ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ยังได้รับปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ (12/09/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด

SET   :  1,672.42 -19.09    
SET50  :   1,096.63 -16.84 
SET100  :  2,437.86 -33.44

มูลค่าการซื้อขาย        หน่วย (ลบ.) 
มูลค่าการซื้อขาย           50,027.72 
สถาบัน                          +377.92 
บัญชีหลักทรัพย์              +566.16 
ต่างประเทศ                     -3,395.46 
ในประเทศ                      +2,451.38

P/E (เท่า)       P/BV (เท่า)        Dividend Yield (%)  
16.47               1.90                            3.01

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้ 
(+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +113.99, NASDAQ +48.31, S&P +10.76, FTSE -5.76, CAC +14.16 และ DAX -16.07 
ภายใต้ปัจจัยหนุน (1) หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะแอปเปิล ก่อนที่ทางบริษัทจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ iPhone X ใหม่ 3 รุ่น ในวันนี้ (12/9/61) (2) ราคาน้ำมันดิบ (WTI) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 2% ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน และ (3) หุ้นกลุ่มบริษัทจำหน่ายวัสดุซ่อมแซมบ้านและกลุ่มบริษัทก่อสร้าง ภายใต้การคาดการณ์ว่า ผลกระทบที่เกิดจากพายุเฮอร์ริเคน "ฟลอเรนซ์" จะช่วยกระตุ้นยอดขาย 
อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังล่าสุดมีระบุว่าจีนเตรียมขออนุมัติจากองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อทำการคว่ำบาตรสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า (21/9/61) 
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่ง - ก.ค. เพิ่มขึ้น 0.6% ต่ากว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อม - ส.ค. อยู่ที่ 108.8 เพิ่มขึ้นจาก 107.9 เมื่อก.ค. และเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ทิศทางตลาด
ยังได้รับปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ? คาด Sentiment ยังเป็นลบ โดยเฉพาะจากประเด็นเดิมต่างประเทศ ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และมีโอกาสลุกลามไปยังประเทศอื่น หลังสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน รอบใหม่ 267,000 ล้านUSD เพิ่มจากเดิมที่ 200,000 ล้านUSD พร้อมกับการตอบโต้จากจีนล่าสุด ที่จะขออนุมัติจาก WTO เพื่อทำการคว่ำบาตรสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า (21/9/61) ในการประชุมคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ WTO
และยังอยู่ระหว่างติดตาม (1) การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ครั้งใหม่ของสหรัฐฯ และแคนาดา เริ่มเมื่อ 5/9/61 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน และ (2) ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศต่อไป
รวมถึงการประชุมเฟด (25 – 26/9/61) คาดจะมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นครั้งที่ 3 และคาดจะเกิดขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน ธ.ค. ทำให้คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 4 ครั้ง ในปี’61 อย่างไรก็ตามคาดตลาดสะท้อนไปบ้างแล้ว ขณะที่คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง คาดสามารถรองรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของประธานเฟดที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดอาจมีแรงซื้อกลับ จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นเฉลี่ยทั้ง 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) อยู่ที่ 70 – 79 USD/barrel ซึ่งคาดส่งผลดีต่อ PTT และ PTTEP โดยภาพรวมคาดราคาน้ำมัน ยังได้รับปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมกลับขึ้นไปสู่ระดับสูงกว่า 210,000 ล้านบาท พร้อมคาดความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจและค่าเงินของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ยังส่งผลต่อ Fund Flow ไหลออก รวมถึงไทย
ขณะที่ กนง. ประชุม 19/9/61 คาดในครั้งนี้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไป - ส.ค.61 ขยายตัว 1.62% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 คาด กนง. อาจส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปี คาดเป็นปัจจัยกดดันภาพรวมตลาด อย่างไรก็ตามเป็น Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคาร

ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$1.71 อยู่ที่ US$69.25 ต่อบาร์เรล หลัง EIA คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยปี’ 61 และ 62 อยู่ที่ 67.03 ดอลลาร์/บาร์เรล และ 67.36 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.2% และ 4.7% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้าเมื่อส.ค. ที่ผ่านมา พร้อมปรับลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในปี’61 และ 62 ลง 0.2% และ 1.8% อยู่ที่ 10.66 ล้านบาร์เรล/วัน และ 11.5 ล้านบาร์เรล/วัน ตามลำดับ ขณะที่อยู่ระหว่างติดตามผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งของรัฐนอร์ท แคโรไลนา และเซาท์ แคโรไลนา ในวันพฤหัสบดีนี้ (13/9/61)

ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$2.4 อยู่ที่ US$1,202.2 ต่อออนซ์ ภายใต้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และบรรดาประเทศคู่ค้า ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า ส่งผลให้การปรับขึ้นของราคาทองคำเป็นไปอย่างจำกัด

(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -3,395 ล้านบาท ยอดสะสม -212,290 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลาดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 12 - 14 ก.ย.’61
12/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.
(2) สต็อกน้ำมัน
(3) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟด
13/9/61 ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) อัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.
14/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ราคานำเข้าและส่งออกเดือนส.ค.
(2) ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.
(3) การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.
(4) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ค.
(5) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนก.ย.

อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก (1) แนวโน้มเศรษฐกิจ หลัง GDP – 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% และ (2) ความชัดเจนระยะเวลาการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้ Road Map เดิม เบื้องต้นคาดมีการเลือกตั้งในวันที่ 24/2/62 คาดช่วยให้ความเชื่อมั่นลงทุนดีขึ้นตามลำดับ

และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดาเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ามันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP, SPRC
(4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.04 อยู่ที่ 2.98% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)

ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.94 อยู่ที่ 13.22

หุ้นแนะนำ : PTTEP

หุ้นแนะนำ

PTTEP : ได้รับผลบวกโดยตรง จากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

  • แนวโน้มราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับสูง ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 77 - 78 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลใกล้จุดสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง จากการลดปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปก รวมถึงการผลิตที่ลดลงจากเวเนซุเอลาและการแซงชั่นอิหร่าน
  • อยู่ระหว่างรอยื่นประมูลแหล่งบงกช-เอราวัณ เราคาด PTTEP มีความได้เปรียบในการประมูลเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการเดิม และเงื่อนไขการประมูลให้น้ำหนักกับความมัน่ คงต่อเนื่องของการผลิตและการจ้างงานคนไทยด้วย
  • คาดผลการดาเนินงานปี 2561 จะยังคงโดดเด่น จากแนวโน้มราคาก๊าซและราคาน้ำมันที่ยังคงเพิ่มขึ้นยังคงคา แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี ’61 เท่ากับ 159 บาท (สมมติฐานราคาน้ามันดิบเฉลี่ย 65 USD/bbl; DCF valuation)

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 ก.ย. 2561 เวลา : 09:46:21

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 4:31 am