ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ตามตลาดต่างประเทศ (04/09/61)


 ทิศทางตลาด

ตามตลาดต่างประเทศ? คาดการเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะแกว่งตัวกรอบแคบ โดยทิศทางเป็นลบตาม Sentiment ต่างประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่อยู่ระหว่างรอความชัดเจนภายใต้ประเด็นเดิม โดยเฉพาะนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศคู่ค้าที่ยังมีความไม่แน่นอน (1) การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ จากก่อนหน้าคาดหวังในเชิงบวกต่อการเจรจาและลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่น่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ทีผ่านมา อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจาอีกครั้งในวันพุธนี้ (5/9/61) และ (2) ความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รอบใหม่ที่อาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภายใต้แผนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน อัตรา 25% วงเงิน 200,000 ล้านUSD ที่คาดมีความชัดเจนหลังการทำประชาพิจารณ์จากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ในวันที่ 5/9/61
พร้อมกับคาดเฟดจะมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 25 – 26/9/61 นี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 และคาดจะเกิดขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน ธ.ค. ทำให้คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 4 ครั้ง ในปี’61 อย่างไรก็ตามคาดตลาดสะท้อนไปบ้างแล้ว ขณะที่คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง คาดสามารถรองรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของประธานเฟดที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมัน ที่ทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ย 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) อยู่ที่ 70 – 78USD/barrel ซึ่งคาดส่งผลดีต่อ PTT และ PTTEP เป็นโอกาสซื้อในช่วงราคาหุ้นปรับลดลง ภายใต้ภาพรวมราคาน้ำมัน ที่ยังได้รับปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมกลับขึ้นไปสู่ระดับสูงกว่า 200,000 ล้านบาท
ขณะที่ กนง. ประชุม 19/9/61 คาดในครั้งนี้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไป - ส.ค.61 ขยายตัว 1.62% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 คาด กนง. อาจส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปี คาดเป็นปัจจัยกดดันภาพรวมตลาด อย่างไรก็ตามเป็น Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคาร
อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก  (1) แนวโน้มเศรษฐกิจ หลัง GDP – 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% และ (2) ความชัดเจนระยะเวลาการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้ Road Map เดิม เบื้องต้นคาดมีการเลือกตั้งในวันที่ 24/2/62 คาดช่วยให้ความเชื่อมั่นลงทุนดีขึ้นตามลำดับ

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดต่างประเทศ FTSE +72.18, CAC +6.95 และ DAX -17.65 โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันแรงงาน
  ภายใต้การซื้อขายที่เป็นไปอย่างซบเซา พร้อมกับความกังวล (1) การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่ในวันพรุ่งนี้ (5/9/61) หลังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา (2) ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ขณะที่ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนล้านUSD ในสัปดาห์นี้ หลังการเจรจาการค้าเมื่อ 22 – 23/8/61 ไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ตลาดน้ำมันนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวันแรงงานของสหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) เมื่อ 31/8/61 ส่งมอบเดือน ต.ค. -US$0.45 อยู่ที่ US$69.80 ต่อบาร์เรล

ตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวันแรงงานของสหรัฐฯ ขณะที่ราคาทองคำ (COMEX) เมื่อ 31/8/61 ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$1.7 อยู่ที่ US$1,206.7 ต่อออนซ์

(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,854 ล้านบาท ยอดสะสม 
-202,971 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP, SPRC
(4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.01 อยู่ที่ 2.85% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)

ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.67 อยู่ที่ 12.86

หุ้นแนะนำ : KTB


บันทึกโดย : วันที่ : 04 ก.ย. 2561 เวลา : 09:35:21

23-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 23, 2024, 4:39 pm