ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ตามคาดยังมีความผันผวนอยู่ (23/08/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -88.69, NASDAQ +29.93, S&P -1.14, FTSE +8.54, CAC +12.01 และ DAX +1.21
หลังมีการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟด ประจำวันที่ 31/7/61 – 1/8/61 ระบุว่า กรรมการเฟดหลายคนส่งสัญญาณว่า เฟดมีความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. (25 – 26/9/61) หากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง โดยเฟดยังคงเป้าหมายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การพิจารณากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างยั่งยืน ภาวะตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% ในระยะกลาง
  และยังได้รับปัจจัยกดดันจากปัจจัยการเมืองในสหรัฐฯ หลังผู้ใกล้ชิดกับปธน.ทรัมป์ ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย นับตั้งแต่นายไมเคิล โคเฮน อดีตทนายความที่ยอมสารภาพผิดในคดีอาญาทั้ง 8 คดี และนายพอล มานาฟอร์ต อดีตผู้จัดการทีมหาเสียงของปธน.ทรัมป์ ถูกศาลสหรัฐฯตัดสินจำคุกในข้อหาก่อกวนพยานในคดีที่รัสเซียอาจมีส่วนก้าวก่ายการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี’59
  อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานปรับขึ้นจากราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้นกว่า 3% หลังสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าคาด
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ยอดขายบ้านมือสอง - ก.ค. ลดลง 0.7%MoM อยู่ที่ 5.34 ล้านยูนิต โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นการปรับลงนานที่สุดนับแต่ปี’56
  และยังอยู่ระหว่างติดตามการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 23-25 ส.ค.นี้ โดยหัวข้อการประชุมในปีนี้ คือ "การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด และสิ่งบ่งชี้สำหรับทิศทางนโยบายการเงิน"
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$2.02 อยู่ที่ US$67.86 ต่อบาร์เรล หลัง EIA เปิดเผย สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ล่าสุด ลดลง 5.8 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียง 1.5 ล้านบาร์เรล และยังได้รับปัจจัยหนุนจากประเด็นเดิมภายใต้คาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันโลกจะเผชิญภาวะตึงตัวหลัง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ซึ่งถือเป็นมาตรการรอบแรก ก่อนที่สหรัฐฯ จะออกมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือนพ.ย. ที่มีเป้าหมายไปยังการทำธุรกรรมของธนาคารกลาง การส่งออกน้ำมัน และการขนส่งสินค้าทางเรือของอิหร่าน พร้อมคาดว่ามาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน จะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันในตลาดลดลงราว 600,000 - 1,500,000 บาร์เรล
  และยังติดตามการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน (22 – 23/8/61) คาดทั้ง2 ฝ่ายจะเจรจาต่อรองกันในหลายประเด็น เนื่องจากในวันนี้ (23/8/61) จะเป็นวันที่สหรัฐฯ และจีน ต่างจะบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจาก 2 ประเทศ เพิ่มเติมในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านUSD
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$3.3 อยู่ที่ US$1,203.3 ต่อออนซ์ ภายใต้เงินสหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ก่อนที่เฟด จะเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 31/7/61 – 1/8/61
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -255 ล้านบาท ยอดสะสม -193,507 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 23 - 28 ส.ค.’61
23/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  (2) ดัชนีราคาบ้านเดือนมิ.ย.
  (3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนส.ค.
  (4) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนส.ค.
  (5) ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค.

24/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค.
  

27/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีการผลิตเดือนส.ค.

28/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ค.
  (2) ดัชนีราคาบ้านเดือนมิ.ย.
  (3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

ทิศทางตลาด
  ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางเดียวกับต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามคาดยังมีความผันผวนอยู่ ภายใต้ (-) การเปิดเผยรายงานการประชุมเฟดล่าสุด ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. (25 – 26/9/61)  ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ พร้อมคาดจะเกิดขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน ธ.ค. ทำให้คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 4 ครั้ง ในปี’61 นอกจากนี้คาดได้รับปัจจัยกดดันหลัง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นต่อนโยบายของเฟด โดยเฉพาะประเด็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลต่อเงินสหรัฐฯ อ่อนค่าลง และยังอยู่ระหว่างติดตามการประชุมประจำปีของเฟด 23 – 25/8/61 ที่เมืองแจ๊กสัน โฮล “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด และสิ่งบ่งชี้สำหรับทิศทางนโยบายการเงิน”
  และในวันนี้ (23/8/61) รัฐบาลสหรัฐฯ และจีนเตรียมบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันรอบที่ 2 ในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านUSD ขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาการค้า ซึ่งหากสามารถเจรจาต่อรองสำเร็จและมีความชัดเจน คาดช่วยลดข้อพิพาททางการค้า และคาดเป็นปัจจัยบวกต่อภาพรวมตลาดต่อเนื่องหลังจากนี้ แต่อย่างไรก็ตามคาดยังมีความไม่แน่นอนเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในครั้งที่ผ่านมา หลังไม่สามารถต่อรองกันได้ ทำให้มีข้อพิพาททางการค้าเพิ่มขึ้น เช่น จีนยังพร้อมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ วงเงิน 60,000 ล้านUSD อัตราภาษี 5 – 25% ต่อสินค้าสหรัฐฯ 5,207 รายการ หากสหรัฐฯ จัดเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่มอีก 200,000 ล้านUSD  
  ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดยังได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่ยังคงยืนได้ในระดับสูง ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 73 - 74 USD/bbl ส่งผลดีต่อ PTT และ PTTEP พร้อมคาดภาพรวมราคาน้ำมัน ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกของซาอุดิอาระเบียที่ลดลงในเดือนนี้  และคาดสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้ 
  ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดในระยะสั้นยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ คาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมกลับขึ้นไปสู่ระดับสูงกว่า 193,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก 
  (1) ทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ หลังตัวเลข GDP – 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% และ (2) ความชัดเจนระยะเวลาการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้ Road Map เดิม เบื้องต้นคาดมีการเลือกตั้งในวันที่ 24/2/61 คาดช่วยให้ความเชื่อมั่นลงทุนดีขึ้นตามลำดับ

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
  (2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
  (3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP, SPRC
  (4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
  (5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.82% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.61 อยู่ที่ 12.25
  หุ้นแนะนำ : PTTEP


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 ส.ค. 2561 เวลา : 10:02:53

24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 10:33 pm