สหรัฐฯพุ่งทะลุ 3% อีกครั้งซึ่งส่งผลให้ Vix Index ปรับขึ้น 13.1% เมื่อคืนที่ผ่านมา กอรปกับกระแสเงินทุนที่พลิกมาไหลออกมาหนาแน่น ทำให้เรายังคงมุมมองว่าตลาดยังคงอยู่ในช่วงแกว่งพักตัวในเดือนนี้โดยประเมินกรอบล่างบริเวณ 1,730-1,740 จุดบวกลบ  ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียน 1Q18 โดยรวมอยู่แม้จะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ไม่ถึงขั้นทำให้ต้องปรับ EPS ตลาดขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังมองการพักตัวของตลาดเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐานรอบใหม่จากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งและโตในอัตราเร่ง
  กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่ Laggard ตลาด//สะสมหุ้นพื้นฐานในช่วงที่ตลาดพักตัว
  หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : BEM, CHG, EA, SC, THANI  
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$440 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$255 ล้าน, อินโดนีเซีย US$83 ล้าน, ไต้หวัน US$59 ล้าน และไทย US$42 ล้าน ขณะที่ไหลเข้าฟิลิปปินส์ประเทศเดียว แต่เบาบางเพียง US$6 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคภายหลัง Bond Yield 10 ปีของสหรัฐฯกลับมาทะลุ 3% อีกครั้ง กอปรกับเกาหลีเหนือได้ยกเลิกการประชุมกับเกาหลีใต้ด้วย   

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> AMATA <<

  • แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 30 บาท
  • กำไรปกติ 1Q18 อยู่ที่ 413 ลบ. +31% Q-Q, +65% Y-Y ดีกว่าเราและตลาดคาด จากยอดโอนที่ดินสูงถึง 107 ไร่ มากกว่า 1Q17 ที่โอนเพียง 35 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีมาร์จิ้นสูง
  • กำไร 1Q18 คิดเป็น 24% ของคาดการณ์ทั้งปีที่ 1.7 พันลบ. (+22% Y-Y) และด้วยยอดโอนที่ดินครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก จึงทะลุเป้าของเราที่ 650 ได้ไม่ยาก
  • ความเสี่ยงต่ำ เพราะกำลังได้ประโยชน์จาก EEC และมีกำไรจากธุรกิจสาธารณูปโภคช่วยจำกัด Downside อยู่ราว 35% ของกำไรรวมในแต่ละปี

ประเด็นสำคัญวันนี้
  (+) กำไรกลุ่มอสังหาฯ ออกมาดี แม้ว่ากำไรของทุกบริษัทจะลดลง Q-Q เพราะฤดูกาล แต่เมื่อเทียบ Y-Y โตเฉลี่ยสูงราว 26% สะท้อนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นในประเทศที่ฟื้นตัว เราคาดว่าโมเมนตัมเชิงบวกนี้จะมีความต่อเนื่อง และหนุนให้กำไรโตดี Y-Y ในช่วงที่เหลือของปี โดยทั้งหมดสะท้อนมายังผู้พัฒนาโครงการที่กลับมาเร่งเปิดโครงการใหม่มากขึ้น Top Pick เป็น SC ราคาเป้าหมาย 4.80 บาท และ ORI ราคาเป้าหมาย 25.40 บาท  
  (0) CPALL ประชุมวานนี้โทนบวก แนวโน้ม 2Q18 ยังดีต่อเนื่อง โดย SSSG ยังเป็นโตแม้ฝนตก เพราะฐานปีก่อนต่ำ และการใช้จ่ายยังคึกคัก ส่วนผลกระทบจากธนาคารยกเว้นค่า Fee ของ Mobile Banking นั้นจำกัดมาก และยังมีแผนลดสัดส่วน MAKRO ต่อไป โดยขั้นแรกจะลดเหลือ 85% จาก 93% เพื่อให้ MAKRO มี Free Float ตามที่เกณฑ์กำหนด เรายังคาดกำไรสุทธิปีนี้ +23% Y-Y ที่ 2.45 หมื่นลบ. แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 98 บาท
  (0) CPF จากประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ สถานการณ์เริ่มดูดีขึ้นจากราคาหมูเวียดนามปรับขึ้นแรงเหนือต้นทุนการเลี้ยง น่าจะช่วยหักล้างธุรกิจหมูในไทยที่ยังน่าจะขาดทุนต่อเนื่อง รวมถึงธุรกิจไก่ที่ยังไม่สดใส และส่งผลให้เห็นการฟื้นตัวของผลประกอบการใน 2Q18 และคาดจะสดใสมากขึ้นในช่วง 2H18 เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ไว้ที่ 1.42 หมื่นล้านบาท (-6.9% Y-Y) และคงราคาเป้าหมายที่ 28 บาท (อิง PE 17 เท่า) ยังมี Upside 12% ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่อผลประกอบการยังมีอยู่ ทั้งความผันผวนของราคาเนื้อสัตว์ และบาทแข็งค่า ดังนั้นจึงแนะนำเป็นทยอยซื้อ
  (-) SAWAD กำไร 1Q18 น้อยกว่าคาดที่ 565 ลบ. -22% Q-Q, -36% Y-Y แต่ไม่น่าตกใจเท่า NPL ที่เพิ่มขึ้นแรงจากสินเชื่อให้กู้ยืม NPL Ratio (ค้างชำระ >3M) เพิ่มเป็น 8% จากเดิม 4.7% ส่วนใหญ่มาจากการตกชั้นหนี้ แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของการตกชั้นหนี้จำนวนมากนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างมากของ NPL ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดค่าใช้จ่ายสำรองฯจำนวนมากเพื่อรองรับ NPL ที่เพิ่มขึ้น (ไตรมาสนี้ไม่ได้ตั้งเพิ่มเลย) หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น เราประเมินว่า SAWAD ต้องการเงินสำรองฯอีกราว 900 ลบ. ในเบื้องต้นเราจึงปรับลดประมาณการกำไรปี 2018 ลง 33% เป็น 2 พันลบ. (-21.6%Y-Y) ประเมินราคาเหมาะสมใหม่ที่ 38 บาท อิง PER 20 เท่า ปรับลดเป็นขาย (เดิม ถือ)
       
ปัจจัยที่ต้องติดตาม

16 พ.ค.

ไทย: กนง.ประชุม คาดคงดอกเบี้ยที่ 1.5%

21 พ.ค.

ไทย: 1Q18 GDP

23 พ.ค.

ไทย: ศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติ กม. ลูก เลือกตั้ง ส.ว. และ ส.ส.

สหรัฐฯ: FOMC Meeting Minutes

  • (-) ตลาดสหรัฐปรับตัวลดลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 3.09% นอกจากนี้ตลาดยังถูกกดดันจากผลประกอบการของบริษัท โฮม ดีโปท์ ที่ออกมาต่ำกว่าคาด
  • (0) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวผสมผสาน แม้ว่าข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมัน รวมถึงตัวเลขการจ้างงานของอังกฤษจะออกมาช่วยหนุนsentiment ของตลาด
  • (0) ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวผสมผสาน อย่างไรก็ตาม ข่าวเกาหลีเหนือได้ยกเลิกการเจรจากับเกาหลีใต้ และอาจจะยกเลิกการพูดคุยกับปธ.ทรัมป์ในวันที่ 12 มิ.ย. เพิ่มความไม่แน่นอนให้กับคาบสมุทรเกาหลี
  • () ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นจาก Bond Yield สหรัฐที่ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.10-32.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับตัวขึ้น 0.35 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 71.31 ดอลลาร์/บาเรลล์ ในขณะเดียวกัน ยังคงต้องรอดูสต็อคน้ำมันดิบของสหรัฐที่จะประกาศในวันนี้
  • ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ร่วงลง 27.90 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,290.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 พ.ค. 2561 เวลา : 09:37:51

25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 8:49 am